นิพนธ์ ชื่นตา” ประชุมคณะทำงานการเมืองภาคประชาชน จ.ขอนแก่น กำหนดทิศทางการทำงานดูแลปัญหาพี่น้องประชาชน

“นิพนธ์” ลุยหารือคณะทำงานเมืองขอนแก่น วางแนวทางช่วยแก้ปัญหาประชาชน
“นิพนธ์ ชื่นตา” ประชุมคณะทำงานการเมืองภาคประชาชน จ.ขอนแก่น กำหนดทิศทางการทำงานดูแลปัญหาพี่น้องประชาชน เผยปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องระบบสาธารณูปโภค ขณะที่ชาวบ้านเป็ดบุกร้องให้ช่วยเคลียร์ปัญหาตั้งเสาสัญญาณใกล้ชุมชน หวั่นกระทบสุขภาพ

เมื่อวันที่ 7 ส.ค.63 นายนิพนธ์ ชื่นตา ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายวัชรินทร์ ศรีสวย หัวหน้าสำนักงานและเลขาฯ นายนิพนธ์ ชื่นตา, นายบรรหาร บุญเขต ประธานที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านการเมืองภาคประชาชน ภาคเหนือตอนล่าง,นายเสรภณ การสมพรต ประธานที่ปรึกษาและคณะทำงานด้านการเมืองภาคประชาชน ภาคกลาง,.ร.ต.อ.ธนาเสฏฐ์ ธนเวชไพบูลย์ เลขานุการประจำนายนิพนธ์ โดยมี นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะทำงานการเมืองภาคประชาชน จังหวัดขอนแก่น ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่น


ในโอกาสเดียวกัน ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่พักอาศัยใกล้ค่ายสีหราชเดโชชัย กรมทหารราบที่ 8 พื้นที่ ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่นได้มายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกรณีได้รับความเดือดร้อน วิตกกังวลจากผลกระทบด้านสุขภาพจากการตั้งเสารับ-ส่งสัญญาณคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ค่ายใหญ่เจ้าหนึ่งที่มาตั้งใกล้กับชุมชน
ภายหลังรับหนังสือและซักถามประเด็นปัญหาจากตัวแทนชาวบ้านโดยสังเขปแล้ว นายนิพนธ์ รับปากจะดำเนินการพิจารณาหาทางช่วยเหลือ โดยจะให้คณะทำงานฯ จังหวัดขอนแก่น ดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด
หลังจากนั้นนายนิพนธ์พร้อมคณะได้เยี่ยมชมพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่นถึงปัญหาอุปสรรค์การทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งได้รับรายงานข้อมูลว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของระบบสาธารณูปโภค ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปาฯลฯ
นายนิพนธ์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงภารกิจหลักที่เดินทางเยือนจังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้เพื่อประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาและคณะทำงานการเมืองภาคประชาชน จังหวัดขอนแก่น ว่าจะกำหนดทิศทางแนวทางการทำงานอย่างไรที่จะดูแลพี่น้องประชาชนให้มีปัญหาการดำรงชีวิตน้อยที่สุด นอกเหนือจากที่ภาคราชการได้ดูแล โดยพวกตนถือเป็นทีมงานของกระทรวงมหาดไทยที่ทำงานในสถานะภาคประชาชน ซึ่งสามารถเข้าหาพี่น้องประชาชนได้สะดวก คล่องตัว รวดเร็วมากกว่า
“จากการลงพื้นที่ในต่างจังหวัด พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคประชาชนมีหลากหลาย ทั้งปัญหาที่ทำกิน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาเรื่องความยุติธรรม ปัญหาข้อพิพาทระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐหรือองค์กรธุรกิจเอกชน ต้องประสานงานแก้ปัญหากับทุกภาคส่วน” นายนิพนธ์กล่าว


ภายหลังเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนข้อมูลประเด็นปัญหาข้อร้องทุกข์ของประชาชนกับผู้แทนศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่นเสร็จแล้ว นายนิพนธ์ พร้อมคณะได้มอบมอบรถเข็น (วิลแชร์) จำนวน 5 คัน ให้แก่จังหวัดขอนแก่น โดยมี นางสุจินดา สระคูพันธ์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น ร่วมรับมอบ เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้ต่อไป

“วัดพรหมราช” ชุมชนคุณธรรมรางวัลระดับประเทศ เน้นความพอเพียงอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

          เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัดพรหมราช ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบ เพื่อนำการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะ รำโทนโคราช ที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ รวมถึงอาหารพื้นเมืองพื้นถิ่น อาทิ ข้าวโป่ง พล่าหมี่โคราช มีที่นี่ที่เดียวต้องมาลองชิม นอกจากนี้ในชุมชนของที่นี่มีความสำคัญ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ของวัดพรหมราชเก็บวัตถุโบราณอายุเป็นพันปี และชุมชนที่นี่ก็มีความสามัคคีอย่างมาก ในส่วนของการต่อยอดในอนาคต ทางสภาฯเราก็ได้จัดให้มีการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยน จัดงานมหกรรมชุมชนของดี และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เราจัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เราจะไปจัดกันที่จังหวัดยโสธรในปลายเดือนกันยายนนี้ และจากนี้เราก็จะช่วยกันทุกภาคส่วนที่จะต้องผลักดันกัน โดยจะนำนิสิตนักศึกษาจากทุกสภาบันในโคราช โดยจัดตั้งเป็นสภา เยาวชน เพื่อรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

ทางด้าน ผศ.รณรงค์ จันใด อาจารย์สาขาวิชานโยบายสังคมการพัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางวัดพรหมราชมีศิลปะวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์การสืบทอดต่อไป จากการศึกษาภายในชุมชนมีความเป็นโคราชแท้ มีคุณตาคุณยายที่ยังสืบสานวัฒนธรรมอยู่ โดยเฉพาะหมี่โคราช อาหารท้องถิ่นที่ยังคงมีการสืบทอด และที่สำคัญจริงๆคืออยากให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทและส่วนร่วมในเรื่องนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกับขับเคลื่อนอนุรักษ์โดยสภาเด็กและเยาวชนมาร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ทางทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะจัดทำวีดีโอและทำ VTR  ในการขับเคลื่อนการจัดการภายในชุมชนตัวอย่าง ไปเผยแพร่ให้กับทุกจังหวัดได้มาดูงานเป็นตัวอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

ขณะที่ พระครูโกศล ธรรมวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพรหมราชและเจ้าคณะตำบลตูม กล่าวว่า วัดแห่งนี้จากการสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์นั้นสร้างเมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อวัดพรหมราชนั้น เป็นชื่อของคนชื่อพรหมส่วนราชมาจาก หลังจากนั้นท่านก็ได้บรรพชาเป็นพระภิกษุและได้เทศน์ชื่อ ‘กัณฑ์มหาราช’ ในตอนหนึ่งของเวสสันดรชาดก หลังจากนั้นท่านก็สึกจากพระมาเป็นฆราวาส ผู้คนจึงได้นำชื่อของท่านมาเป็นชื่อวัด นอกจากนั้นในวัดยังมีพระพุทธรูปไม่ปรากฏชื่อ ปางลีลา อายุหลายร้อยปี ซึ่งเราก็ได้ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพรหมราช ประชาชนที่เข้าวัดมาทำบุญก็สามารถมาไหว้สักการะขอพระได้ นอกจากนี้ เป็นประจำทุกปีวัดเราจะจัดงานนมัสการพระพุทธบาทจำลองจัดมากว่า 96 ปีแล้ว จัดสมโภชยิ่งใหญ่ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถวายเป็นพุทธบูชา รักษาและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น สอดคล้องนโยบายชุมชนคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปีนี้ก็ได้รับรางวัลวัดต้นแบบชุมชนคุณธรรม ซึ่งทางวัดตระหนักว่าวัดคือศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีความสามัคคีในชุมชน

ทั้งนี้ ช่วงบ่าย นางฝน คงศักดิ์ตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลด่านเกวียน  ได้ให้การต้อนรับ  นายไชยนันท์  แสงทอง  วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาและคณะ สู่ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั่นดินเผา เทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ  และเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผามายาวนานหลายชั่วอายุคน  เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากที่นี่ มีความแข็งแกร่ง ผิวจะมีความวาว มัน มีสีน้ำตาลแดงงดงาม  และดินที่ใช้ปั้นเป็นดินที่มาจากแหล่งคุณภาพที่สุดของจังหวัดนครราชสีมาได้มาจากริมแม่น้ำมูล  ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นอาณาจักรเครื่องปั้นดินเผาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา 

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่โคราชเพื่อเปิดการเสวนาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการ

นายสัมฤทธิ์  พงษ์วิรัตน์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมกรองแก้ว โรงแรมแคนทารีโคราช

โดยในวันนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานกลางในการวางแผน ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน และประสานงานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันต่าง ๆ ในด้านการดำเนินงานวัฒนธรรมของชาติทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เพื่อที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้งให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ในลักษณะการกระจายอำนาจทางวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นตนเอง ในรูปแบบต่าง ๆ

ที่สามารถสร้างกระแสการรับรู้ทางด้านวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง

ในการนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินการจัดประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจาก

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และผู้แทนองค์กรภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม

ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และองค์กรชุมชน กิจกรรมประกอบ ด้วย

1. การบรรยายพิเศษนำเสนอนโยบายการดำเนินงานวัฒนธรรม/ที่มาและความสำคัญของสภาวัฒนธรรมต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมในพื้นที่

2. การนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

3. แนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่ประสบความสำเร็จและเข้มแข็งด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน

4. การระดมความคิดเห็นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน

ของสภาวัฒนธรรม และการนำนโยบายไปขับเคลื่อนในพื้นที่ รวมถึงปัจจัยที่นำไปสู่

ความสำเร็จของการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ และเพื่อระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อการดำเนินงานวัฒนธรรม

ฉลองงานบุญอายุวัฒนมงคล96 ปี พระศาสนโสภณ (หลวงปู่ใหญ่)

งานบุญฉลองอายุวัฒนมงคล พระศาสนโสภณ(หลวงปู่ใหญ่) ครบ8รอบ 96ปี


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2563 เวลา 17.00 น. นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคลครบ 8 รอบ 96 ปีพระเดชพระคุณ #พระศาสนโสภณ (โกศล สิรินธโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต)เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา

ครั้งนี้หลวงปู่กัญหา สุขกาโมและพระเถระผู้ใหญ่ร่วมพิธีพร้อมคณะศิษยานุศิษย์จำนวนมากร่วมแสดงมุฑิตาจิตแด่พระศาสนโสภณในวาระโอกาสนี้งานจัด2วันจัด29-30มิถุนายนนี้ประชาชนร่วมบุญได้ที่วัดสุทธจินดา ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา #พระศาสนโสภณ #หลวงปู่ใหญ่

ฝนตก- ซ่อมทาง -รถติดยาว 3 กิโลเมตร มิตรภาพ ขาออก โปรดระวัง!!!

โปรดระวัง !!!รถติดหนัก ถนนมิตรภาพเส้นขาออก เมืองโคราช ซ่อมทาง-ฝนตก -วันหยุด #มิตรภาพรถติด #จราจรติดขัดโคราช


วันที่ 20 มิถุนายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงาน การจราจรเส้นถนนมิตรภาพขาออก เมืองนครราชสีมา รถติดหนักช่วงปรับปรุงซ่อมแซมถนน ผู้ใช้เส้นทาง รถยนต์ โปรดระวัง การเคลื่อนตัวของรถยนต์ เกิดการติดขัด โดยมีรถติดยาวกว่า 3 กิโลเมตร จากเหตุการณ์ การจราจรติดขัด ผู้กำกับการ สภ.สูงเนินสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรลงพื้นที่ดูแลการจราจรเพื่อป้องกันการเกิดเหตุ

สืบเนื่องมาจากถนนมิตรภาพช่วงหลักกิโลเมตรที่ 117 ถึง 120 ถนนมิตรภาพช่วงบริเวณหน้าบริษัทซีเกท อำเภอสูงเนิน ขาออกตัวเมืองนครราชสีมา ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมถนนเลนทางด่วน และให้รถวิ่งได้แค่ 2 เลนคู่ขนานส่งผลให้รถติดยาวกว่า 3 กิโลเมตร ขอแจ้งเตือนผู้ใช้เส้นทาง โปรดระมัดระวัง เนื่องจากเส้นทาง จราจรมีเพียง 2 ช่องจราจร

และในช่วงที่ฝนตก จะทำให้ ถนนลื่น ต้องระมัดระวังการขับขี่ รถยนต์ เพราะช่วงบ่ายจนถึงเย็น จะมีผู้จำนวนมาก เดินทาง ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ใช้เส้นการจราจร เส้นมิตรภาพ ขาออก ในการเดินทางหลัก โดย พ.ต.อ.วทัญญู รุ่งรัศมี ผู้กำกับการสภ.สูงเนิน ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.ธนเดช ทิพย์ขุนทด รองสวป.สภ.สูงเนิน
ร้อยเวรจราจรนำกำลังพลและเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงร่วมลงพื้นที่เพื่อระบายการจราจรและลดการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเขตก่อสร้าง เพื่อเป็นการดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาในเขตอำเภอสูงเนิน

ภาพ/ข่าว นายธวัชชัย เครือบสูงเนิน (ป้องกัน1) ผู้รายงาน

ส่อเค้าวุ่นชาวบ้านไม่พอใจโรงงานน้ำตาล,สนามกอลฟ์สูบเลือด!!!ลำตะคอง

ลำตะคอง

เกือบวุ่น!! ประชาพิจารณ์ สูบน้ำลำตะคอง กลุ่มไม่เห็นด้วยยืนหนังสือคัดค้าน
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ที่ศาลาวัดบ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างโรงสูบน้ำ และสะพานรับท่อส่งน้ำ (คลองบุ่งยาง) บ้านใหม่สำโรง หมู่ที่ 3 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านใหม่สำโรง กว่า 200 คน เข้าร่วมรับฟัง


โดยเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ ในที่ประชุมไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านสอบถามถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสูบน้ำจากลำตะคอง อ้างแต่จะเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่บ้านใหม่สำโรงเข้าไปทำงานที่โรงงาน

บรรยากาศเป็นไปด้วยความตรึงเครียด มีการโห่ร้อง แซวกันไปมาระหว่าง กลุ่มที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย โดยผู้มีอำนาจของบริษัท โรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง มาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่บริเวณรอบที่ประชุม แต่ไม่ให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์แต่อย่างใด

ด้านกลุ่มเรารักษ์สีคิ้ว ผู้คัดค้านโครงการดังกล่าว ยื่นยันว่า กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ บ้านใหม่สำโรง กว่า 200 คน ลงชื่อไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวแล้วโดยกลุ่มเรารักษ์สีคิ้วเตรียมเข้าร้องศูนย์ดำรงค์ธรรมจังหวัดต่ออาทิตย์หน้า..

จิตอาสาทำดีด้วยหัวใจ…โคราชร่วมใจบูรณาการป้องกันภัย3โรคร้ายแรง

จังหวัดนครราชสีมาเร่งบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง

วันนี้(5 มิ.ย.63) ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรคไข้เลือดออก
และโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดนครราชสีมา ปี 2563 พร้อมเปิดกิจกรรมจิตอาสา“เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” และนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมากล่าว
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทั่วโลกและประเทศไทย ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19ระลอก2 จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยบูรณาการโรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าด้วยพบว่าเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย นิทรรศการโรคโควิด-19 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้า บริการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมว โดยความร่วมมือของจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาและเทศบาลนครนครราชสีมา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ


ภาคเอกชนและจิตอาสาพระราชทาน 904 “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน่วยงานรอบๆศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา, วัดสุทธจินดาวรวิหาร
และวัดบึงอารามหลวง ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เเลือดออก พร้อมโรคโควิด-19 และโรคพิษสุนัขบ้า โดยขอให้ประชาชนร่วมมือป้องกันทั้ง 3โรคและติดตามสถานการณ์จากจังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด


ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่าต่อจากนั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยนพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและนายสุรวุฒิ เชิดชัยนายกเทศบาลนครนครราชสีมาจึงได้ชมนิทรรศการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2519 โรคไข้เลือดออกและโรคพิษสุนัขบ้าและชมการให้บริการทำหมัน และฉีดวัดชีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมว ประธานในพิธีร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” แบ่งกลุ่มจิตอาสา สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3 จุดอีกด้วย
ทางด้าน นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่าเพื่อให้ชาวโคราชร่วมมือป้องกันการระบาดระลอก 2 ของวิกฤตโรคโควิด-19 อีกทั้งมีรายงานทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-3 มิถุนายน 2563พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 1,118 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 42.3 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.08 อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.14 พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วนพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.1 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียน คือกลุ่มอายุ 10-14 ปี 326 ราย รองลงมาคือ 5-9(265ราย ), 15-19(253ราย), 20-24(128ราย),0-4(96,ราย),25-29(86ราย),30-34(62ราย),35-39(45ราย),45-49(27ราย),40-45(22ราย), 70+,(19ราย), 50-54(18ราย), 55-59(17,ราย), 65-69(12 ราย) และ 60-64 (8 ราย)ตามลำดับ โดยขณะนี้(ณ 2 มิ.ย.63)จังหวัดนครราชสีมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศ รองจาก 1) ระยอง 2) ชัยภูมิ 3)ขอนแก่น 4)นครราชสีมา และ 5)แม่ฮ่องสอน อีกทั้งพบว่า ทั้ง 32 อำเภอที่พบอัตราป่วยสูงสุด 10 ลำดับแรก คือ 1.เฉลิมพระเกียรติ 2.โนนไทย 3.สูงเนิน 4.โชคชัย 5.บัวใหญ่ 6.ประทาย 7.ขามทะเลสอ 8.เมือง 9.พิมาย และ 10.โนนสุง ตามลำดับ ดังนั้นขอให้ทุกพื้นที่เร่งสร้างความร่วมมืออย่างเข้มข้นในการรณรงค์ให้ประชาชน ร่วมมือกับผู้นำชุมชน หมู่บ้าน องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่น และ อสม. เพื่อชาวโคราชรวมพลังตั้งการ์ดสู้ภัยโรคไข้เลือดออก ควบคู่ไปพร้อมๆกับโควิด-19 รณรงค์สื่อสารลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก รณรงค์ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ” และปฏิบัติตาม 5 ป. 2ข. ได้แก่ ป.ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักน้ำใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ , ป.เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำยุงลายที่จะกลายเป็นยุง , ป.ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ , ป.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และ ป.ปฏิบัติเป็นประจำทุกๆสัปดาห์จนเป็นนิสัย สำหรับ 2ข.ได้แก่ ข.ขัดไข่ยุงที่ขอบด้านในของภาชนะเก็บกักน้ำ และ ข.ขยะกำจัดให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย ทั้งที่บ้าน วัด โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ทำงาน ศาสนาสถาน อีกทั้งป้องกันยุงลายกัดในช่วงกลางวันโดยการนอนกางมุ้งหรือทายากันยุง รวมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการป้องกันควบคุมโรคเพื่อให้โคราชปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกป้องกันได้ แต่มีอันตรายรุนแรงถึงเสียชีวิต โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากมีไข้สูงลอยเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารหน้าแดง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิต ขณะที่โรคพิษสุนัขบ้า ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทำให้มีผู้เสียชีวิตทุกปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 2 มิถุนายน 2563 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่ยังพบโรคในสัตว์พาหะอย่างต่อเนื่องทุกปีโดยในปี 2563 ข้อมูลจาก website thairabies.com ของกรมปศุสัตว์ พบว่า มีตัวอย่างสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรคพิษสุนัขบ้า จากการเฝ้าระวังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตามผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเข้ารับวัคซีน 100 % ดังนั้นการบูรณาการร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และมีความตระหนักในเชิงป้องกัน โดยการเน้นย้ำว่าผู้ที่สัมผัสหรือถูกสุนัข/แมวกัด ข่วน ต้องเข้าทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและรับการ
รักษาอย่างถูกวิธีตามหลักสาธารณสุขหากไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา หากป่วย“ตายอย่างเดียว” จึงขอความร่วมมือประชาชนเจ้าของสุนัข/แมว ให้มีความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูโดยนำสัตว์เลี้ยงของตนมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับวัคซีนหรือทำหมัน และกำหนดมาตรการในการลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งส่งเสริมให้เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล/ปศุสัตว์/ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข/อาสาสมัครพัฒนาปศุสัตว์ประจำ หมู่บ้าน ดำเนินการสำรวจจำนวนสุนัขและแมวทุกพื้นที่และให้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเอง โดยยึดหลัก “คาถา 5 ย” 1) อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห โกรธ 2) อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆตกใจ 3) อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกัน ด้วยมือเปล่า 4) อย่าหยิบ ชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกิน 5) อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ

กลุ่มเพื่อนดาราจิตอาสาช่วยชาววังน้ำเขียว

กลุ่มเพื่อนดารา-นักแสดง จิตอาสาเพื่อสังคม# จิตอาสากลุ่มเพื่อนดารา-นักแสดง

ได้ร่วมส่งมอบถุงยังชีพให้พ่อแม่พี่น้อง
ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
​เป็นจำนวน 60ชุด​ กิจกรรมวันงาน
นัดร่วมตัวที่สนามหลวงเวลา07.00-08.30น ในวันที่30/05/63


1.ตั้งขบวนรถมอเตอร์ไชร์ที่จะร่วมเดินทางและรถยนต์พยาบาล-รถยนต์บันทุกสิ่งของและบันทุกคน
2.เดินทางถึงสถานีวิทยุ99.75fmวังน้ำเขียว
3.เตียมตั้งสิ่งขอบริจากที่สถานีวิทยุ99.75 fmวังน้ำเขียวชุดแรก


4.ของชุด2เดินทางต่อตำบลไทยสามัคคีแจกของ ณ บ้านอสม.ปู ที่ประสานขอถุงยังชีพในส่วนที่2
5.เดินทางกลับที่พักจังเกิลวิววังน้ำเขียวที่สนับสนุนที่พัก(บ้างท่านสามารถเดินทางกลับที่ติดธุระทางบ้าน)


6.เดินทางไปวัดบ้านไร่2ไหว้หลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ทองคำ
7.เดินทางสู่ผ่าเก็บตะวันเพื่อเก็บบรรยากาศ
8.เดินทางสู่ผ่ารักสลักได-ผาที่สวยที่สุดในอำเภอวังน้ำเขียวอธิฐานเรื่องความรัก
9.เดินทางกลับกรุงเทพ-เป็นอันจบทริปงานบุญครับสาธุๆ

พิธีพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งพระครูวินัยธร(ครูบากฤษณะ) อินทวัณโณ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563  เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวริหาร  ได้จัดให้มีพิธีมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง,เจ้าคณะอำเภอ,รองเจ้าคณะอำเภอในเขตปกครองหนตะวันออก โดยครั้งนี้ได้กำหนดพิธีแต่งตั้งพระครูวินัยธรสุรเดช  อินทวัณโณ (ครูบากฤษณะ) อายุ 66 ปี พรรษา 41 วิทยฐานะ  นักธรรมเอกวัดพระนารายณ์มหาราช ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

            และในเวลา 18.00 น. จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีต้อนรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง พระครูวินัยธรสุรเดช อินทวัณโณ และพระปลัดทะนงศักดิ์ สุเมโธ โดยพระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 และเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ และพระสีหราชสมาจารย์มุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะสงฆ์ และศิษยานุศิษย์ร่วมแสดงมุฑิตาจิต และแสดงความยินดีกับพระทั้ง 2 รูป เพื่อเชิดชูพระสงฆ์ที่ประกอบคุณงามความดี เชิดชู ทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาสืบไป

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

ที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้ฤกษ์ย้ายต้นกล้ากัญชาพันธุ์ฝอยทองภูผายล สกลนคร รุ่นแรก หลังได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามแผนการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เข้าพื้นที่ภายในโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล เพื่อผลิตวัตถุดิบกัญชา การตรวจสอบคุณภาพ การใช้พื้นที่แปรรูป เพื่อใช้ผลิตยาสมุนไพรไทย 9 ตำรับเชิงพาณิชย์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เผยดำเนินการอย่างรัดกุมภายใต้ข้อกำหนดและการกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ปลูก 3,360 ต้นต่อรอบการผลิต คาดเก็บเกี่ยวรอบแรก เดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้