งานทอดผ้าป่าสามัคคีตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะสถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

ทอดผ้าป่าสมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

 วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร

วันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕เวลา๑๐.๐๙น.

งานทอดผ้าป่าสามัคคี ตำรวจภูธรภาค ๓ สมทบทุนบูรณะ สถานพระนารายณ์และศาสนสถาน

โดยมีพระธรรมวรนายก  เจ้าอาวาสวัด พระนารายณ์มหาราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ประธานฝ่ายฆราวาส และหน่วยงานราชการในจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมพิธี ณ.พระวิหารวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร จังหวัดนครราชสีมาได้ปัจจัย ๘,๔๘๕,๗๑๗ บาท อนุโมทนาบุญร่วมกันสาธุ

“ตรุษจีนโคราช” จอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี

วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา เวลา 17.30 น. ที่ลานโอเปร่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี #นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี ถนนแห่ง

วัฒนธรรรม ปี 2565

โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ  วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนคร นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัด และ นายธนาคม  วิมลวัตรเวที รักษาการรองกรรมการถนนจอมพลหัวมังกร ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “ตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107ปี แห่งถนนสายวัฒนธรรม ปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และ ถนนจอมพล

การจัดงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ อบจ.นครราชสีมา พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เดินทางมาเที่ยวงาน อะนเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน

“เราต้องร่วมกันฟื้นฟูการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การจัดงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดนครราชสีมาต่อไป”

“ตรุษจีนโคราช” จอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี

วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา เวลา 17.30 น. ที่ลานโอเปร่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี #นางยลดา  หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107 ปี ถนนแห่ง

วัฒนธรรรม ปี 2565

โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ  วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนคร นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายศักดิ์ชาย  ผลพานิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัด และ นายธนาคม  วิมลวัตรเวที รักษาการรองกรรมการถนนจอมพลหัวมังกร ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “ตรุษจีนโคราชจอมพลถนนหัวมังกร 107ปี แห่งถนนสายวัฒนธรรม ปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และ ถนนจอมพล

การจัดงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ อบจ.นครราชสีมา พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เดินทางมาเที่ยวงาน อะนเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน

“เราต้องร่วมกันฟื้นฟูการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การจัดงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดนครราชสีมาต่อไป”

พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในสังกัด

พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในสังกัด ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 ของตำรวจภูธรภาค 3

ตำรวจภูธรภาค 3 ได้มีการจัดการประชุมบริหาร ภ.3 ประจำเดือน มกราคม 2565 ในวันที่ 25 มกราคม 2565 ซึ่งได้มีการจัดให้มีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ภาคีเครือข่ายและหน่วยงาน ในสังกัดที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 ของตำรวจภูธรภาค 3 ขึ้น โดยมี พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3 เป็นประธานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณในครั้งนี้

โดยมีความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ หน่วยงานภาคี เครือข่าย ที่ร่วมปฏิบัติงานในห้วงควบคุมเข้มข้นระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2565 และหน่วยงานในสังกัด ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนน ในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 ของตำรวจภูธรภาค 3

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ประกาศ ผลการดำเนินการด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุในทางถนน ในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 ในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ผ่านมาพบว่า ตำรวจภูธรภาค 3 มีผลการปฏิบัติ ที่ทำให้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตลดลง จนได้รับรางวัลอันดับที่ 2 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในระดับกองบัญชาการ โดยสามารถลดสถิติ การเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 40.71 ลดสถิติผู้บาดเจ็บได้ร้อยละ 41.44 และลดอัตราการเสียชีวิต ได้ร้อยละ 35.23 จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปแล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

จากผลการปฏิบัติดังกล่าว ย่อมสะท้อนถึงความเอาจริงเอาจัง เอาใจใส่ และความร่วมมือ ร่วมใจของผู้ปฏิบัติงาน ที่ทุ่มเท เสียสละ ในการปฏิบัติ บริหารจัดการในด้านต่างๆ จนบังเกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ตำรวจภูธรภาค 3 ได้จัดพิธีมอบโล่และประกาศ เกียรติคุณให้แก่หน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่ร่วมปฏิบัติงานในห้วงควบคุมเข้มข้น และหน่วยงานในสังกัดที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 ของตำรวจภูธรภาค 3 จำนวน 14 รางวัล ดังนี้

1. รางวัลหน่วยที่ร่วมปฏิบัติงาน ให้การสนับสนุน และความร่วมมืออันดียิ่ง ในการอำนวยความสะดวกการจราจร ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 จำนวน 10 รางวัล ได้แก่

1.1 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา

1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

1.3 สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา

1.4 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา

1.5 แขวงทางหลวงนครราชสีมา ที่ 1

1.6 แขวงทางหลวงนครราชสีมา ที่ 2

1.7 แขวงทางหลวงนครราชสีมา ที่ 3

1.8 มูลนิธิพุทธธรรม 31 นครราชสีมา

1.9 มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน นครราชสีมา

1.10 สถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจทางหลวง

2. รางวัลการอำนวยความสะดวกการจราจร ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ดีเด่น จำนวน 3 รางวัล ดังนี้

2.1 หน่วยที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์

2.2 หน่วยที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น อันดับ 2 ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์

2.3 หน่วยที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น อันดับ 3 ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ

3. และยังมีรางวัลที่มอบให้แก่ ภ.จว.นครราชสีมา ที่ร่วมอำนวยความสะดวก ด้านการจราจร เส้นทางถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลักของพี่น้องประชาชน ในการเดินทาง สู่ภาคอีสาน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท เสียสละ จนทำให้พี่น้องประชาชน เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ผบช.ภ.3 จึงได้จัดทำโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัด นครราชสีมา เป็นหน่วยที่ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านการอำนวยความสะดวกการจราจร และบังคับใช้ กฎหมายดีเด่น จำนวน 1 รางวัล

ขอขอบคุณข่าวจากฝ่ายอำนวยการ 3 กองบังคับการตำรวจภูธรภาค3

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุด New Normal




วันอังคารที่ 25 มกราคม 2565พิธีเปิดงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุด New Normal”ณโรงแรมไอซาน่า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ รองอธิบตีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานและกรรมการเครีอข่ายธุรกิจ Biz ClubThailand และประธานหรือผู้แทนเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จังหวัดทุกท่าน และสื่อมวลชนแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ด้านนายกุณฑล ปูรณวัฒนกุล ประธานกรรมการเครือข่ายธุรกิจBiz Club ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านให้เกียรติเป็น ประธานในพิธีเปิด สัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุค New Normal ในวันนี้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของประธานเครือข่าย Moc Bizclubจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และสำหรับการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสัญจรนครราชสีมา ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีสัญจรครั้งแรก นับจากมีการก่อตั้งBizclub ประเทศไทย เนื่องจากศักยภาพความพร้อมของพื้นที่และคณะกรรมการจัดงาน ทางBizclub ประเทศจึงได้ลงความเห็นให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่ง

การจัดงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ

1.ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564

2.เพื่อจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้นำของประธานจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

3.สร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประธานทั้ง 77 จังหวัดประเทศเชื่อมโยงต่อยอดและขยายตลาดเพื่อประโยชน์ของสมาชิก Bizclub ประเทศซึ่งมีสมาชิกรวมกันกว่า 12,000 คนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานระหว่างหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศเพื่อประโยชน์ของสมาชิกBizClub ประเทศไทย

ด้านรองอธิบดี (นางรวีพรรณ ข้างเย็นฉ่ำ)กล่าวต้อนรับ ดิฉันมีความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจยุค New Normal ในวันนี้การกิจกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Clubกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจและบทบาทโดยตรงต่อผู้ประกอบการทั้งหลาย ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การจดทะเบียน การกำกับดูแลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล ตลอดจนการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจให้มีความเข้มแข็งแข่งขันได้ในเวที่การค้าทุกระดับกรมฯ มุ่งให้ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ และการรวมกลุ่มธุรกิจ

เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง จึงได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ประจำจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และสามารถดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายฯ ครบ๗๗ จังหวัด เมื่อปี ๒๕๕๙ เพื่อเป็นศูนย์รวมของกลุ่มเครือข่ายธุรกิจทุกระดับ ที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงการค้าระหว่างกัน และสร้างพันธมิตรเพื่อต่อยอดโอกาสธุรกิจทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ รวมทั้งเป็นเวทีเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานของภาครัฐ อันเป็นกลไกสำคัญให้ภาคธุรกิจของไทยมีความเข้มแข็งโดยปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายฯ ทั่วประเทศ ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ราย

ผลกระทบโควิดคนไทยหันมาเที่ยว แบบกางเต็นท์แทนการพักโรงแรม

ประเทศไทย – ผลกระทบโควิด คนไทยหันมาเที่ยวแบบกางเต็นท์แทนการพักโรงแรม

ประเทศไทยมีการประกาศล็อกดาวน์ไปแล้วทั้งสิ้น 11 เดือน ทำให้ความต้องการเดินทางท่องเที่ยวพุ่งสูง ขณะที่เดียวกัน นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสนใจกับการพักแรมแบบกางเต็นท์มากขึ้น จนทำให้มีลานกางเต็นท์แห่งใหม่ผุดขึ้นกว่า 500 แห่ง ในรัศมี 150 กิโลเมตร รอบกรุงเทพฯ ภายในปีเดียว เจ้าของลานกางเต็นท์ อิงกะปิง จ.กำแพงเพชรระบุว่า ลานกางเต็นท์กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากหลังจากสถานการณ์โควิด ขณะที่ บรรดานักท่องเที่ยวเผยว่า การเที่ยวแบบกางเต็นท์สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากการพักตามห้องพักของโรงแรม และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับตนที่ไม่มีโอกาสได้เที่ยวนับตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด

ธวัชชัย ทวิติยกุล – นักท่องเที่ยว บอกว่า “เราอยู่กับเมืองป่าคอนกรีตมากๆ ไม่ไหว มันเครียดมาก เราก็ออกบ้าง เอาชีวิตธรรมชาติบ้าง มันสดชื่นดี เจอสถานที่ดีๆ เราก็ไปพักที่นั่น เวลานั่นเราก็ซื้อกับข้าวไปทำกินเองไปอะไร ก็ครอบครัวเราก็อยู่อิสระ”

ณัฐชน คูณรักษา – นักท่องเที่ยว บอกนักข่าวA24ว่า
“ชอบบรรยากาศครับผม ช่วงหน้าหนาวนี่บรรยากาศจะดี ลมเย็น แล้วก็อุณหภูมิลดต่ำ เหมาะแก่การกางเต็นท์เพราะว่าไม่ร้อนเวลานอนครับ แล้วก็ได้ชมสัตว์ป่าด้วย พาลูกครอบครัวมาเที่ยวครับ ยิ่งช่วงหน้าหนาวนี่เดือนนึงประมาณ 4 5 ครั้งครับ ยิ่งช่วงปีใหม่ด้วย ไม่ไปเที่ยวไหนเลย กางเต็นท์”

สุพรรษา พวงมณี – นักท่องเที่ยว บอกว่า “เพราะมันเป็นหน้าหนาวค่ะ เป็นอากาศดี เรามากางเต็นท์มันได้อีกฟีลนึงที่ต่างจากที่เราไปพักห้องพักมันพักที่ไหนก็ได้ค่ะ สำหรับหนูมันคือการรีแลกซ์ เพราะว่าหนูเพิ่งจบมาใช่มั้ย เราก็เหมือนกับเพิ่งได้เที่ยวตอนที่ใกล้จะจบ แล้วก็โควิด ก็เลยไม่ค่อยได้เที่ยวเท่าไหร่”

ชาญบูรณ์ แดงศิริ – เจ้าของลานกางเต็นท์ อิงกะปิง โฮมสเตย์ Chanboon Daengsiri บอกว่า “ก็ตอนนี้เนี่ย คือต้องบอกว่าด้วยบรรยากาศและก็ช่วงเวลาเนี่ย มันทำให้ทุกคนมีความต้องการที่อยากจะออกมาท่องเที่ยว ก็โควิดนี่แหละที่มันทำให้ทุกคนวิ่งหาธรรมชาติ จริงๆ ตอนนี้นะครับ พอเราทำลาน พอให้เขาเหมาลานได้ด้วยเนี่ย ก็กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจอง เหมาลานเลย”

ที่มา A24 News Ageny

นิทรรศการแสดงผลงานอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชน คนสร้างศิลปะร่วมสมัยนครชัยบุรินทร์

งานศิลปนานาชาติ Thailand Biennale Korat 2022

 นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์

วันที่ 21 มกราคม 2565 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย ได้รับเกียรติ นายชู​ศักดิ์​ ชุน​เกาะ​ รองผู้ว่าราชการจังหวัด​นครราชสีมา​ เป็น​ประธานพิธีเปิดงาน นิทรรศการแสดงผลงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนคนสร้างศิลปะร่วมสมัย นครชัยบุรินทร์ ยกระดับขีดความสามารถการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหมนครชัยบุรินทร์( นครราชสีมาชัยภูมิสุรินทร์และบุรีรัมย์) ลานวาไรตี้​ หน้า MCC HALL ห้างสรรพสินค้า​เดอะมอลล์​จังหวัดนครราชสีมา​ ด้วยกิจกรรมจัดระหว่างวันที่ 18 ถึง 25 มกราคม 2565 ขอเชิญผู้สนใจทั่วไปร่วมกิจกรรม ชมงานศิลปะตื่นตาตื่นใจ

ประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ

วันพุธที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ณ วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช (วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา)อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพนายวิจิตร กิจวิรัตน์คำปลัดจังหวัดนครราชสีมา ประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยนางอารยา ศิริทิพย์ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓กล่าวเปิดกิจกรรม และท่านผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดคุมประพฤติภาค ๓ /ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ และคณะ/ผู้บริหารในสังกัดกระทรวงยุติธรรม/ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครโคราช/ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านผู้เข้าร่วมพิธีเปิด

โครงการอบรมวิชาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกวดการทำอาหาร Street Food สร้างอาชีพ และในวันนี้ผู้เข้าร่วมประกวดการทำอาหารในระดับภาคที่ได้เดินทางมาจากจังหวัดบุรีรัมย์/สุรินทร์/ศรีสะเกษ/ยโสธร/อำนาจเจริญ/ชัยภูมิและอุบลราชธานีนั้น จังหวัดนครราชสีมา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยการฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้มีงานทำและมอบทุนประกอบอาชีพ รวมทั้งเสริมสร้าง

บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติให้เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการคืนคนดีสู่สังคมอย่างครบวงจรทักษะวิชาชีพสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า นั้นตามที่ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติภาค ๓ ได้กล่าวรายงานมาแล้วนั้นนับเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติคือการดูแลแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับในการทำอาหารของผู้กระทำผิด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสร้างขวัญกำลังใจ ต่อไป ผลการแข่งขันประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ประเภทอาหารคาว

๒.ประเภทอาหารหวาน

ได้แก่ชนะเลิศที่๑ทีมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ทั้งสองรายการ

ตำรวจภาค3จับคนร้ายเลียนแบบในหนัง ทำอนาจารเด็กนักเรียนหญิง

ตำรวจภาค3จับคนร้ายเลียนแบบในหนัง ได้ทำการอนาจารเด็กนักเรียนหญิงที่กำลังนอนหลับในหอพักโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จว.นครราชสีมา

ด้วยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2564 เวลาประมาณ 23.14 น. ต่อเนื่องจนถึง ถึงวันที่ 1 ธ.ค.64 เวลาประมาณ 02.09 น. (ครั้งที่ 1) และเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.64 เวลาประมาณ 01.44 น. – 02.21 น. (ครั้งที่2) มีคนร้ายไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด ประกอบเหตุที่คล้ายกัน กล่าวคือ ได้บุกรุกเข้าไปในหอพักหญิงโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จว.นครราชสีมา แล้วได้กระทำการอนาจารเด็กนักเรียนหญิงที่กำลังนอนหลับในหอพัก โดยได้ใช้กรรไกรตัดที่ขากางเกงของนักเรียนหญิงและใช้มือลูบคลา จากนั้นได้ขโมยทรัพย์สินเป็นเงินสดของเด็กนักเรียนไปอีกจานวนหนึ่ง ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความหวาดกล้วให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนคณะครูอารจารย์ ผู้บริหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก ตามที่สื่อมวลชนให้ความสนใจและนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3, พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริ รอง ผบช.ภ.3,พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา, พล.ต.ต.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ ผบก.สส.ภ.3, พ.ต.อ.สุคนธ์ ศรีอรุณ รอง ผบก.สส.ภ.3,พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา, พ.ต.อ.สุกาญจน์ นิลอ่อน ผกก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.อ.นาวิน ธีระวิทย์ ผกก.สภ.โพธิ์กลาง ,พ.ต.ท.นราพงษ์ เตือนขุนทด รอง ผกก.สส.สภ.โพธิ์กลาง ,พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ นามจันทร์เทียม รอง ผกก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.ท.สุวนัย พิทักษ์ รอง ผกก.สืบสวน3 บก.สส.ภ.3, พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป รอง ผกก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ท.มณฑล หงส์กลาง รอง ผกก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย รอง ผกก.สส.สภ.เทพารักษ์, พ.ต.ท.สุชาติ ซ้อนพุดซา สว.สส.สภ.โพธิ์กลาง, พ.ต.ต.ณัฐพล เฉลิมนพคุณ สว.กก.สืบสวน.ภ.จว.นครราชสีมา,พ.ต.ต.สมพร ทองประดับ สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3, พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน เร่งดำเนินการสืบสวนติดตามจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมด้วยดร.ยลดา หัวงศุภกิจโกศล นายกอบจ.นครราชสีมา

โดยการบูรณาการของ ชุดสืบสวน กก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา,ชุดสืบสวน สภ.โพธิ์กลาง และ ชุดสืบสวน กก.สืบสวน3 บก.สส.ภ.3 ได้ดาเนินการสืบสวนตำหนิรูปพรรณและยานพาหนะที่คนร้านใช้ในวันเกิดเหตุ จากการสืบสวนพบว่าผู้ต้องสงสัย คือ นายธงชัยหรือโก้ พันชนะ อายุ 32 ปี

มีภูมิลาเนาอยู่ที่ อ.ด่านขุนทด จว.นครราชสีมา ปัจจุบัน ไปมีภรรยาและพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.สูงเนิน จว.นครราชสีมา ซึ่งมีตำหนิรูปพรรณสัณฐานตรงกับคนร้าย

ชุดสืบสวน จึงประสานข้อมูลกับ พนักงานสอบสวน สภ.โพธิ์กลาง ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติหมายจับศาลจังหวัดนครราชสีมา ที่ 17/2565 และ ที่ 18/2565 ลงวันที่ 16 มกราคม 2565 ในข้อหา “ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสาหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นโดยประการใดๆ ,บุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นด้วยประการใดๆ และทำอนาจารฯ”

ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน จึงได้จับกุมตัวนายธงชัยฯ ตามหมายจับของศาลดังกล่าว นาส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งนายธงชัยฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาว่าตนเป็นผู้ก่อเหตุทั้งสองครั้งจริง

***********************************************

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม

มทร.อีสาน ขับเคลื่อนยกระดับทักษะอาชีพภาคเกษตรกรรม วิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ เร่งเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ได้จัดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้แทน รมว.อว. เป็นประธานกล่าวให้โอวาท และกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ,ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ร่วมพิธีเปิด

รศ. (พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจากท่าน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ให้มาเป็นประธาน และกล่าวปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  ภาคเหนือ ในวันนี้

ตามที่คณะทำงานโครงการอบรมฯ โดยการนำของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ และคณะวิทยากร ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมานั้น ทำให้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2574 กลุ่ม ได้มีการยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคติดเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน

หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการยังจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้น เพื่อต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นเพียงห้วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ท่านทั้งหลายควรนำสิ่งที่คณะวิทยากรได้ให้ในการอบรมในครั้งนี้ ไปประยุกต์ปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะเป็นที่ปรึกษาและเป็นกำลังใจในการดำเนินงานของท่าน  ในการที่จะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ขอชื่นชมและขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน พิษณุโลก ที่ได้เอื้อเฟื้อให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดการอบรมในครั้งนี้”

ด้าน ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด

มทส. เปิดตัว “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด”

ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ติดตั้งง่าย เหมาะกับท้องถิ่นห่างไกล

มทส. เปิดตัว สถานีชาร์จรถไฟฟ้าต้นแบบ  โซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด สถานีมีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย เหมาะกับพื้นที่จำกัด และท้องถิ่นห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้าภาครัฐเข้าถึง ในระยะแรกพร้อมให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ตอบรับนโยบายมหาวิทยาลัยเขียว-สะอาด (Green and Clean University) ก่อนขยายผลสู่ชุมชนและสังคม เพื่อร่วมรณรงค์การใช้พลังงานสะอาดพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

วันที่ 13 มกราคม 2565 ณ อาคารวิชาการ 2 มทส. รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานในพิธีเปิด “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid charging station for mini EVs)” สถานีต้นแบบ เพื่อให้บริการชาร์จไฟฟ้าแก่ยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้สัญจรภายในมหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าคณะนักวิจัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.พนมศักดิ์ มีมนต์ นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ โอกาสนี้ ได้ส่งมอบจักรยานไฟฟ้า จำนวน 20 คัน ผลงานบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับ ส่วนอาคารสถานที่ มทส. ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอเตอร์ไฟฟ้าจากบริษัท Stallions เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยตอบรับนโยบาย มทส. มหาวิทยาลัยเขียว-สะอาดอย่างยั่งยืน

 รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าคณะนักวิจัย เปิดเผยว่า “สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด  หรือ Solar-off-grid charging station for mini EVs เป็นสถานีต้นแบบ ได้ทำการออกแบบและติดตั้งไว้ ณ บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารวิชาการ 2 สามารถให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก รถกอล์ฟไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น จุดเด่นของสถานีชาร์จแห่งนี้ คือ เป็นสถานีชาร์จแบบโซล่าร์ออฟกริด (Solar-off-grid) ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และการออกแบบรูปลักษณ์สถานีขนาดเล็กเหมาะกับพื้นที่จำกัด จึงสามารถทำการติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานที่ทุรกันดาร หรือมีระยะทางห่างไกลที่ระบบไฟฟ้าภาครัฐเข้าไปยังไม่ทั่วถึง หลักการทำงานคือ การใช้พลังไฟฟ้ามาจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูงโดยทำการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน   กำลังการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 4 กิโลวัตต์ (kW) ผลิตพลังงานได้ประมาณ 16 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ต่อวัน หรือสามารถนำไปชาร์จรถกอล์ฟหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมกันได้ 8-10 คันต่อวัน สำหรับระบบกักเก็บพลังงานมีขนาดความจุ 5 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ที่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประมาณ 25% ไปใช้ในเวลากลางคืน หรือช่วงที่มีแสงแดดน้อย ยังสร้างความเสถียรในการชาร์จไฟฟ้าได้อีกด้วย  สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบโซล่าร์ออฟกริด ต้นแบบของ มทส. นี้ ได้ออกแบบตัวสถานีชาร์จขนาด 2 x 3 ตร.ม. ใช้พื้นที่โดยรวมประมาณ 24 ตารางเมตร หลังคาติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 12 แผง สามารถรองรับรถกอล์ฟเข้าจอดได้ 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้ารวมกันได้ 5 คัน   

โดยในระยะแรกสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ในพื้นที่ มทส. ควบคู่กับการติดตามและประเมินผลการใช้งาน ผลงานวิจัยนี้ ศูนย์เครือข่ายวัสดุนาโนและการวิเคราะห์ขั้นสูง (RNN-SUT) มทส. ได้รับทุนวิจัยจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nanotec) และ มทส. ในการวิจัยระบบกักเก็บพลังงาน ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ EQ Tech Energy คาดว่าในอนาคตพร้อมที่จะขยายผลบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่สนใจร่วมใช้พลังงานสะอาดเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป”