ศิลปินนักปั้น เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ดินแดนแห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์

ครั้งแรก ของการจัดงาน เทศกาล ศิลปะงานปั้นดิน และ เซรามิค ณ จังหวัดนครราชสีมา ดินแดน แห่งอารยธรรม และ ประวัติศาสตร์ การก่อเกิด เครื่องปั้นอันเก่าแก่ ที่มีพื้นที่การส่งเสริมศิลปะ การปั้น ตลาดการค้าเครื่องปั้นขนาดใหญ่ หมู่บ้านด่านเกวียนที่ทำเครื่องปั้นใหญ่ที่สุด และมีเตาเผา แบบดั้งเดิมมากที่สุด จุดหมายของการมาเยือนจากผู้ที่มีใจรักในศิลปะการปั้น ที่ทุกคนใฝ่ฝัน

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

เทศกาลที่จะมีศิลปินนักปั้น และผู้ประกอบการ จากทั่วประเทศ และทั่วโลกมาร่วม ประชุม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างผลงานร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ ตลอดจนเกิดการส่งเสริมการส่งออก ค้าขาย และ การจัดจำหน่าย ในรูปแบบของ การชุมนุมเครื่องปั้น หลากหลายรูปแบบ ชมนิทรรศการ การแสดงผลงานการปั้น จากศิลปินชั้นนำ และงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ณ เดอะมอลล์โคราช

InterKeramos korat clay festival 2021 thailand จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2021 ณ จังหวัดนครราชสีมา  เข้าชมรายละเอียดการจัดงานที่ www.ikthai.com  หรือ facebook KoratClayFestival

ผู้สนับสนุนการจัดเทศกาล“ InterKeramos korat clay festival 2021 thailand

TCEB สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

จังหวัดนครราชสีมา 

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์

เทศบาลตำบลด่านเกวียน

เทศบาลพิมาย

สมาพันธ์ SME ไทย 

NCEC

3bb

Pottery Clay Thailand

กลุ่มเครือข่ายสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

จัดโดย Ikthai

เล่าขานประวัติศาสตร์ ผ่านนามสกุลโคราช

เล่าขานประวัติศาสตร์ นครราชสีมาผ่านนามสกุลคนโคราช”

วัฒนธรรมจังหวัด นครราชสีมา

วันที่  22 ธันวาคม 2564 ท่านจำลอง ครุฑขุนทด ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัด, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิดการเสวนาของสภาวัฒนธรรมจังหวัด “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช”

 การเสวนาครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “โครงการเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ซึ่งสภาวัฒนธรรมจังหวัดได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนามสกุลคนโคราชว่ามีนามสกุลใดบ้าง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสภาวัฒนธรรมอำเภอ ในเบื้องต้นได้สืบค้นและทำการสัมภาษณ์คนโคราช 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอสูงเนิน อำเภอสีคิ้ว อำเภอโชคชัย อำเภอจักราช อำเภอพิมาย อำเภอโนนสูง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอครบุรี และอำเภอด่านขุนทด โดยข้อมูลครอบคลุมถึง ประวัติความเป็นมา ชาติพันธุ์ อาชีพ และภูมิลำเนาเดิมของบรรพบุรุษ ตลอดจนความภาคภูมิใจในนามสกุลของคนโคราช นอกจากนี้ยังได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น การละเล่นพื้นเมือง และของดีประจำตำบลในแต่ละพื้นที่ด้วย

 สภาวัฒนธรรมจังหวัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพื่อใช้ในการประสานคนโคราชให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีและเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่มีความเข้มแข็งมั่นคง และสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงได้จัดเสาวนาในวันนี้ โดยเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาจากอำเภอต่างๆ ได้รับเกียรติ นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, นายไชยนันท์ แสงทองวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, ดร.สมศักดิ์ ชาญสูงเนิน, รศ.ดร.จำเริญรัก จิตต์จิรจรรย์, ว่าที่ร้อยตรีสมชายรักกลาง และ นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกิจกรรมเสวนาครั้งนี้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จิตนภาสมบูรณ์ศิลป์ หัวหน้าโครงการกล่าวรายงาน

 นาย จําลอง ครุฑขุนทด ท่านประธานกรรมการจัดงานเสวนา คณะกรรมการจัดงานกล่าวเปิดท่านผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน

 ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดการเสวนา “การเล่าขานประวัติศาสตร์นครราชสีมา : ผ่านนามสกุลคนโคราช” ขอขอบคุณและขอแสดงความชื่นชมที่ท่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงความสำคัญและทำการรวบรวมข้อมูลนามสกุลคนโคราชนี้ขึ้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของคนโคราชในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ที่บางแห่งอาจจะลบเลือนไป แต่บางแห่งก็ยังได้ถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังเอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ของคนโคราชร่วมกันต่อไปในอนาคต อันจะประโยชน์เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ1 มี 32 อำเภอ และมีประชากรกว่า 2 ล้าน 6 แสนคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดังนั้นการที่ท่านทั้งหลายมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการรวบรวมข้อมูลจาก 12 อำเภอ นำร่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีและควรค่าแก่การสนับสนุน ผมขอเป็นกำลังใจให้ท่านรวบรวมข้อมูลต่อไปในครบทั้ง 32 อำเภอ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นข้อมูลประจำจังหวัดนครราชสีมา เพื่อต่อยอดสืบสาน วัฒนธรรมโคราชต่อไป

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

สสส. สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ต้นแบบ เยาวชน 4 ภูมิภาค เป็นผู้นำเครือข่ายสื่อออนไลน์ท้องถิ่น หวังดึงพลังเยาวชนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

เยาวชน 4 ภูมิภาค ร่วมผลิตสื่อสร้างสรรค์ หวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคม และพัฒนาเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชน ด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ

วันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 ที่ โรงแรม ทีเคพาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กทม. โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ขึ้นเพื่อพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ทั้งยังหวังดึงพลังเด็กและเยาวชนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู้สังคมต่อไป

นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กล่าวว่า การพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดขึ้นปีที่ 6 ภายใต้โครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่นและชุมชนด้วยต้นแบบหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน ครอบคลุมใน 4 ภูมิภาค อาทิ ภาคอีสาน โดย พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ จากไทยเสรีนิวส์, ภาคเหนือ โดยคุณชัยวัฒน์ จันทิมา จากพะเยาทีวี, ภาคใต้ โดยคุณภูวสิษฏ์ สุกใส จากสงขลาโฟกัส และภาคกลาง โดยคุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากกลุ่มพลังแห่งต้นกล้า ที่ได้นำทัพเด็กและเยาวชนในภูมิภาคนั้นๆ มาร่วมโครงการการพัฒนาขับเคลื่อนผู้นำเครือข่ายสื่อมวลชนออนไลน์ท้องถิ่น และชุมชนด้วยต้นแบบ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ จำนวนกว่า 80 คน

ได้มาเรียนรู้การทำงานก่อนลงไปสร้างสรรค์สื่อจริง ด้วยหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน อย่าง 1. ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2. การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) 4. กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร  5. การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผนชุมชน 6.ความคิดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง 7.การออกแบบและผลิตสื่อ 8.การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต 9.การสื่อสารเพื่อการฟื้นฟูและเยี่ยวยา 10.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ 11.การต่อยอดเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ 12.การประเมินผลและการถอดบทเรียนออนไลน์ และ 13.การออกแบบและผลิตสื่อ 2

“ในการสร้างสรรค์สื่อในครั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสังคมได้แพร่หลายมากขึ้นจึงมีการเน้นให้มีการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok หรืออื่นๆ ตามที่นำเสนอภายใต้ประเด็นที่กำหนดอย่าง 1.รองรับสังคมผู้สูงวัย 2.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ 3.ทักษะรู้เท่าทันสื่อและความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5.อัตลักษณ์ – ความดี – คนดีของสังคม ซึ่งสามารถติดตามผลงานของเยาวชนทั้งหมดในครั้งนี้ได้ที่ www.artculture4health.com/mass ครับ”  นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว

ด้าน พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ บรรณาธิการบริหารไทยเสรีนิวส์ กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานในปีนี้ได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมเพื่อสร้างสรรค์สื่อในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น จำนวน 6 ทีม โดยมีเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมพี่เอง, ทีมลูกหล่า และทีมหนุ่มชุมชน ส่วนจากจังหวัดมหาสารคาม โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 ทีม อาทิ ทีมนาตาชาโรมานอฟ, ทีมเป็นกำลังจั๊ย และทีม My Navis We love You โดยทั้ง 6 ทีมนี้ จะมีการนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่จะเปิดตัวขึ้นต้นปี 2565 และแน่นอนว่าผลงานทั้งหมดจะมีการเผยแพร่ที่ เวปไซค์และเพจไทยเสรีนิวส์ ด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามทุกๆ ผลงานได้เร็วๆ นี้แน่นอน

“นอกจาก 6 ทีม ของภาคอีสานแล้ว ยังมีผลงานของเยาวชนในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ในภาคอื่นๆ เผยแพร่ออกมาด้วย แน่นอนว่าทุกๆ ผลงานจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมเพื่อนำมาสู่การขับเคลื่อนให้เกิดแนวทางในการสร้างสรรค์กลุ่มนักสื่อสารมวลชนที่จะเป็นพลังในการสร้างรากฐานของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม และประเทศชาติต่อไปได้อย่างแน่นอน จะเป็นอย่างไรติดตามได้ต้นปี 2565 นี้” พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ กล่าว

ททท.ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ชวนเที่ยวงานเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 : Amazing Thailand Countdown 2022

ททท.ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ชวนเที่ยวงานเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapter @ Nakhon Ratchasima วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

ททท.ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ชวนเที่ยวงานเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 : Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapter @ Nakhon Ratchasima ภายใต้แนวคิด “Smiley Thailand” มนต์เสน่ห์แห่งแดนอีสานรอยยิ้มและสีสันแห่งความสนุก ตื่นตากับมหัศจรรย์สวนไฟเรืองแสงใจกลางเมืองนครราชสีมา ชมขบวนพาเหรดสีสันแดนอีสาน และการแสดงสดจากศิลปินชื่อดัง อาทิ ตั๊กแตน ชลดา, แซ็ค ชุมแพ, บอย ศิริชัย หมอลำใจเกินร้อย, วงโปเตโต้, Twopee Southside พร้อมร่วมนับถอยหลังส่งคำอวยพรต้อนรับปีใหม่ 2565 กับการแสดงพลุชุดพิเศษ “Smiley Thailand” และเพลง“พรปีใหม่” ในธีมอีสานซิ่ง ดีเดย์ 27 – 31 ธันวาคม 2564  ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

เย็นวันนี้ (21 ธันวาคม 2564) นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย   นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัยและพัฒนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 : Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapter @ Nakhon Ratchasima

นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัยและพัฒนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมเทศกาล ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่2565 : Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapter @Nakhon Ratchasima โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยตามมาตรฐาน SHA ให้กับนักท่องเที่ยว นำเสนอภายใต้แนวคิด “Smiley Thailand” มนต์เสน่ห์แห่งแดนอีสานเพื่อสร้างรอยยิ้มและสีสันความสนุกในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

สำหรับกิจกรรมภายในงานแบ่งออกเป็น 5 ไฮไลท์ ประกอบด้วย

ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 พบกับ

– Amazing Light of ESAN : กิจกรรมประดับตกแต่งไฟสวยงาม Landmark / จุดถ่ายภาพ กับมหัศจรรย์สวนไฟเรืองแสงใจกลางเมืองโคราช การแสดงดนตรี Street Show เปิดหมวกสะท้อนสีสันภาคอีสาน พร้อมส่งคำทักทายไปยังนักท่องเที่ยวทั่วโลก

– Taste of ESAN : พบกับร้านเด็ด เมนูดังประจำถิ่นที่มีเอกลักษณ์ จำนวนกว่า 50 ร้านค้า

ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 – 31 ธันวาคม 2564 พบกับ

– ESAN Parade : พบกับกิจกรรมขบวนพาเหรดสีสันแดนอีสาน ปลุกบรรยากาศสนุกสนานรื่นเริงต้อนรับปีใหม่ ได้แก่ การแสดงขบวนแห่หย่าวโคราช , การแสดงขบวนแห่ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น

– Show & Performance : พบกับการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสานและการแสดงดนตรีจากศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การแสดงพื้นบ้านท้องถิ่นอีสาน แสดงอัตลักษณ์อีสานตอนเหนือ ตอนกลาง ตอนใต้ ร่วมกับศิลปินท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงจากภาคอีสาน อาทิ การแสดงชุดกระทบสาก ผสานการขับร้องเพลงกันตรึม โดย ศิลปิน น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์, การแสดงจากศิลปินแห่งชาติเพลงพื้นบ้านอีสาน อาจารย์กำปั่น บ้านแท่น, ศิริวรรณ จันทร์สว่าง ศิลปิน The Golden Song , คณะอาจารย์บุญสม สังข์สุข นายกสมาคมเพลงโคราช , การแสดงมโหรีจากวงศิลป์สาธร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจัดเต็มไปกับการแสดงจากศิลปินป๊อป ร็อค แร็พ ลูกทุ่งที่มีชื่อเสียง พร้อมโชว์พิเศษกลิ่นไออีสานสำหรับเวทีครั้งนี้โดยเฉพาะ ได้แก่ วงโปเตโต้, วง Twopee Southside, ไอซ์ ศรัณยู, ติ๊กชีโร่, วง BSO (Bangkok Symphony Orchestra), วงมหาหิงค์, ตั๊กแตน ชลดา, แซ็ค ชุมแพ, บอย ศิริชัย หมอลำใจเกินร้อย และอีกมากมาย

– Fireworks Celebration : ชมการแสดงพลุในช่วงนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 ส่งรอยยิ้มและความสนุกแห่งเสน่ห์แดนอีสานกับการแสดงพลุชุดพิเศษ “Smiley Thailand” ที่จะเต้นรำไปกับเพลง “พรปีใหม่” ในธีมอีสานซิ่ง (ESAN SING) นำโดย ตั๊กแตน ชลดา นักร้องลูกทุ่งชื่อดังสายเลือดคนโคราช พร้อมส่งคำอวยพรต้อนรับปีใหม่ 2565 กึกก้องดังไปยังนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยการแสดงพลุ แบ่งออกเป็น 7 ชุด ประกอบด้วย

1.Big Hope : ความหวังอันยิ่งใหญ่ สว่างไสว โชติช่วง

2.Power of Smile : รอยยิ้มแห่งมิตรภาพ

3.Be good life : สุขภาพดีทั้งกายใจ ไร้โรคา

4.Believe : ความเชื่อมั่น ความศรัทธา และมุ่งมั่น

5.Beautiful ESAN : ความงดงามของอีสาน

6.Blooming Wealth : ความอุดมสมบูรณ์ ความรุ่งเรือง เฟื่องฟู

7.Welcome to land of colorful : ยินดีต้อนรับสู่ดินแดนแห่งสีสัน

ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็น 1 ใน 5 จังหวัดในการเป็นพื้นที่นำร่องเปิดพื้นที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดระยอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดภูเก็ต ด้วยการจัดกิจกรรมเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เพื่อประกาศว่าอีสานพร้อมแล้วที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว จากทั่วทุกมุมโลก และตอบรับนโยบายในการเปิดประเทศในการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยทางจังหวัดพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา ได้มีการเตรียมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ (Covid Free Setting) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และ ศบค. กำหนดอย่างเคร่งครัด

