Appropriate Technology Matching Day 2024

กระทรวง อว. หนุน บพท. ร่วมกับเครือข่าย มรภ.และ มทร.ทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เกือบ 2,300 ผลงาน จากภูมิปัญญานักวิจัยไทย ในงาน“Appropriate Technology Matching Day 2024” 4 ภูมิภาค ปูรากฐานสำคัญของการพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยี และขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวข้ามกับดักความยากจน ไปสู่ความมั่นคง-มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน 

       กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย น.ส. ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวง อว. มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ จำนวน 2,289 ผลงาน ไปช่วยชุมชน โดยให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ขับเคลื่อนงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในระยะถัดไปที่จะเปิดตัว Technology and Innovation Library ซึ่งจะเป็นระบบรวบรวมข้อมูลฝั่งชุมชนกับข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมใช้ รวมทั้งข้อมูลนวัตกรชุมชนให้เกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ

     ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-24 พฤษภาคมนี้ บพท.จะร่วมกับเครือข่าย มรภ. 38 แห่งและเครือข่าย มทร. 9 แห่งทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้ ใน 4 ภูมิภาค ภายใต้ชื่องาน “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน” หรือ “Appropriate Technology Matching Day 2024” ครอบคลุมทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพื่อให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้รับชมและนำไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

       โดยกำหนดจัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับครั้งที่ 2 โซนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นที่โรงแรมดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ มุ่งเน้นการถ่ายทอดและจับคู่นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยคัดสรรมาจัดแสดงและเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกร กลุ่มอาชีพ และผู้ประกอบในพื้นที่ ได้พบปะกับนักวิจัยของ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มรภ.ในภาคอีสาน ทั้ง 11 แห่ง ได้แก่  มรภ.มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร อุบลราชธานี  เลย อุดรธานี ศรีษะเกษ ร้อยเอ็ด และเครือข่าย มทร. 5 แห่ง ได้แก่        วิทยาเขต นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด

        ภายในงานมีการแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ 70 ผลงาน จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยมทร.และมรภ. ซึ่งมีการเชื่อมโยงการใช้งานจริงกับ 13 กลุ่มวิสาหกิจชุมชมและผู้ประกอบการในชุมชน ขณะที่มีผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ที่มีส่วนร่วมกันคิดค้นและประมวลองค์ความรู้ให้ตรงกับโจทย์ปัญหาและความต้องการที่เหมาะสมกับภูมิสังคมเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมจำนวนกว่า 400 คน  โดยประเภทของเทคโนโลยีพร้อมใช้ มีด้วยกันหลายประเภท อาทิ นวัตกรรมอาหารสัตว์ชุมชน จากเศษวัสดุการเกษตรที่เป็นฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ระบบการนึ่งข้าวฮางประสิทธิภาพสูงด้วยไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกคุณภาพสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหม เครื่องผลิตเส้นไหมพุ่งแบบครบวงจร ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบอัตโนมัติ ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ รวมไปถึงกระบวนการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ ซึ่งจะกระตุ้นและจุดประกายความคิดให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งเกิดการจับคู่นำเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 200 คู่นวัตกรรม ที่สามารถนำไปต่อยอด ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำมาใช้จัดการปัญหาสำคัญในชุมชน หรือการสร้างโอกาสใหม่ในชุมชนหรือพื้นที่

         “งานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน นอกเหนือจะมีขึ้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังจะมีขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 พฤษภาคม และในพื้นที่ภาคกลาง ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้” 

          ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า งานแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากภูมิปัญญาการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือ และมีกลไกกระบวนการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีแก่ประชาชน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในแต่ละพื้นที่ ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ

งานแถลงข่าวเศรษฐกิจอีสานสัญจร ณ จ.นครราชสีมา ปี 2567

      วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา จังหวัดนครราชสีมา ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) ได้จัดงานแถลงข่าวเศรษฐกิจภาคอีสาน ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 หัวข้อ เหลียวหลัง…แลหน้า…เศรษฐกิจการเงินอีสาน

โดยเป็นการแถลงข่าวสัญจรครั้งแรก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ภาคอีสาน ได้แก่

1) จับชีพจรเศรษฐกิจการเงินในพื้นที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

