สายการบินนกแอร์ได้รับจัดสรรเส้นทางบิน ภายในประเทศเพิ่มเติม 12 เส้นทาง

นกแอร์หารือโคราชบินข้ามภูมิภาค

เตรียมเปิดโคราช-เชียงใหม่ ปลายเม.ย.นี้ 

หลังจาก “กรมการบินพลเรือน” ไฟเขียวอนุญาตให้ สายการบินนกแอร์ เปิดเส้นทางบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา 3 เส้นทางไป-กลับ

ได้แก่ “โคราช-เชียงใหม่” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน “โคราช-ภูเก็ต” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน และ “โคราช-หาดใหญ่” สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน พร้อมเส้นทางอื่นๆ

ล่าสุด! วันที่ 26 ก.พ.65 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมวีวันโคราช นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และผู้บริหารสายการบิน “นกแอร์”

พล.อ.อ.ดร.นพพร จันทวานิช ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กัปตันสุธี จุลชาต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติ นายชัชวาล วงศ์จร ประธานหอการค้ากลุ่ม จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง 1,  นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, ขนส่งจังหวัดนครราชสีมา, ผอ.ท่าอากาศยานนครราชสีมา และภาคเอกชนจังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมประชุมหารือถึงแนวทางในการเปิดสายการบินที่จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ท่าอากาศยานนครราชสีมา (สนามบินหนองเต็ง) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

พล.อ.อ.ดร.นพพร จันทวานิช ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้สายการบินนกแอร์ ได้รับจัดสรรเส้นทางบินภายในประเทศเพิ่มเติม 12 เส้นทาง โดยในจำนวนนี้อนุญาตให้เปิดเส้นทางบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา จำนวน 3 เส้นทางไป-กลับ ได้แก่ นครราชสีมา-เชียงใหม่ ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน, นครราชสีมา-ภูเก็ต ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน และ นครราชสีมา-หาดใหญ่ ไป-กลับ สัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน โดยได้มีการวางแผนว่าจะใช้เครื่องบิน 2 รุ่น ได้แก่ เครื่องบินขนาดใหญ่ เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ขนาดความจุที่ 189 ที่นั่ง และเครื่องบินขนาดกลาง เครื่องบิน Q400 ขนาดความจุ 86 ที่นั่ง โดยเส้นทางแรกที่จะเริ่มเปิดการบิน คือ เส้นทางนครราชสีมา-เชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 จะพร้อมเปิดให้บริการได้

นายวุฒิภูมิ  จุฬางกูร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท นกแอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับเครื่องบินที่นกแอร์จะใช้บริการประชาชนชาวโคราชเส้นทางโคราช-เชียงใหม่ ในครั้งนี้จะใช้เครื่องบินขนาดกลาง เป็นเครื่องบิน Q400 ขนาดความจุ 86 ที่นั่ง โดยคาดว่าช่วงแรกจะให้บริการสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน หากความต้องการเพิ่มสูงจึงจะปรับเป็นการให้บริการทุกวัน และจะขยายไปยังเส้นทางโคราช-ภูเก็ต, โคราช-หาดใหญ่ รวมทั้งโคราช- กรุงเทพฯ ด้วย  สำหรับราคาค่าโดยสารตอนนี้จะต้องรอดูสถานการณ์เพราะค่าน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ราคาไม่ต่ำไปกว่า 900 บาทต่อที่นั่ง

สำหรับการหารือในครั้งนี้ นกแอร์อยากขอรับการผ่อนปรนจากภาคราชการ  5 ข้อ ดังนี้ 

1. ขอยกเว้นการเก็บค่าภาษีสนามบินโคราช

2. ขอยกเว้นการเก็บค่าขึ้นลง หรือค่าแลนดดิ้ง

3.ขอยกเว้นค่าจอดเครื่องบิน (Free parking)

4.ขอยกเว้นค่าแจ้งเตือนสัญญาณ 

5.ขอยกเว้นค่าเช่า สนง. และการโอเปอร์เรตให้บางส่วน

เพื่อไม่ให้ผู้โดยสาร แบบรับค่าใช้จ่ายมากเกินไป และขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชนต่างๆ ภาคธุรกิจ ช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ หรือบัตรโดยสารในภาคธุรกิจ และคู่ค้าต่างๆ  หน่วยงานภาคการท่องเที่ยว ททท. สนับสนุนกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้มาเที่ยวโคราช และขอความร่วมมือจากทั้ง 3 ห้าง รวมทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต ช่วยประชาสัมพันธ์ หาพาร์นเนอรฺ์ระยะยาว  ทำกิจกรรมร่วมกับห้างต่างๆ และเรื่องการรับส่งผู้โดยสารไปสนามบิน เป็นต้น

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพร้อมให้ การสนับสนุนสายการบินนกแอร์มาเปิดที่โคราช  เป็นการพัฒนาจังหวัด เราจะนำเสนอเรื่องที่นกแอร์ขอรับการผ่อนปรนทั้ง 5 ข้อต่อกรมท่าอากาศยาน ซึ่งทั้ง 5 ข้อนี้จะมีผลบังคับใช้ได้ถึงวันที่ 31 พ.ค.65 นี้เท่านั้น แต่เราจะขอให้ทางกรมฯ ขยายเวลาออกไป เพื่อช่วยสร้างความเจริญให้จังหวัด โดยจะเร่งดำเนินการโดยด่วน เพื่อให้ทันกลางเดือนมีนาคม 65 หากการขอผ่อนปรนเรียบร้อย นกแอร์จะได้เร่งจัดตารางการบิน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านอื่นให้สามารถโอเปอร์เรตทันปลายเดือนเมษายน 65

นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า   ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีสายการบินมาเปิดบินในโคราช ซึ่งหากยังไม่มีสถานที่จำหน่ายตั๋ว ทางหอการค้าฯ ยินดีให้ใช้สำนักงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้ง 3 จังหวัดใกล้เคียงอย่างบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์ก็มีความยินดีด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถจัดทัวร์เชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ อีกทั้งโคราชเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ ที่มีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การจัดประชุมสัมมนาข้ามภูมิภาคได้ด้วย

สำหรับท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง สร้างขึ้นเมื่อปี 2540 สมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากก่อสรา้งแล้วเสร็จได้มีสายการบินหลายสายมาเปิดเส้นทางการบินในสนามบินแห่งนี้ อาทิ แอร์อันดามัน ไทยแอร์เอเชีย แฮปปี้แอร์ ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ กานต์แอร์ และล่าสุดเมื่อปี 2560 นิวเจนแอร์เวย์ แต่ทุกสายการบินเปิดให้บริการได้เพียงไม่กี่เดือนก็ต้องยุติการบินทั้งหมด เนื่องจากประสบกับปัญหาขาดทุน เพราะมีลูกค้ามาใช้บริการน้อย จนกระทั่งล่าสุดสายการบินนกแอร์เตรียมที่จะมาเปิดสายการบินในครั้งนี้

Cr. เพจหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาฟ

ชาวเชียงใหม่ร่วมใจดูแลช้างหลังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ

ประเทศไทย – ชาวเชียงใหม่ร่วมใจดูแลช้างหลังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ

จากการสำรวจของสหพันธ์ช้างไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีช้างเลี้ยงอยู่ราว 3,700 – 3,800 เชือก ซึ่งส่วนมากเป็นช้างที่ถูกใช้งานในแวดวงการท่องเที่ยว เกือบทั้งหมดได้กลายสภาพเป็นช้างตกงานจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูช้างตามมา เนื่องจากช้างแต่ละเชือกจะต้องกินอาหารให้ได้วันละ 10% ของน้ำหนักตัว ขณะที่ช้างแต่ละเชือกมีน้ำหนักตั้งแต่ 2,000 – 5,000 กิโลกรัม เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้เป็นผู้ริเริ่มไอเดียในการบริจาคที่ดินเปล่าในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ชาวบ้านในพื้นที่และควาญช้างได้มาช่วยกันปลูกหญ้าเนเปียเพื่อนำไปเป็นอาหารช้าง จนทำให้ปัจจุบันมีหน่วยงานราชการและเอกชนอีกหลายรายที่ได้บริจาคที่ดินเปล่า หรือบริจาคอาหารให้กับช้างตามปางต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ภายในพื้นที่ และการบริจาคจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังไม่มีนโยบายความช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐ ขณะที่สมาคมสหพันธ์ข้างไทย วอนให้รัฐบาลไทยมองว่าช้างเป็นประชากรอีกส่วนหนึ่งของประเทศด้วย

ปรีทอง สิงขรพิทักษ์ – คนงานปลูกหญ้าเนเปีย บอกว่า “ดูแลหญ้า แล้วก็ปลูกหญ้าครับให้ช้างครับ ยกขึ้นรถครับ ยกขึ้นรถไปส่งปางช้างต่างๆ นะครับ ไปส่งแม่แตงบ้าง แม่วางบ้าง แม่ริมบ้าง แล้วก็พัทร เอ้ย หางดงบ้างนะครับ”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย
บอกว่า “ช้างในประเทศไทยเนี่ยกว่า 3,800 เชือกเนี่ย ส่วนมากแล้วได้รับการเลี้ยงดูหรือดูแลในสารบบของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นตั้งแต่เราปิดประเทศมาเนี่ย จนถึงวันนี้แล้วก็ครบรอบ 2 ปีแล้ว ก็เป็นที่แน่ชัดว่าคนเลี้ยงช้างไม่มีรายได้ แทบจะทุกวันหรือวันเว้นวันเนี่ย เราต้องประสบปัญหาได้รับการรายงานถึงช้างที่ล้มป่วยและตายลงนะครับ”

กันทอง เลิศวงษ์รัตนกุล – ควาญช้าง บอกนักข่าว “ที่แม่ขนิลนี่มี 10 กว่าเชือกครับ ดูแลตอนนี้ 2 แม่ลูกครับ ทุกวันนี้ก็หาตัดหญ้าที่ปลูกไว้ให้นะครับ เพราะว่าตอนนี้จะเข้าหน้าแล้งแล้ว หญ้าไม่ค่อยเพียงพอแล้วครับ”

เพิ่มพงษ์ สาวิกันย์ – ผู้จัดการโครงการปางช้างภัทร บอกว่า “ก็ช่วยกันกับควาญช้าง ก็ดูแลสถานที่ ดูช้างช่วยกัน ไปดูสถานที่ที่ออกไปไกลจากนี่ฮะ เข้าไปในป่า ไปดูว่ามีอาหารช้างมั้ย ถ้ามีก็มาบอกกัน ก็คืออยากให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเราก็จะมีรายได้สำหรับที่จะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับควาญช้าง”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย บอกว่า “สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของโครงการนำร่องที่เริ่มต้นด้วยบริษัท แสนสิริ จำกัดนะครับ กลายเป็นว่า หน่วยงานอื่นที่เห็นแนวทางก็เข้ามาสนับสนุนโครงการของสมาคมด้วย ล่าสุดก็เป็นความร่วมมือของภาคทหารนะครับ กองพันสัตว์ต่างร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นะครับ ร่วมกันให้เราใช้พื้นที่กว่าร้อยไร่ในการปลูกหญ้านะครับ ซึ่งก็เป็นเฟสที่ 2 รวมถึงเอกชนรายต่างๆ ที่มีการติดต่อเข้ามา สิ่งที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการหางบประมาณในการจ้างควาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนคงต้องช่วยกันคิดต่อไปว่าทำยังไงถึงจะรักษาควาญช้าง 3-4,000 คนเนี่ย เพื่อให้เขาช่วยเลี้ยงดูช้างของประเทศไทยให้ได้”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพิ่มว่า “เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศเราเป็นประเทศที่มีช้างนะครับ เพราะฉะนั้นนอกจากมีประชากร 70 กว่าล้านคนที่จะต้องดูแลแล้ว ข้อนึงที่รัฐบาลจะลืมไม่ได้ มองข้ามไม่ได้เลยก็คือยังมีประชากรช้างกว่า 3,800 เชือก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยครับ”

ที่มา A24 News Agency

อบจ.โคราชลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กับ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง

อบจ.โคราชลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กับ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมาโดยดร.ยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมากล่าวด้านการส่งเสริมสนับสนุน และ นายธีระ  เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าวนโยบายด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพในรูปแบบต่างๆ ลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ อบจ.จะดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เสริมสร้างความรู้ และสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต การป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง รวมถึงสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด หรือ การเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน นำไปสู่ความร่วมมือในการส่งเสริมและไขปัญหาแบบบูรณาการ ภายใต้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสมเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่มีการลงนาม โดยมี นายกมลศักดิ์  เกษเมธีการุณ รองนายก อบจ., นายภาสกร  สุรมูล เลขาธิการสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , ผศ.ดร.ฐิติพร มะชิโกว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ นางมณธิรา ไทรน้อย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ร่วมเป็นสักขีพยานอีกด้วย

พิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การจัดกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 (Kick off ก้าวท้าใจ Season 4)โดย นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวเปิดพร้อมด้วยแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน และผู้บริหารจากองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพทุกท่าน หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาทุกคน

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป” ในวันนี้ กระผมขอขอบคุณคณะผู้จัดกิจกรรม ทีมวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้เกิดกิจกรรมดีๆเช่นนี้  และ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารจากองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมการลงนาม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ได้แก่

– ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

– และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 

จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลงของคนไทย โดยกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการก้าวท้าใจ โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของก้าวท้าใจคือ ส่งผลออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย การส่งผลการออกกำลังกายที่หลากหลาย การออกกำลังกายทุกครั้งจะเปลี่ยนเป็นแคลอรี่ เพื่อสะสมในรูปของแต้มสุขภาพเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก ก้าวท้าใจ Season 4 และหวังไว้อย่างยิ่งว่า หน่วยงานของเราจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและเครือข่าย สู่การมี สุขภาวะที่ดีต่อไป

ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าวันนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “พิชิต 100 วัน 100 แต้มสุขภาพ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการสะสมแต้มสุขภาพแลกของรางวัล จากการออกกำลังกาย และสร้างความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ก้าวท้าใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม2565 ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามโครงการ “ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”, การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชั่น H4U รวมถึงการออกกำลังกายในแบบวิถีถัดไป 

 พิธีเปิดตัวกิจกรรม ก้าวท้าใจ Season 4 จังหวัดนครราชสีมาในวันนี้     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานเครือข่าย ภายใต้แนวทาง “การสร้างเสริมสุขภาพ ในองค์กร” โดยมีเครือข่ายที่ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ดังนี้

 1.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6       

2.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน                                                 

  3.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                               

4.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล                                                    

5.โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์

เปิดงานวันมะขามเทศ และงานกาชาดอำเภอโนนไทย

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 256 5 เวลา 17.00 น โดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ ทุกภาคราชการและส่วนประชาชน ร่วมส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ในระดับอำเภอการเกษตร กระตุ้นเศรษฐกิจพาณิชย์และผลผลิตการเกษตรภายในพื้นที่อำเภอโนนไทยและใกล้เคียง โดยการจัดงานครั้งนี้ ณ บริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’

เดอะมอลล์โคราชขอแสดงความยินดีกับน้องพราว “มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022”

กองประกวดมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ร่วมกับพันธมิตร ผู้สนับสนุน และเดอะมอลล์โคราช จัดการประกวด ‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’ ในวันที่ 19 ก.พ.2565 เวลา 15.00 น. ที่วาไรตี้ฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยได้รับเกียรติจาก คุณสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และคุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด และแขกผู้มีเกียรติ กองเชียร์เหล่าสาวงามร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ผู้เข้าร่วมงานทุกคนตรวจ atk ก่อนเข้างานและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยโรคระบาดโควิค-19 อย่างเคร่งครัด

สำหรับมงกุฎมิสแกรนด์นครราชสีมาปีนี้สร้างขึ้นด้วยอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา คือ รูปท้าวสุรนารี มียอดมงกุฏเป็นเพชรรูปอัคคีสีแดงเพลิง ช่อใบมะกอก อันหมายถึง ชัยชนะ รายล้อมด้วยประตู 4 ด้าน ได้แก่ ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์และประตูชุมพล ด้านหลังของมงกุฏทำเป็นรูปหน้ากากอนามัยเพชรสื่อถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

พร้อมเปิดตัวชุดประจำจังหวัดนครราชสีมา ‘ชุดนกกระเรียน’ เพื่ออนุรักษ์นกกระเรียนที่เคยมีอยู่มากในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน ชุดนกกระเรียนนี้ สาวงามมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 จะได้สวมใส่เพื่อประกวดบนเวทีใหญ่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์2022

โดยการประกวดเฟ้นหาสาวงามเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดรอบชิงชนะเลิศบนเวทีใหญ่ ‘Miss Grand Thailand 2022’ ในเดือน เมษายน 2565 นั้น ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ มิสแกรนด์นครราชสีมา2022 ในครั้งนี้มีผู้เข้ารอบการประกวดทั้งสิ้น 9 คน แบ่งเป็นรอบชุดราตรีและตอบคำถาม

ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัล Popular Voted และ Miss Social Media ได้แก่ หมายเลข 11 น.ส.กันต์ฤทัย บุญภูมิ (น้องอ๋อมแอ๋ม) อายุ 20 ปี จากนครราชสีมา

ผู้ที่ได้ครอบครองมงกุฎตำแหน่งมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 และสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 และเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดต่อระดับประเทศ ได้แก่ หมายเลข 2 น.ส.ณัฐฐา ศิริชัยวงศ์สกุล (น้องพราว) อายุ 25 ปี จากจ.นครราชสีมา และยังได้รับรางวัล Best In Swimsuit และ Miss Beauty by The Mall Korat อีกด้วย

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 4 น.ส.อัญมณี ขัติยนนท์ (น้องแบม) อายุ 21 ปี จาก จ.สมุทรปราการ

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 12 น.ส.จรภิญญา วงษ์พรมมา (น้องจอย) อายุ 24 ปี จาก จ.นครราชสีมา

ถวายผ้าป่าพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เหรียญพญาเต่าเรือน

พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี เททองหล่อพระมหาจักรพรรดิ์ทรงเครื่อง 111 องค์  หน้ากว้าง 2.10 เมตร และหล่อพระใหญ่ มหาจักรพรรดิ์ ที่ใหญ่ที่สุดนอนยาว 50 เมตร ณ. วัดบ้านไร่โคกสูง ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12.00 น. ถวายผ้าป่า พุทธาภิเษกวัตถุมงคล เหรียญพญาเต่าเรือน พิธีพุทธาภิเษกเริ่ม 13.09 น. หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ ประธานจุดเทียนชัยโดย พระครูโสภิตธรรมวัตร (ครูบาสมไพวัลย์) เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่โคกสูง ประธานฝ่ายสงฆ์ ครั้งนี้มี เกจิดังร่วมงานจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ , หลวงพ่อคูณวัดบัลลังค์ , หลวงพ่อเสือวัดป่าแสงธรรม พรหมรังสี , พระครูสิริเจติยาภิบาล วัดศาลาทอง , หลวงพ่อเฉลิม ผลปัญโญ วัดทองนิมิตร และ พระคู่สวดมหานาค 4 รูป ในพิธี พุทธาภิเษก อย่างยิ่งใหญ่ วัตถุมงคลพร้อมทำพิธีสวดเสริม ศิริมงคลผู้ร่วมงาน และ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ปกปักรักษาญาติโยมที่ร่วมพิธีมงคล สำคัญครั้งนี้

ท้ายนี้ท่านเจ้าอาวาส ครูบาสมไพรวัลย์ ได้ให้อวยพร แก่ ประธานฝ่ายฆราวาส

คุณบุญรอด – คุณพรรณี สาโสธร และครอบครัว , คุณศักดิ์ชัย ตันบุญเจริญและครอบครัว

เฮียตี๋ – เจ๊ติ๊ม- เสี่ยต๊ะ และครอบครัว , คุณธีระยุทธ ทองอยู่และครอบครัว

คุณเล็กอินทรีย์ และครอบครัว , เสี่ยนก -เจ๊น้อย และครอบครัว , ดร. รัตนะ วรบัณฑิต

คุณตระกูล ดำรงชาติ , คุณสิระภพ ผิวจันทร์ทึก , คุณฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์ , คณะ ศิษยาณุศิษย์ และ ชาวบ้านที่มาร่วมงานนี้ทุกท่าน มีความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป พร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ เทอญ….

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

วันแห่งความรัก หญิงชาว ต.โตนด อ.โนนสูง โคราช ซ้อมรำ ถวายคุณย่าโม

วันแห่งความรัก หญิงชาว ต.โตนด อ.โนนสูง โคราช ซ้อมรำ ถวายคุณย่าโม

วันนี้ 14 ก.พ. 65 นายติพงษ์ ถวิลสุวรรณวัง นายก อบต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ได้ทำการเปิดห้องประชุม ให้เหล่าบรรดา สตรีภภายในตำบล มาซ้อมรำบวงสรวง ถวายแต่คุณย่าโมในงานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ที่จะเกิดขึ้น พร้อมดูแลด้านความปลอดภัย ในสถานการณ์โควิด โดยให้ผู้รำ เว้นระยะห่าง พร้อมสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ทั้งนี้ นายติพงษ์ ถวิลสุวรรณวัง นายก อบต.โตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ยังได้กล่าวอีกว่า เนื่องในวันแห่งความรักนี้ ทาง อบต.ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมใดๆ เนื่องด้วยสถานการณโควิด 19 แต่ทางแกนนำกลุ่มสตรีเห็นว่า วันนี้เป็นวันแห่งความรัก ดังนั้น จึงได้นัดรวมกลุ่มสตรีที่ประสงค์รำถวายคุณย่า ในวันฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี โดยผ่านชุดวีดีโอการซ้อมท่ารำ ที่ทางจังหวัดได้มีการจัดสร้างและส่งให้ทุกตำบล เพื่อลดการแออัด

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท

การประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”

วันศุกร์ ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕  เวลา ๐๙:๐๐ – ๑๖:๓๐ น. กำหนดการประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคาร ๓๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทปีงบประมาณ 2565ภาตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)เป้าหมาย 200 ตำบล/เมืองโดยสรุปภาพรวมการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนในปี ๒๕๖๔โดย ผศ.ดร.ทวี

วัชรเกียรติศักดิ์  เป็นประธานเปิดการอบรมพร้อมด้วย นายสมพงษ์  แสงศิริ  ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาชี้แจงวัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญและเป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  จำนวน20อำเภอนครราชสีมาที่มาร่วมฟังการนี้

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท เป็นการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รูปธรรม “ตำบล/เมือง” ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีแผนพัฒนาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ระยะ 3 ปี 5 ปี แผนพัฒนาที่จะเคลื่อนงานชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนงานของจังหวัด แผนพัฒนาเชื่อมโยงทุกประเด็นงานพัฒนาและครอบคลุมทุกมิติ และสามารถบูรณาการแผนงานและงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ตาบล/เมืองมีระบบช่วยเหลือทางสังคมในการดูแลสมาชิกในชุมชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสู่การจัดการและพึ่งพาตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ

กิจกรรมภายในงานการเสริมพลังกลุ่มคนเปราะบางสู่สังคมชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน โดย นางทัศกมณฑจ์  เกิดผล  นักพัฒนาสังคมชำนาญการสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างวิสาหกิจให้เข็มแข็ง และสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายโดย นักพัฒนาธุรกิจชุมชน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัดการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา     การทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา  ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาออกแบบจังหวะก้าวร่วมกัน และสรุปผลการทำ Workshopโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)อีกด้วย