“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ศึกษาแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงท่องเที่ยวภูมิภาค และดูงานชุมชนคุ้ม บางกะเจ้า”

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 นคณะศึกษาดูงานนำโดยดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์นายกสภา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เดินทางศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ โดยนายวัชระ เติมวรรธนภัทร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง พร้อมด้วยคุณชัย อรุณานนท์ชัย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ และคณะผู้บริหารอพท. ให้การต้อนรับเตรียมคณะวิทยากรให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน อย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารการจัดการการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม กรีน เขื่อนลัดโพธิ์ นอกจากนี้คณะดูงานร่วมกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญพื้นที่บางกะเจ้า

การมีส่วนร่วมรัฐฯ ร่วมชุมชนได้รับการสนับสนุนการให้ความรู้จากกิจกรรมสำคัญของชุมชนคุ้มบางกระเจ้าโดย นายสำเนาว์ รัศมิทิต นายกอบต.บางน้ำผึ้ง ร่วมกับผู้นำชุมชนกำนัน,ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านในชุมชนในพื้นที่ แนะนำให้การต้อนรับและประสานงานนำกิจกรรมเด่นจากเครือข่ายคุ้มบางกระเจ้า จัดกิจกรรมสร้างฐานความรู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น 4 ประเภทให้คณะผู้มาศึกษาดูงาน จากจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมอาทิ การทำเสื้อมัดย้อม, วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร ,การทำขนมห่อใบจาก และน้ำสมุนไพร จากผลผลิตในท้องที่ คณะผู้ศึกษาดูงาน ครั้งนี้ได้รับรู้และได้ข้อมูลหลายอย่าง พร้อมเยี่ยมชมตลาดบางน้ำผึ้ง ตลาดชุมชนที่มีขนาดใหญ่สร้างเศรษฐกิจแก่ชาวบ้าน เป็นชุมชนตัวอย่างระดับประเทศ ท้ายสุดของรายการคณะผู้ศึกษาได้ชมสวนสาธารณะ ศรีนครเขื่อนขันธ์ สวนพฤกษชาติขนาดใหญ่กลางกรุงปอดของชุมชนเมืองติดกรุงเทพฯ

จากการศึกษาดูงานดร. วัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า การเดินทาง จากการแลกเปลี่ยน การเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการสืบสานแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดนครราชสีมาโดยจะทำโครงการร่วมมือบ้านพี่เมืองน้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในพื้นที่คุ้มบางกระเจ้าและการสนับสนุนจากอพทรวมถึงทททที่ได้สร้างโอกาสให้กับคณะผู้ศึกษาดูงานได้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดการเชื่อมโยงแนวทางความรู้และความคิดเพื่อนำมา สู่ความร่วมมือกัน ใน 2 พื้นที่บ้านพี่เมืองน้อง ขยายตลาดการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน ร่วมกันในโอกาสต่อไป

.

.

“เปิดสัมมนา การพัฒนาศักยภาพเส้นทางสายท่องเที่ยวและไมซ์ใหมโคราชสู่ความยั่งยืน”

เปิดสัมมนา #การพัฒนาศักยภาพเส้นทางสายท่องเที่ยวและไมซ์ใหมโคราชสู่ความยั่งยืน”
(Tourism & MICE Korat Creative Routing for future Sustainability)
วันที่ 30 มีนาคม 2565ณ ห้องสุรนารี สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โดย ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา
โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุขพร้อมคณะ
ผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ,ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (TCEP),ผู้อำนวยการสำนักงานี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา (ททท.),ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ
ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา
วิทยากร ผู้เข้าร่วมอบรม และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ดิฉันในนามของผู้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพเส้นทางสาย
ท่องเที่ยวและไมซ์ใหม่โคราชสู่ความยั่งยืน” ภายใต้โครงการเส้นทางสายท่องเที่ยวและไมซ์ใหม่โคราชสู
ความยั่งยืน (Tourism & MICE Korat Creative Routing for future Sustainability)
ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการจัดกิจกรรมในวันนี้
โครงการเส้นทางสายท่องเที่ยวและไมซ์ใหม่โคราชสู่ความยั่งยืน (Tourism & MICE Korat
Creative Routing for future Sustainability) เป็นโครงการที่ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวใน
พื้นที่ 32 อำเภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดนครราชสีมา มุ่งหวังตอบสนองวัตถุประสงค์เพื่อประซาสัมพันธ์
เส้นทางสายท่องเที่ยวและไมซ์ใหม่จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นของแต่ละชุมชนเข้า

.ประกวด Korat Mice Premium Products สำหรับการส่งเสริมผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ
ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหรือภาคบริการอื่น การจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งการยกระดับผู้ประกอบการ
สินค้าในชุมชน ส่งเสริมการเข้าถึงช่องทางการตลาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพและมูลค่าเพิ่ม
ของสินค้า/ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเกิดการจ้างงานในพื้นที่ เสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

.

.