2) สร้างองค์ความรู้วิชาการเพื่อตอบโจทย์ในพื้นที่

3) ผลักดันนโยบาย ธปท. ให้กับพื้นที่

4) เป็นตัวกลางความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

5) สนับสนุนให้คนอีสานมีความรู้ทางด้านการเงินและเท่าทันภัยการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคอีสาน

 

1) ภาคเกษตรเป็นเส้นเลือดหลักของคนอีสาน มีแรงงานในภาคนี้ถึงร้อยละ 53 ของผู้มีงานทำในภาคอีสาน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานเพียงร้อยละ 7

2) ภาคเกษตรส่วนใหญ่พึ่งฟ้าพึ่งฝน และความสามารถในการทำเกษตรลดลง 

3) รายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายในภาคครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาหนี้ จากโครงสร้างดังกล่าวจึงทำให้เศรษฐกิจภาคอีสานต่างจากประเทศ 

 

         ปี 2566 เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวจากการบริโภคและท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจภาคอีสานหดตัว ตามการบริโภคจากรายได้ที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร หมดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง แม้การท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ช่วยสนับสนุนได้น้อยเพราะมีเพียงไม่เกินร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจภาคอีสาน โดยภาพรวมเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 ปี 2567 อ่อนแรงต่อเนื่องจากปี 2566 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐลดลง ค่าครองชีพในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานอ่อนแอลงจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรลดลง 

         นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเปราะบางต่อเนื่องจากปี 2566 และกำลังซื้อมีความเปราะบางมากขึ้น ในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถกระบะหดตัวสูง และยอดขายบ้านในระดับกลางและล่างลดลงต่อเนื่อง จากรายได้ที่ลดลง รวมทั้งความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี มีปัจจัยช่วยพยุงการบริโภคได้บ้างจากผลของราคาผลผลิตเกษตรที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566

         ระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคอีสานคาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากงบประมาณภาครัฐปี 2567 ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้หลังไตรมาส 2 ทำให้ภาคการค้า การก่อสร้างตามการลงทุนของรัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 รายได้เกษตรกระจายตัวมากขึ้นจากผลดีของภัยแล้งที่คลี่คลายในช่วงหลังของปี 2567 คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าว การผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดอาหารแปรรูปและเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มฟื้นตัวดี และการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามากระจายหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

ชมภาพ แสง สี เสียง ชุด ศรัทธาแห่งพิมาย /วันแรกนักท่องเที่ยวคึกคักในงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย


วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ที่ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นายสยาม ศิริมงคล 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา 

เป็นประธานเปิดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย

พร้อมชมการแสดงแสงสีเสียง ชุดศรัทธาแห่งพิมาย วันแรกโดยมีนางอรจิราศิริมงคลนายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา 

            หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ รองนายก อบจ. ส.อบจ. เขต พิมาย ร่วมในพิธีเปิดเทศกาลเที่ยวพิมาย 2566 

                   และร่วมรับชมการรำบวงสรวงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7   ก่อนเริ่มการแสดงแสง สี เสียง

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award”

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award”

พิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award” ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล หน่วยงาน/องค์กร เนื่องในโอกาสสมโภชเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี วันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ เทอร์มินอลฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิดงาน
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานในพิธี เดินทางมาถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รำโทนโคราช จำนวน 55 คน โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ องค์การบริหารส่วจังหวัดนครราชสีมา
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพลงโคราช โดยนายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ (กำปั่น บ้านแท่น) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ สาขาศิลปะการแสดงเพลงโคราช และสมาคมเพลงโคราช
นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานประธานในพิธีมอบรางวัล “เพชรสาธร Sathorn Award” จำนวน 155 รางวัล ดังนี้

  1. ประเภทบุคคล : ผู้นำทางศาสนา จำนวน 17 รางวัล ได้แก่
    1.1 ด้านสงเคราะห์ประชาชนและชุมชน
    * พระพรหมวชิรนายก
    * พระเทพสีมาภรณ์
    * พระราชวชิราลังการ
    * มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์
    * หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
    * พระครูวิสิฐสุตาลังการ
    * พระครูโสภณธรรมวิสุทธิ์
    * พระครูปลัดนายกวัฒน์ (เอกรินทร์ ธมฺมรํสี)
    * พระครูปลัดธนภัทร อุตตมปญฺโญ
    * พระอธิการเสกสรร คเวสโก
    * พระปลัดสิทธิพงษ์ โสภณจิตโต
    1.2 ด้านส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนา
    * พระอุดมธีรคุณ
    * พระครูวินัยธรวรวุฒิ วรวุฑฺฒิเมธี
    * พระครูสังฆพิพัฒน์
    1.3 ด้านส่งเสริมการศึกษาศาสนา
    * พระศรีวชิรานุวัตร
    1.4 ด้านการศึกษาสงเคราะห์
    * พระครูปลัดศรัทธาวัฒน์
    1.5 ด้านส่งเสริมกิจการศาสนา
    * พระครูพุทธธัชธำรง

2. ประเภทบุคคล : เด็กและเยาวชน จำนวน 18 รางวัล
2.1 ด้านการศึกษา
* นางสาวนพลักษณ์ ประเสริฐศรี
* เด็กหญิงสิมิลัน จิระเจริญสุวรรณ
2.2 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* นายจตุรวิชญ์ ปาโผ
* เด็กหญิงศุภนิดา เผ่าเสถียรพันธ์
2.3 ด้านจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์
* นายสุกฤษฎิ์ ชูโคกกรวด
* นางสาวอริสรา แต่งกระโทก
2.4 ด้านดนตรี
* นางสาวกานต์หทัยชนก ขอผลกลาง
* เด็กหญิงริรชา พรเดชาพิพัฒ
* เด็กหญิงหทัยทิพย์ วรสาร
2.5 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* เด็กหญิงตะวันฉาย จิระเจริญสุวรรณ
2.6 ด้านวรรณกรรม/วรรณศิลป์
* นายอรรถชัย โชติกลาง
2.7 ด้านศิลปะ
* นางสาวจิดาภา ทองมาก
* นางสาวณัฏฐณิชา เจริญพจน์
* นายธีร์จุฑา ฉอสันเทียะ
* นางสาวสิริวิมล อินทรหะ
2.8 ด้านศิลปะการแสดง
* นายจิรวัฒน์ เกตุจังหรีด
* เด็กหญิงศุภรดา เผ่าเสถียรพันธ์
* เด็กหญิงอันดามัน จิระเจริญสุวรรณ

3. ประเภทบุคคล : ประชาชนทั่วไป จำนวน 75 รางวัล
3.1 ด้านกฎหมายและยุติธรรม
* พลตำรวจโท สมประสงค์ เย็นท้วม
3.2 ด้านกีฬาและนันทนาการ
* จ่าสิบเอก สุริยา ปราสาทหินพิมาย
* จ่าอากาศเอก เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
* พันโท สมจิตร จงจอหอ
* พันโทหญิง อุดมพร พลศักดิ์
3.3 ด้านการศึกษา
* นางจันทร์จิรา ฉอสันเทียะ
* นายฉัตรตรา แบบจันทึก
* นายชูชีพ แรงใหม่
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต.ศิริวัฒนา
* นายประยงค์ ประทุมวัน
* นางประไพศรี สุภา
* นางปราณี วงษ์ชวลิตกุล
* นายรังสีสวุฒิ สุวรรณโรจน
* นายวิลาศ ดวงเงิน
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ลิ้มไขแสง
* นายสุพล จอกทอง
* รองศาสตราจารย์อนันต์ ทองระอา
3.4 ด้านการท่องเที่ยว
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฏฐินี ทองดี
* นายไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ
* นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์
3.5 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
* ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก
* นายแพทย์ชัชวาล ลีลาเจริญพร
3.6 ด้านการเมืองการปกครอง
* นางยลดา หวังศุภกิจโกศล
* นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์
* นายวิเชียร จันทรโณทัย
* นายศิวะเสก สินโทรัมย์
3.7 ด้านความมั่นคง
* พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์
* พลโท สวราชย์ แสงผล
3.8 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* นายโกศล สมจินดา
3.9 ด้านจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์
* นายทองอินทร์ หาญณรงค์
* นางปทุม พรรพิสุทธิ์
* นางสาวปาณิสรา จันทรัตน์
* นายศุภรัตน์ ภู่เจริญ
* นางเอมอร ศรีกงพาน
* ร้อยโท ภูวนารถ คะเรรัมย์
* นายอิทธิพล คัมภิรานนท์
3.10 ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเทือง จินตสกุล
3.11 ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ชัย จัตุชัย
* นายเมตต์ เมตต์การุณจิต
3.12 ด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
* นายกำภู ภูริภูวดล
*นายบัณฑิต ตั้งประเสริฐ
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร ก่อกิจกุศล
3.13 ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
* นายจันทร์ที ประทุมภา
* นายเบี้ยน สิงห์ทะเล
* นายรพี ทิมอุดม
* นางหนูจีน ศรีนมมัง
* นายอรุณ ขันโคกสูง
3.14 ด้านศิลปะ
* นายกิตติชัย ตรีรัตน์วิชา
* นายเฉลิมเกียรติ ชวประพันธ์
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยารัฐ จุลสุคนธ์
* นายทวี รัชนีกร
* นายนิมิตร พิพิธกุล
* นายบรรเจิด เหล็กคง
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเกิด ศรีสุขา
* นางมารศรี มิ่งศิริรัตน์
* นายวีระยุทธ เพชรประไพ
* นายศราวุธ ดวงจำปา
* นายสันติ พิเชฐชัยกุล
* นายสุริชัย ศิริบูรณ์
* ศาสตราจารย์สามารถ จับโจร
3.15 ด้านศิลปะการแสดง
* นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์
* นายบุญสม สังข์สุข
3.16 ด้านศิลปวัฒนธรรม
* นายทูลทองใจ ซึ่งรัมย์
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง
3.17 ด้านศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดง นางงาม
* นางทิม สอนนา
* นายธงชัย ประสงค์สันติ
* นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
* นายมนัสวิน นันทเสน
* นางสาววรัทยา นิลคูหา
* นางสาวแอนโทเนีย โพริ้ว
3.18 ด้านสถาปัตยกรรม ผังเมือง
* รองศาสตราจารย์นิคม บุญญานุสิทธิ์
3.19 ด้านสงเคราะห์ประชาชน
* รองศาสตราจารย์นิภาพรรณ ศรีพงษ์
3.20 ด้านส่งเสริมศาสนา
* นายชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล
* นางสาวปพิชญา ณ นครพนม
* พลเอก ไพบูลย์ กาญจนพิบูลย์
4. ประเภทหน่วยงาน/องค์กร จำนวน ๔๕ รางวัล
4.1 ด้านกีฬาและนันทนาการ
* สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา
4.2 ด้านการศึกษา
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
* มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
* โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์
* โรงเรียนบุญวัฒนา
* โรงเรียนบ้านต่างตา
* โรงเรียนบ้านเขว้า
* โรงเรียนบ้านมะค่า
* โรงเรียนบ้านหนองบัวศาลา
* โรงเรียนปากช่อง
* โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
* โรงเรียนสุรนารีวิทยา
* โรงเรียนเสิงสาง
* โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา
* วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
* ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา
* องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
4.3 ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
* เทศบาลเมืองเมืองปัก
4.4 ด้านการบริหารจัดการองค์กรและการจัดบริการสาธารณะ
* เทศบาลตำบลเสิงสาง
4.5 ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
* เทศบาลตำบลวังหิน
4.6 ด้านการป้องกันปราบปราม
* ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
4.7 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
* เทศบาลนครนครราชสีมา
4.8 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
* สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
4.9 ด้านการเมืองการปกครอง
* ที่ทำการปกครองอำเภอลำทะเมนชัย
4.10 ด้านความมั่นคง
* กองทัพภาคที่ ๒
4.11 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
* ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ โคราช
4.12 ด้านศาสนา และวัฒนธรรม
* ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
* พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา
* วัดหนองรังกา
4.13 ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
* วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา
* สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
* สมาคมเพลงโคราช
4.14 ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว
* สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา
4.15 ด้านสังคมสงเคราะห์สาธารณประโยชน์
* มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาจังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา
* มูลนิธิฮุก ๓๑ นครราชสีมา
* โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
* โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
* ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช
* สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา
* หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา
* สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดนครราชสีมา
* องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวให้โอวาท

ถ่ายภาพร่วมกัน, ชมนิทรรศการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล หน่วยงาน/องค์กร และนิทรรศการน้อมรำลึก, ชมการสาธิต “๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” รสชาติที่หายไป The Lost Taste เมี่ยงคำ (โคราช) และ ชมกิจกรรมตลาดบกส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี

—–

ประวัติเมืองนครราชสีมา

โคราชเปิดตัวเศรษฐกิจเวลเนสภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โคราชเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวโคราช ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (Korat Wellness Corridor) ทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 โรงแรมเดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมาพลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี มาเป็นประธานเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา โดยมีประธานกฎบัตรสุขภาพ, เลขานุการกฎบัตรไทยและนายกสมาคมการผังเมืองไทย ตลอดจน ภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา อาทิ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดฯ, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฯ, ททท.สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจน ส่วนราชการ, ภาคการศึกษา, 10 องค์กรภาคเอกชน เข้าร่วมในงาน

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า Wellness หรือที่เรียกทั่วไปว่า Anti-Aging เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแขนงหนึ่งของการแพทย์คู่กับการรักษาพยาบาล ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเจ็บป่วยที่ต้นเหตุ ซึ่งในปัจจุบัน การแพทย์มีวิวัฒนาการเจริญก้าวหน้าขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเริ่มหันมาดูแลรักษาสุขภาพร่างกายในขณะที่ยังไม่เจ็บป่วยมากขึ้นด้วย มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพมาใช้มากขึ้น และเทรนด์ในอนาคต จะมีเรื่อง Wellness รวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นสังคมที่ประชาชนมีสุขภาพดี ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีความพร้อมทั้งด้านภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ ด้านอาหาร และภาคส่วนต่าง ๆ ก็มีศักยภาพและมีความพร้อมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (Korat Wellness Corridor) ทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งด้าน Holistic Wellness, ด้าน Functional and personalized Healthcare ,ด้าน Real estate and Workplace Wellness, ด้าน Aesthetic and Anti-Aging และด้าน Digital Wellness and Innovation จึงได้จัดงานเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาขึ้น

ด้าน ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ. นครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมา ได้ประสานกับหลายๆ องค์กรจากทุกภาคส่วน ร่วมกันทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ค้นหาเอกลักษณ์-อัตลักษณ์ของแต่ละอำเภอ ยกขึ้นมาเป็นจุดเด่น พัฒนาให้เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม โดยมี สสปน.สำนักงาน ส่งเสริม การ จัด ประชุม และ นิทรรศการ (องค์การ มหาชน) เข้ามาดูแลจัดประกวดเพื่อยกระดับสินค้า และมี ททท.เข้ามาช่วยส่งเสริมด้านการตลาด นำเอเจนซี่เข้ามา เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ ส่วนเรื่องการดูแลสุขภาพ ก็เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในช่วงโควิดระบาด ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีความพร้อมที่จะเปิดตัวเป็น “เมืองสุขภาพ” และทุกภาคส่วนในจังหวัด ก็พร้อมเข้ามามีส่วนร่วมเดินหน้ากันอย่างเต็มที่

#อบจ.โคราชเดินหน้าพัฒนาระบบการศึกษาจัดงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น หวังเป็นเวทีแสดงออกถึงขีดความสามารถทักษะทางวิชาการนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด

วันนี้ (22 มิถุนายน) ที่โคราชฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดโครงการงานมหกรรมการจัดการศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2565 เพื่อเป็นการคัดเลือกตัวแทนครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬาและนันทนาการของครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ภายในงานได้มีการการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จำนวน 76 กิจกรรม แยกเป็นเป็นกิจกรรมที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด 56 กิจกรรม และกิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ กำหนด 20 กิจกรรม โดยมี คณาจารย์ นักเรียน จากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 58 แห่ง ร่วมกิจกรรม นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการรวมพลังจากทุกโรงเรียนในสังกัด อบจ.นครราชสีมา ทั้ง 58 แห่ง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของระบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นที่ดี มีมาตรฐานจนสามารถยกระดับการศึกษาที่พัฒนาความรู้ ความสามารถของนักเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม พร้อมส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้าน เพื่อให้นักเรียนได้เติบโตขึ้นมีอนาคตที่ดี รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนในสังกัดเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้น

“สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ศึกษาแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงท่องเที่ยวภูมิภาค และดูงานชุมชนคุ้ม บางกะเจ้า”

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 10.30 นคณะศึกษาดูงานนำโดยดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์นายกสภา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาและคณะกรรมการร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เดินทางศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ โดยนายวัชระ เติมวรรธนภัทร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง พร้อมด้วยคุณชัย อรุณานนท์ชัย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ และคณะผู้บริหารอพท. ให้การต้อนรับเตรียมคณะวิทยากรให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน อย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า และการบริหารการจัดการการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม กรีน เขื่อนลัดโพธิ์ นอกจากนี้คณะดูงานร่วมกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญพื้นที่บางกะเจ้า

การมีส่วนร่วมรัฐฯ ร่วมชุมชนได้รับการสนับสนุนการให้ความรู้จากกิจกรรมสำคัญของชุมชนคุ้มบางกระเจ้าโดย นายสำเนาว์ รัศมิทิต นายกอบต.บางน้ำผึ้ง ร่วมกับผู้นำชุมชนกำนัน,ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านในชุมชนในพื้นที่ แนะนำให้การต้อนรับและประสานงานนำกิจกรรมเด่นจากเครือข่ายคุ้มบางกระเจ้า จัดกิจกรรมสร้างฐานความรู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น 4 ประเภทให้คณะผู้มาศึกษาดูงาน จากจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมอาทิ การทำเสื้อมัดย้อม, วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร ,การทำขนมห่อใบจาก และน้ำสมุนไพร จากผลผลิตในท้องที่ คณะผู้ศึกษาดูงาน ครั้งนี้ได้รับรู้และได้ข้อมูลหลายอย่าง พร้อมเยี่ยมชมตลาดบางน้ำผึ้ง ตลาดชุมชนที่มีขนาดใหญ่สร้างเศรษฐกิจแก่ชาวบ้าน เป็นชุมชนตัวอย่างระดับประเทศ ท้ายสุดของรายการคณะผู้ศึกษาได้ชมสวนสาธารณะ ศรีนครเขื่อนขันธ์ สวนพฤกษชาติขนาดใหญ่กลางกรุงปอดของชุมชนเมืองติดกรุงเทพฯ

จากการศึกษาดูงานดร. วัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า การเดินทาง จากการแลกเปลี่ยน การเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการสืบสานแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดนครราชสีมาโดยจะทำโครงการร่วมมือบ้านพี่เมืองน้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในพื้นที่คุ้มบางกระเจ้าและการสนับสนุนจากอพทรวมถึงทททที่ได้สร้างโอกาสให้กับคณะผู้ศึกษาดูงานได้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดการเชื่อมโยงแนวทางความรู้และความคิดเพื่อนำมา สู่ความร่วมมือกัน ใน 2 พื้นที่บ้านพี่เมืองน้อง ขยายตลาดการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน ร่วมกันในโอกาสต่อไป

.

.

พิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การจัดกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 (Kick off ก้าวท้าใจ Season 4)โดย นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวเปิดพร้อมด้วยแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน และผู้บริหารจากองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพทุกท่าน หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาทุกคน

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป” ในวันนี้ กระผมขอขอบคุณคณะผู้จัดกิจกรรม ทีมวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้เกิดกิจกรรมดีๆเช่นนี้  และ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารจากองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมการลงนาม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ได้แก่

– ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

– และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 

จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลงของคนไทย โดยกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการก้าวท้าใจ โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของก้าวท้าใจคือ ส่งผลออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย การส่งผลการออกกำลังกายที่หลากหลาย การออกกำลังกายทุกครั้งจะเปลี่ยนเป็นแคลอรี่ เพื่อสะสมในรูปของแต้มสุขภาพเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก ก้าวท้าใจ Season 4 และหวังไว้อย่างยิ่งว่า หน่วยงานของเราจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและเครือข่าย สู่การมี สุขภาวะที่ดีต่อไป

ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าวันนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “พิชิต 100 วัน 100 แต้มสุขภาพ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการสะสมแต้มสุขภาพแลกของรางวัล จากการออกกำลังกาย และสร้างความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ก้าวท้าใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม2565 ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามโครงการ “ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”, การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชั่น H4U รวมถึงการออกกำลังกายในแบบวิถีถัดไป 

 พิธีเปิดตัวกิจกรรม ก้าวท้าใจ Season 4 จังหวัดนครราชสีมาในวันนี้     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานเครือข่าย ภายใต้แนวทาง “การสร้างเสริมสุขภาพ ในองค์กร” โดยมีเครือข่ายที่ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ดังนี้

 1.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6       

2.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน                                                 

  3.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                               

4.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล                                                    

5.โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์

‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’

เดอะมอลล์โคราชขอแสดงความยินดีกับน้องพราว “มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022”

กองประกวดมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ร่วมกับพันธมิตร ผู้สนับสนุน และเดอะมอลล์โคราช จัดการประกวด ‘Miss Grand Nakhonratchasima 2022’ ในวันที่ 19 ก.พ.2565 เวลา 15.00 น. ที่วาไรตี้ฮอลล์ ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช โดยได้รับเกียรติจาก คุณสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา และคุณชินาพัฒน์ พิมพ์ศรีแก้ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด และแขกผู้มีเกียรติ กองเชียร์เหล่าสาวงามร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ผู้เข้าร่วมงานทุกคนตรวจ atk ก่อนเข้างานและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยโรคระบาดโควิค-19 อย่างเคร่งครัด

สำหรับมงกุฎมิสแกรนด์นครราชสีมาปีนี้สร้างขึ้นด้วยอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา คือ รูปท้าวสุรนารี มียอดมงกุฏเป็นเพชรรูปอัคคีสีแดงเพลิง ช่อใบมะกอก อันหมายถึง ชัยชนะ รายล้อมด้วยประตู 4 ด้าน ได้แก่ ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์และประตูชุมพล ด้านหลังของมงกุฏทำเป็นรูปหน้ากากอนามัยเพชรสื่อถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

พร้อมเปิดตัวชุดประจำจังหวัดนครราชสีมา ‘ชุดนกกระเรียน’ เพื่ออนุรักษ์นกกระเรียนที่เคยมีอยู่มากในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน ชุดนกกระเรียนนี้ สาวงามมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 จะได้สวมใส่เพื่อประกวดบนเวทีใหญ่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์2022

โดยการประกวดเฟ้นหาสาวงามเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดรอบชิงชนะเลิศบนเวทีใหญ่ ‘Miss Grand Thailand 2022’ ในเดือน เมษายน 2565 นั้น ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ มิสแกรนด์นครราชสีมา2022 ในครั้งนี้มีผู้เข้ารอบการประกวดทั้งสิ้น 9 คน แบ่งเป็นรอบชุดราตรีและตอบคำถาม

ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัล Popular Voted และ Miss Social Media ได้แก่ หมายเลข 11 น.ส.กันต์ฤทัย บุญภูมิ (น้องอ๋อมแอ๋ม) อายุ 20 ปี จากนครราชสีมา

ผู้ที่ได้ครอบครองมงกุฎตำแหน่งมิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 และสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 และเป็นตัวแทนสาวงามจากจังหวัดนครราชสีมาไปประกวดต่อระดับประเทศ ได้แก่ หมายเลข 2 น.ส.ณัฐฐา ศิริชัยวงศ์สกุล (น้องพราว) อายุ 25 ปี จากจ.นครราชสีมา และยังได้รับรางวัล Best In Swimsuit และ Miss Beauty by The Mall Korat อีกด้วย

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 4 น.ส.อัญมณี ขัติยนนท์ (น้องแบม) อายุ 21 ปี จาก จ.สมุทรปราการ

ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 มิสแกรนด์นครราชสีมา 2022 ได้รับสายสะพายพร้อมเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท ได้แก่ หมายเลข 12 น.ส.จรภิญญา วงษ์พรมมา (น้องจอย) อายุ 24 ปี จาก จ.นครราชสีมา

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”