โดยได้มีการจัดเตรียมด้านความปลอดภัย ตามมาตรการป้องกัน ด้วยการลงทะเบียนเข้างานล่วงหน้าผ่าน Line Official Account : @Countdownkorat2022 เพื่อลดความแออัดบริเวณทางเข้างานและจํากัดจำนวนผู้ร่วมงาน ทั้งนี้สามารถเริ่มลงทะเบียนเข้างานได้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ ผู้จัดงานและผู้มาร่วมงานทุกท่านจะต้องแสดงหนังสือรับรองการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มผ่านหมอพร้อม ณ จุดคัดกรองก่อนเข้างาน สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถไปตรวจ ATK และขอใบรับรองได้ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านท่าน อย่างไรก็ดี บริเวณที่จัดงานทางผู้จัดงานได้เตรียมจุดตรวจ ATK โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ค่าใช้จ่ายประมาณ 90 บาท สำหรับค่าชุดตรวจและใบรับรอง โดยตลอดการจัดงานคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 13,000 คน มีเงินหมุนเวียนกว่า 21.56 ล้านบาท 

พลาดไม่ได้!!! งานเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 : Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapter @ Nakhon Ratchasima ในวันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564″

แถลงข่าวงานเที่ยวพิมายประจำปี 2564 การแสดงแสงสีเสียงพิมายปุระ

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564งานแถลงข่าวการจัดงาน *”เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ชั้น G บริเวณหอไอเฟลโดยนายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธีนายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมานายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ)รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นางสาวกรรณิการ์ พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีตำบลพิมายเริ่มงานแถลงข่าวงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปีงบประมาณ 2565และแขกผู้มีเกียรติ เดินทางมาถึงบริเวณงาน มี การแสดงชุด “พิมายปุระ” ต่อจากนั้น ชมการแสดงชุด “ศรีวิเรนทร์”

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศพื้นที่นำร่อง ทางการท่องเที่ยว จำนวน 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอสีคิ้ว และอำเภอพิมาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว สามารถมีกิจกรรม และการใช้ชีวิตแบบ New Normal ในการจัดงาน ดังนี้ เปิดโอกาสที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะสามารถ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และคาดการณ์ว่า จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นอย่างยิ่ง โดยงานดังกล่าว มีกำหนดถึง ๕ วัน และอาจต่อยอดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ให้อยู่ถึงเทศกาลปีใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมาอยู่ระหว่างการจัดงาน Thailand Biennale Korat และอำเภอพิมาย ก็เป็นเป้าหมายที่จะกระจาย งานศิลปะให้นักท่องเที่ยวได้รับชม ความงดงามทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมอันล้ำเลิศ และวิถีชีวิตตามแบบ New Normal ต่อไป

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ขอขอบพระคุณท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี การแถลงข่าวเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 โดยกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปราสาทหินพิมายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดีทั้ง ชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ และด้วยตระหนักถึงความสำคัญ การสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเดินทางมา ท่องเที่ยวปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน

นายสทิศ สิทธิมณีวรรณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๖๔ มีวัตถุประสงค์หลักใน การจัดงานดังนี้

1. เพื่อขยายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว

3. กระตุ้นเศรษฐกิจพ่อการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น

4. เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวภายใต้มาตรการป้องกันการแพ้ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)

5. ส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีด้านการท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักท่องเที่ยวภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal)

โดยสำหรับการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมายประจำปีนี้ มีกิจกรรมหลักประกอบด้วย การแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม พิมายปุระ The Musical วิมายะนาฏการ “ยอยศชัยวรมัน น้อมอภิวันท์สดุดี ศรีวิเรนทราศรม” จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 – 26 ธันวาคม 2564 บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ณ จังหวัดนครราชสีมา และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ ตลาดย้อนยุค แสดงวีถีชีวิตของคน ในท้องถิ่น , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมี่โคราช, ส้มตำ , ขนมไทย, การแสดงและจำหน่าย สินค้า OTOP และการออกร้านต่างๆ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาเที่ยวชม งานเทศกาลเที่ยวพิมาย ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ให้การสนับสนุน ในส่วนของการจัดตลาดย้อนยุคแสดงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน , จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผัดหมีโคราช ส้มตำ ขนมไทย เป็นต้น ทั้งนี้ขอเชิญพี่น้อง ชาวจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าร่วมในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

นายเศรษฐี แพรกนัทที ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอพิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานกับทางหน่วยงานต่างๆ ทางเราได้จัดเตรียมความพร้อมในเรื่อง สถานที่สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทั้งเรื่องของการอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทาง ด้านที่พัก และด้านความปลอดภัยภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวชมงาน ปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก พี่น้องชาวพิมายและหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเที่ยว ชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ ชมโบราณสถาน มรดกอันล้ำค่าของโลก และศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และสืบสานภูมิ ปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน กระผมฐานะที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่และเป็นชาวพิมายขอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวพิมายในครั้งนี้ขอขอบพระคุณเป็นอย่างมาก

นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ดูแล สถานที่ในการแสดง แสง สี เสียง ทางเราได้เตรียมการซ่อมแซมแซมในส่วนต่างๆของตัวปราสาท หิน ทางเดินต่างๆ ให้มีความเรียบร้อย สวยงาม อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับผู้จัดงาน และองค์ประกอบภายในปราสาท ผู้ร่วมเข้าชมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2564 ในครั้งนี้ให้มีความสุขใจในการเที่ยวชม

#เทศกาลเที่ยวพิมายปี2564

ยกมาตราฐานวิชาชีพสร้างโอกาสเยาวชน ยุคโควิด19

การปฐมนิเทศเปิดโอกาสทางการศึกษา ยกมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น

ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา

นาย อำนาจ บุตรโต ผอ.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตรสามัคคี)

และผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ กล่าวแนะนำขอขอบพระคุณ  นาย สุดชาย บุตรแสนลี ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดนคครราชสีมาให้เกียรติมาเป็นประธาน ร่วมกับ นายรัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 3, ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์และ คณะกรรมการภาคการศึกษาร่วมพิธี ในการปฐมนิเทศ หลักสูตร “วิชาชีพระยะสั้น” ในวันนี้ การจัดปฐมนิเทศ

หลักสูตรไฟฟ้าเบื้องตัน และ หลักสูตรบัญชีครัวเรือน นี้ ได้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบ และเด็กด้อยโอกาส ให้กลับคืนสู่ระบบการศึกษา และสร้างภาคีเครือข่าย ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา ให้เป็นรูปธรรม โดยจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 75 ชั่วโมง แบ่งรูปแบบการเรียนการสอน ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ ออนไลน์ จำนวน 20 ชั่วโมง และรูปแบบออนไซต์ จำนวน 55 ชั่วโมง

จัดระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564 – 10 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 95 คน จากโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตสามัคคี)

การปฐมนิเทศครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนไฟฟ้าเบื่องต้น และบัญชี

ครัวเรือน ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับแนวทางในการเรียนและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ในโอกาส ต่อไป

อ.วังน้ำเขียว โคราช นักท่องเที่ยวแห่ชมกระทิงป่า และหาจุดกางเต้นท์พักผ่อนช่วงวันหยุด

อ.วังน้ำเขียว โคราช นักท่องเที่ยวแห่ชมกระทิงป่า และหาจุดกางเต้นท์พักผ่อนช่วงวันหยุด

จังหวัดนครราชสีมา : นักท่องเที่ยวทะลักจุดสกัดเขาสูงเขาแผงม้า บ้านคลองทราย รถติดยาวทางขึ้น เพื่อแห่ชมกระทิงป่า และกางเต็นท์สัมผัสลมหนาว ชมธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ที่ผ่านมาในช่วงวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างขับรถขึ้นมา ณ จุดสกัดเขาสูงเขาแผงม้า บ้านคลองทราย อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อชมกระทิป่า และหาแหล่งกางเต้นท์ เพื่อสัมผัสลมหนาว ชมธรรมชาติ

โดยเขาแผงม้า” เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนไม่น้อย ที่เดินทางมาเยี่ยมชมฝูงกระทิง สัตว์เจ้าถิ่นผู้ครอบครองอาณาเขตแห่งเขาแผงม้า ที่ออกมาหากินบริเวณลานเขาแผงม้า โดยมีแนวรั้วกั้นบริเวณเอาไว้ เพื่อไม่ให้กระทิงหลุดออกมาในเขตชุมชนได้  และมีจุดหน้าผาสูงชัน ที่สามารถมองกระทิงป่าได้อย่างชัดเจน

 นอกจากนั้นยังมีกล้องส่องทางไกลให้นักท่องเที่ยวส่องดูกระทิงด้วย สำหรับกิจกรรมยอดนิยมเมื่อมาเที่ยวเขาแผงม้า นั่นคือ การส่องฝูงกระทิง โดยจุดที่ได้รับความนิยม คือบริเวณจุดสกัดเขาสูง เขาแผงม้า ณ จุดนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เห็นฝูงกระทิงออกมาหากินหญ้าบริเวณทุ่งหญ้ากว้างของเขาแผงม้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันนี้มีกระทิงป่าอาศัยอยู่จำนวนมากกว่า 300 ตัว ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถมานอนกางเต็นท์ ซึมซับบรรยากาศความสวยงามของธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าหนาว #ขอบคุณภาพ:ชมรมส่งเสริมการดิอาเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว

PEA เดินหน้าวางระบบไฟฟ้าลงดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบประชาพิจารณ์ เพื่อเดินหน้าโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 17 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 น. ที่วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบประชาพิจารณ์ โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่เทศบาล นครนครราชสีมา เส้นถนนจอมพล ตั้งแต่บริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน ระยะทางประมาณ 800 เมตร งบประมาณ 45,618,000 บาท

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ตามมติคณะกรรมการ กฟภ. ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบให้ กระทรวงมหาดไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดทำโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการบนถนนจอมพล ช่วงบริเวณสี่แยกศาลหลักเมือง ถึง สี่แยกตัดประตูพลล้าน โดยคาดหวังให้ภูมิทัศน์ของเทศบาลนครนครราชสีมาของเรา มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ถึงกล่าวถึงผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบในเรื่องของ การจราจร (เนื่องจากแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าและบ่อพักสายจะอยู่บริเวณถนน จึงจำเป็นจะต้องปิดการจราจรถนน 1 ช่องทางเป็นบางช่วง) จะมีเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง ซึ่งระดับความดังของเสียงจะอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด ในด้านฝุ่นละออง (จะมีฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่กฎหมาย กำหนด) ส่วนร้านค้าแผงลอยบนทางเท้า (การก่อสร้างบางส่วนจะอยู่บริเวณทางเท้า มีความจำเป็นที่ต้องเปิดทางเท้า เมื่อแล้วเสร็จจะคืนสภาพผิวให้เหมือนเดิม)

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ประสานงานร่วมกับเทศบาลนครนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา กำชับผู้รับจ้างให้ใช้ความระมัดระวังในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชน หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และอาจรวมถึงให้ช่วยทำความสะอาดพื้นถนน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น

นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายในระยะเวลา 365 วัน หลังจากที่เริ่มโครงการ เมื่อสายไฟฟ้าลงสู่ใต้ดินแล้ว ระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะมีความมั่นคงด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกลมแรง ซึ่งอาจพัดกิ่งไม้ หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายและความอันตรายได้ อีกทั้ง รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ จึงสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสังคมเมือง และนับวันการใช้ไฟฟ้า ยิ่งมีบทบาทกับเรามากขึ้น และช่วยทำให้ ทัศนียภาพสวยงามด้วยประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ PEA จึงเร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตา ชาวต่างชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ในนาม PEA ขอขอบคุณ จังหวัดนครราชสีมา ขอบคุณเทศมนตรีนครนครราชสีมา ขอบคุณตำรวจภูธร และทุกภาคส่วน รวมถึงสื่อมวลชน ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาทุกท่านที่ให้การความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของ PEA และที่ขาดไปไม่ได้ ขอบคุณ ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมที่มีแผนนำสายสื่อสารลงสู่ใต้ดิน ให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาดำเนินการของ PEA”

“ถักทอวัฒนธรรมนำสมัยเพื่อผ้าไทยสู่สากล” งานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีม ซึ่งงานแสดงและจำหน่ายสินค้าครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

รวมถึงการสร้างและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์) ให้เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นนั้น 

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญกับประเทศไทย ทั้งด้านการส่งออกและการจ้างแรงงานซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง

สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเล็งเห็นว่าปัจจุบันผ้าทอของไทยได้รับความนิยมในการนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรวมถึงการผลิตเคหะสิ่งทอและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

ตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งฝีมือความประณีตของคนไทยผนวกกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย

จึงเป็นเสน่ห์ของผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายกระทรวงอุตสาหกรรมจึงพยายามพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ให้ผ้าทอไทยมีรูปแบบที่ทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายโอกาส

และมีเสน่ห์ของความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ความเป็นผ้าทอของไทยได้อย่างงดงาม

สำหรับงานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 12 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ภายในงานพบกับบูธแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นดีไซน์ทันสมัยของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไทยสุดตระการตา โดยมิสแกรนด์นครราชสีมา

2020พร้อมนางแบบและนายแบบมืออาชีพ การแสดงศิลปะวัฒนธรรม

มทร.อีสานยกระดับอาชีพภาคเกษตรกรรม สร้างอาชีพวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชาชน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็ง แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยมี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ ,ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน ร่วมพิธีเปิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร อามัสสา ประธานโครงการฯ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทุกภาคของประเทศ ประกอบกับที่ผ่านมาภาคการเกษตรถูกควบคุมการผลิต และระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยเหตุนี้เกษตรกรรมและอาหารในอนาคตควรจะเป็นการผลิตเพื่อเป้าหมาย “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่จะเป็นทางออกและทางรอดของเกษตรกรไทย โดยจะต้องมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการรวบรวมกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรของชุมชน พร้อมทั้งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) (อว.) นำเสนอโครงการอบรมฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทางเศรษฐกิจฐานรากประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์คือ เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่โดยสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ อว. โดย มทร.อีสาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 407,229,585 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรมดังกล่าว

สำหรับโครงการอบรม และส่งเสริมการพัฒนา ยกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมในครั้งนี้ ครอบคลุมเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ,ด้านประมง ,สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ,พืชและเห็ดเศรษฐกิจ ,หมอดิน New Normal และพืชสมุนไพร เพื่อรองรับแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เป็นแนวทางในการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤตของโรคโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันให้เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน โดยคาดว่าสามารถจะสร้างรายได้รวม 514,800,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ย 200,000 บาท /ปี/ครัวเรือน หรือต่อเครือข่าย

ผศ.ดร.นิภาพรฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หลังจากจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว โครงการจะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้กับเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 21 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 5 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด รวม 2,574 กลุ่ม และหลังจากนั้นประมาณอีก 3 เดือน คณะทำงานโครงการฯ จะลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อต่อยอดให้เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป