มาพักโคราชไม่ต้องกักตัว!!!

มาพักโคราชไม่ต้องกักตัว!!!

วันที่ 8 เมษายน 2564 ณ.ห้องประชุมโรงแรมสบาย นายสวัสด์ มังกรวัฒน์ว่าที่นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อม ผู้บริหารประกอบการโรงแรมในจังหวัดนครราชสีมา เตรียมความพร้อมรับมือ covid 19 รอบที่ 3 โดยขออนุญาตชี้แจงมาตรการป้องกัน และอ้างอิงข้อมูล ตามประกาศคำสั่งภาครัฐ จังหวัดนครราชสีมาลงวันที่ 7 เมษายน พศ.2564 ดังนี้ การ เดินทางจาก 5 จังหวัด กรุงเทพมหานคร ปทุมธานีนนทบุรี สมุทรปราการและนครปฐม

ตาม Timeline ต้องไม่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง
การรายงานตัวคัดกรองและวัดไข้ กรอกรายละเอียดการเดินทาง พร้อมทั้งจัดให้มีการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง ในระหว่างการเข้าพัก และขอความร่วมมือทุกท่านสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลา


จากการประชุม ผู้ประกอบการโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ covid 19 สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการมาพักได้ตามปกติ ไม่ต้องกักตัว แค่รายงานตัวโดยกรอกแบบฟอร์มรายงานตัว ที่โรงแรมที่เข้าพักและจัดแยกโซนผู้มาจาก 5 จังหวัดเสี่ยง… ขอแจ้งให้กับ ประชาชนโดยทั่วไปทราบ

พาณิชย์จังหวัด เปิดตัว Biz Clubผู้ช่วยเซลแมนจังหวัดนครราชสีมา พร้อมเครือข่าย ภาคธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองโคราช

วันที่ 8 เมษายน 2564 นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา และ คุณสมลักษณ์ ศรีสุวรรณ ประธานคณะกรรมการเครือข่าย Biz Club นครราชสีมา ประชุม คณะกรรมการ เครือข่าย biz Club จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ปีบริหาร 2564-2565 ณ โรงแรมชุนหลีแกรนด์

ประกอบด้วย 5 รายการคือ สร้างความร่วมมือ ภาคธุรกิจ นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา ประชุมวางแนวทางเพื่อช้วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองโคราช สำหรับภาคธุรกิจ เครือข่ายbiz Club นครราชสีมาเป็นคณะบุคคลมีเครือข่าย ผู้ประกอบการสมาชิกกว่า 295 รายในปัจจุบัน โดยแนวทาง การทำงาน ตามนโยบายกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์


แนวทางที่1แบบพี่ช่วยน้อง การสร้างสมาชิกภาคธุรกิจ ที่มีคุณภาพและการทำงานร่วมกันในกลุ่มอย่างมีความสุข
แนวทางที่ 2 เครือข่ายภาคธุรกิจ biz Club ทำหน้าที่ช่วยเป็นเซลล์แมนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อ กระจายสินค้าธุรกิจ sme,ด้านสินค้าเกษตร ,สินค้าแปรรูป,สินค้าบริการ,การท่องเที่ยว และสินค้าวิสาหกิจชุมชน ไปยังตลาด ต่างจังหวัดและต่างประเทศหลังวิกฤตโควิค19


แนวทาทางที่ 3 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เข้าสู่โครงการ” สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่NEA.” และในครั้งนี้ คุณสมลักษณ์ ศรีสุวรรณ ประธาน biz Club จังหวัดนครราชสีมา ได้ประชุมวางแผนร่วมคณะกรรมการธุรกิจบิสคลับวาระแรก หลังจากได้รับการแต่งตั้งคณะทำงาน จากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ช่วยเหลือภาคธุรกิจ smeในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแนวทางดังนี้แนวทางที่ 1 การจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาและการขายสินค้า ,2 การเชื่อมโยง ภาคธุรกิจ ศูนย์ธุรกิจ ,3 เพิ่มโอกาสทางการตลาดของธุรกิจให้สมาชิก
ด้านที่ 2 การสร้างทักษะ พัฒนาธุรกิจ การให้ความรู้ด้านการตลาดและความรู้ด้าน การใช้เทคโนโลยี เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้านที่ 3 การเชื่อมโยงธุรกิจ ต่อธุรกิจ เพื่อขยายโอกาส แก่ธุรกิจสมาชิก กระจายรายได้ เศรษฐกิจเมืองโคราช

พิธีมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ

อุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา วันนี้( ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ ๙๐๔ เป็นประธานในพิธีรับมอบอุปกรณ์และการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จากมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์  ตามโครงการสนับสนุนฝึกอบรมและปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ  มีนายแพทย์นรินทร์รัชต์      พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวรายงาน  มี นางณัฏฐินีภรณ์   จันทรโณทัย  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์. ปลัดจังหวัดนครราชสีมา    เข้าร่วมงาน  กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ข้าราชการ อสม. อปพร. นักเรียน และนักศึกษา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙o คน  ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก มูลนิธิสอนการช่วยชีวิตร่วมกับวิทยากรจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่ายวิทยากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓0 คน

ทั้งนี้ นายแพทย์นรินทร์รัชต์  พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   กล่าวว่า  ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา   ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน

จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

โดยมีมูลนิธิรามาธิบดีในพระราชปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้สนับสนุนในโครงการจิตอาสา CPR เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือโครงการสนับสนุนการฝึกอบรมและการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์การสอน ประกอบด้วย หุ่นฝึก การช่วยชีวิตทั้งหุ่นผู้ใหญ่ หุ่นเด็กหุ่นทารก เครื่อง AED Trainer และอุปกรณ์สอนการช่วยผู้ที่สำลัก (Anti Choking Model) เพื่อมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จังหวัดละ ๓0 ชุด โดยเบื้องต้นจะส่งมอบให้กับจังหวัดนำร่อง ๑๑ จังหวัด ประกอบด้วย ๑.เชียงใหม่  ๒. พิษณุโลก ๓. ชลบุรี ๔. สุรินทร์   ๕. สมุทรปราการ    ๖. ขอนแก่น  ๗. นครราชสีมา  ๘. พระนครศรีอยุธยา   ๙. อุบลราชธานี    ๑๐. ภูเก็ต และ ๑๑. สงขลา โดย ๔ จังหวัดแรกที่จะได้รับมอบอุปกรณ์ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา พิษณุโลก สงขลาและภูเก็ต สำหรับ ๙ จังหวัดนำร่องที่เหลือจะได้รับมอบอุปกรณ์ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ นั้น โดยคาดหวังว่าการดำเนินการครั้งนี้  จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การอบรมสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่ภาคประชาชน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้  ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะมีความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นให้ได้มากที่สุด ต่อไป

ผบช.ภ.3 ลงนาม MOU ปฏิทินหมายจับตำรวจภูธรภาค 3 จ่ายทันที 50,000 , 30,000 และ 15,000 บาท เมื่อจับผู้ต้องหาตามปฏิทินหมายจับได้

ผบช.ภ.3 ลงนาม MOU ปฏิทินหมายจับตำรวจภูธรภาค 3 จ่ายทันที 50,000 , 30,000 และ 15,000 บาท เมื่อจับผู้ต้องหาตามปฏิทินหมายจับได้


วันนี้ (29 มี.ค.64) เวลา 11.00 น. พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภ.3 พร้อมด้วย พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.พรหมณัฏฐเขต ฮามคำไพ รอง ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.ไพศาล ลือสมบูรณ์ รอง ผบช.ภ.3 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU “ว่าด้วยความร่วมมือด้านการมอบเงินรางวัลนำจับให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสผู้ต้องหาตามประกาศสืบจับ” The Most Wanted 2021 by ศปจร.ภ.3 ณ ห้องประชุมสารสิน ภ.3

ในการนี้ คุณวาสิน ล่ำซำ ประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU กับ ภ.3 รวมทั้งร่วมมอบรางวัลนำจับผู้แจ้งเบาะแสให้กับตำรวจที่มีผลการปฏิบัติตามปฏิทินหมายจับ และร่วมมอบปฏิทินหมายจับให้กับ รอง ผบก.ภ.จว.ในสังกัด ภ.3 และรอง ผบก.สส.ภ.3



ศูนย์ปราบปราบการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ตำรวจภูธรภาค 3 (ศปจร.ภ.3) โดยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ได้ทำโครงการปฏิทินหมายจับประจำปี 2564…

ท่านใดแจ้งเบาะแสจนจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในปฏิทินนี้ได้ จ่ายเงินตามที่ระบุในปฏิทินทันทีเมื่อส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวน

โค้งสุดท้าย ดีเบต ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา

วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ อาคารเรียนรวม อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้มีการจัดแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้สมัครนายก ผู้สมัครสมาชิก นักศึกษา สื่อมวลชน

โดยในการแสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ ผู้บริหารอิสานบิช เป็นผู้ดำเนินการแสดงวิสัยทัศน์ โดยครั้งนี้ ผู้สมัครได้เดินทางมาร่วมครบทั้ง 4 ท่าน 4 เบอร์ ประกอบด้วย

หมายเลข 1 นายอัคคชา พรหมสูตร พร้อมด้วยสมาชิก ทั้ง 4 เขต

หมายเลข 2 นายประเสริฐ บุญชัยสุข พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

หมายเลข 3 ภก.จักริน เชิดฉาย พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

หมายเลข 4 นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 4 เขต

ทั้งนี้ ในการแสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ดังนั้น ผู้สมัครทั้ง 4 ท่าน ได้แสดงความคิด แนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อาทิ เรื่องถนนหนทาง เรื่องน้ำ รวมทั้งเศรษฐกิจที่ตกต่ำของโคราช

และในช่วงสุดท้าย แต่ละท่านได้ประกาศลั่น พร้อมจับมือกัน ประกาศ จะไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแน่นอน จะให้การเลือกตั้ง เป็นการเลือกตั้งสีเขียวตามเจตนารมย์ของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จฯทอดพระเนตรรำบวงสรวงท้าวสุรนารี ประจำปี 2564

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงทอดพระเนตรรำบวงสรวงท้าวสุรนารี ในพิธีบวงสรวงและรำสดุดีท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ประจำปี 2564

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงทอดพระเนตรรำบวงสรวงท้าวสุรนารี ในพิธีบวงสรวงและรำสดุดีท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ประจำปี 2564 ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) จังหวัดนครราชสีมา 

โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา เฝ้ารับเสด็จ รวมทั้งประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิดอุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์แรกของไทย ในโคราช

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานฝ่ายฆราวาสทำพิธีเปิดอุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์แรกของไทย ณ ตำหนัก  ตำบลไชยมงคล  ชอย 1  อำเภอเมือง   จังหวัดนครราชสีมา

       โดยมีเกจิอาจารย์ที่มีบารมีธรรมสูง อาทิ พระสีหราชสมาจารมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดประธานฝ่ายสงฆ์  พระครูธรรมานุยุตวัดสว่างอารมณ์  หลวงปู่อุดมทรัพย์วัดเวฬุวัน  หลวงปู่บุญหลายวัดปุตเนียม  พระครูปลัดภูมิปัญญาวัดป่าแสงธรรมพรหมรังสี และครูบาโกมลวัดป่าศรีถาวร  ร่วมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ นอกจากนี้ทางตำหนักยังเปิดให้จองวัตถุมงคลยี่กอฮง ชึ่งมีจำนวนจำกัด

เปิดตำนาน” ยี่กอฮง “เทพเจ้าโชคลาภองค์แรกแห่งสยาม จากทายาท ตระกูลเตชะวณิช

วันที่ 18 มีนาคม 2564  ทายาทตะกูลเตชะวณิช ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว สมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา ถึงวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง ตำหนัก รองหัวหมื่นพระอนุวัตน์ราชนิยม หรือ “ยี่กอฮง”

รองหัวหมื่นพระอนุวัตน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า “ยี่กอฮง” หรือ “ตี้ยัง แซ่แต้”

เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พ.ศ. 2392 ท่านประกอบอาชีพค้าขาย และมีตำแหน่งเป็นนายอากรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 รวมอายุได้ 87 ปี

 โดยทายาทได้เล่าให้ฟังว่า  “ยี่กอฮง”นั้นเกิดในประเทศจีน เป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่ถือกำเนิดในมณฑลกวางตุ้ง ใน พ.ศ. 2392 บิดาชื่อนายแต้ซีแซ กับนางเซียะ เมื่ออายุ 16 ปี ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้เข้าทำงานเป็นเสมียนโรงบ่อนของพระยาภักดีภัทรากร (เล่ากี้ปิง) และตั้งปณิธานว่าจะประกอบอาชีพค้าขายในสยามตลอดชีวิต โดยตั้งหลักฐานอยู่ในพระนคร เปิดร้านค้าขายผ้าอยู่ที่หัวมุมสี่กั๊กพระยาศรี ด้านถนนบำรุงเมือง เมื่อค้าขายได้ระดับหนึ่งจึงได้ตัดสินใจอยู่ในประเทศไทยถาวรตลอดชีวิต ได้ขยายกิจการค้าไปหลายจังหวัด เช่น กำแพงเพชร ตาก และเชียงใหม่ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ท่านประกอบอาชีพค้าขายจนสร้างโรงสีข้าว ประกอบธุรกิจส่งออก จนมีฐานะมั่นคง ตามประวัติเล่าไว้ว่า ท่านยี่กอฮง ได้มาปลูกบ้านอยู่ที่ย่านพลับพลาไชย หน้าวัดคณิกาผล ท่านยี่กอฮง ได้ประกอบกิจการค้าหลายอย่าง แต่ที่ได้สร้างฐานะให้ท่านจนรุ่งเรืองก็คือ การเป็นเจ้าภาษีโรงต้มกลั่นสุรา โรงบ่อนเบี้ย โรงหวยกอขอ ต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเลิกอากรบ่อนเบี้ย และหวยกอขอ ท่านจึงได้หันไปประกอบกิจการค้าอื่น ๆ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ท่านจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือประเทศชาติ ยี่กอฮงท่านได้มีส่วนในการบริจาคทรัพย์สินและได้สร้างสาธารณประโยชน์ไว้อย่างมากมาย เช่น ถนน, สะพานฮงอุทิศ สะพานนิยมนฤนาถ สะพานอนุวัตน์วโรดม, โรงเรียนวัดสะพานสูง (โรงเรียนโยธินบูรณะ), โรงเรียนป้วยเองหรือโรงเรียนเผยอิง เมื่อ พ.ศ. 2463, ศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด, ศาลเจ้าไต้ฮงกง, ก่อสร้างท่าน้ำฮั่วเซี้ยม, ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้า เป็นต้น ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึงขึ้น โดยชักชวนเหล่าพรรคพวกเพื่อนฝูงในสมัยนั้น มาร่วมกันสร้างมูลนิธิช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ได้ยากและสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากไร้ อีกทั้งยังเป็นผู้มีส่วนในการรณรงค์หาเงินเข้าสภากาชาดไทยอย่างมากมาย รวมถึงได้บริจาคเงิน 10,000 บาทในการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 9 พร้อมทั้งยังเป็นผู้ชักชวนเพื่อนฝูงคหบดีรวบรวมกันบริจาคเงินซื้อ “เรือรบหลวง พระร่วง”ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเข้าประจำการในกิจการป้องกันประเทศชาติของกองทัพเรือโดยท่านนำร่องบริจาคทรัพย์เป็นเงิน 10,000.00 บาท รวมถึงการส่งเงินไปช่วยสร้างเขื่อนที่ประเทศจีน ทำให้ชาวจีนรอดชีวิตจากน้ำท่วมทุกปีเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ในวัน เสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 นี้ จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างพิพิธภัณฑ์หัวหมื่นพระอนุวัตน์ราชนิยม ณ อุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง  ณ  เลขที่ 888  ต.ไชยมงคล อ.เมือง จ.นครราชสีมา  โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เป็นประธานครั้งนี้ และยังมีวัตถุมงคลให้บูชากลับไปเป็นศิริมงคลอีกด้วย

ซินโครตรอนผนึกกำลัง มทส. และจังหวัดนครราชสีมา ร่วมใช้แสงซินโครตรอนและนวัตกรรมพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโคราช


จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกระทรวง อว. โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา โดยจังหวัดนครราชสีมาจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่ได้รับถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยฯ และสถาบันฯ ในการพัฒนาจังหวัดต่อไป


.
นครราชสีมา : เมื่อวันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 จังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและนวัตกรรมสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ณ SUT-Co working Space อาคารสุรพัฒน์ 1 เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดย มทส. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ สซ. จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านแสงซินโครตรอนที่เป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปพัฒนาจังหวัด
.
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและนวัตกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่โดยสะดวกและทั่วถึง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) “โคราชเมืองน่าอยู่ประชาชนมีความสุขมั่นคงยั่งยืน” และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา คือ “ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมและท่องเที่ยวของภูมิภาค นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม สังคมคุณภาพสูง”


.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้องค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ ทรัพยากร รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งของมหาวิทยาลัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างชุมชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างเป็นระบบ อันส่งผลสู่เศรษฐกิจ การจ้างงาน และความเข้มแข็งของสังคมไทยต่อไป” .
.

รองศาสตราจารย์ สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า “ถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น หรือระดับจังหวัด ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่าง “แสงซินโครตรอน” ในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ สินค้าและวัตถุดิบในชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนได้ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง”


.
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้มีโครงการนำร่องในการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของผ้าไหมไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ และได้นำร่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอผ้าไหมและการตัดเย็บให้แก่ชุมชนในอำเภอปักธงชัย และจะถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดนครราชสีมาต่อไป

.

โคราช!!จัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ 10-14 มิ.ย.64

จังหวัดนครราชสีมาจัดกิจกรรมงาน “ตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์” กระตุ้นเศรษฐกิจ

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์”ครั้งที่ ๑ (GREEN MARKET)ณ ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลพลาซา นครราชสีมา โดย นายศารุมภ์ โหม่ง สูงเนิน พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นเกียรตีในพิธีเปิดงานฯ โครงการพัฒนานวัตกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัยกลุ่มนครชัยบุรินทร์

 กิจกรรมหลักที่ ๔ การพัฒนาศักยภาพการตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรกลุ่มนครชัยบุรินทร์ กิจกรรมการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์ ครั้งที่ ๑ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า การจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมาชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ระลอกใหม่

ซึ่งดีขึ้นตามลำดับ ได้มีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า หารายได้ให้กับครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ทั้งจากกลุ่มจังหวัด ได้นำสินค้าเกษตรปลอดภัยที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น และสินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมมาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอกได้รู้จักได้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น การจัดงานตลาดชุมชนเกษตรปลอดภัยนครชัยบุรินทร์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔มีนาคม ๒๕๖๔ ผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน จำนวน ๖0 คูหา ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป

อาหาร สินค้าชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแต่ละจังหวัด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้เกรดส่งออก ข้าวโพดหวาน ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ผักปลอดสารพิษ ไข่ไก่ปลอดสาร และอาหารแปรรูปจากจังหวัดนครราชสีมา ผ้าไหมงาม ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ลูกชิ้นหมู ข้าวเม่าจากจังหวัดสุรินทร์ ขาหมู น้ำพริก ข้าวแต๋น กุ้งจ่อมประโคนชัย จากจังหวัดบุรีรัมย์ ผ้าไหม ผ้าอินทรีย์ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จากจังหวัดชัยภูมิ และกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจการค้า ซึ่งมีกำหนดการจัดงาน ๒ ครั้ง คือในครั้งนี้ และครั้งที่ ๒ กำหนดจัดงานในเดือนเมษายน ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ต่อไป