โคราชสกัดจับ...ยาบ้าล็อตใหญ่ 5 ล้านเม็ด ก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง

โคราชสกัดจับ…ยาบ้าล็อตใหญ่ 5 ล้านเม็ดก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง

          เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 พล.ต.ท.ฐากูร นัทธีศรี ผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณรงค์ฤทธิ์ ด่านสุวรรณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.ภ.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.ภ.จว.นครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เสิงสาง ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหา 4 คน พร้อมของกลางยาบ้า 5,200,000 เม็ด ตรวจยึดรถยนต์ 4 คัน มูลค่าการยึดทรัพย์ประมาณ 2,000,000 บาท

      เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนภูธรภาค 3 จับกุมผู้ต้องหากำลังลำเลียงขนยาบ้า จากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามมาฝั่งจังหวัดนครพนม มุ่งหน้าสู่ภาคกลาง ก่อนที่จะสกัดจับได้ บริเวณบ้านโคกโจด ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา สามารถจับผู้ต้องหาได้ 4 ราย พร้อมรถรถยนต์ของกลาง 4 คัน ยาบ้า 5,200,000 เม็ด

ซึ่งเป็นการขยายผลมาจาก กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้อยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตอนนั้นสามารถยึดของกลางยาบ้าได้ 1.2 ล้านเม็ด

Appropriate Technology Matching Day 2024

กระทรวง อว. หนุน บพท. ร่วมกับเครือข่าย มรภ.และ มทร.ทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เกือบ 2,300 ผลงาน จากภูมิปัญญานักวิจัยไทย ในงาน“Appropriate Technology Matching Day 2024” 4 ภูมิภาค ปูรากฐานสำคัญของการพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยี และขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวข้ามกับดักความยากจน ไปสู่ความมั่นคง-มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน 

       กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย น.ส. ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวง อว. มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ จำนวน 2,289 ผลงาน ไปช่วยชุมชน โดยให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ขับเคลื่อนงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในระยะถัดไปที่จะเปิดตัว Technology and Innovation Library ซึ่งจะเป็นระบบรวบรวมข้อมูลฝั่งชุมชนกับข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมใช้ รวมทั้งข้อมูลนวัตกรชุมชนให้เกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ

     ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-24 พฤษภาคมนี้ บพท.จะร่วมกับเครือข่าย มรภ. 38 แห่งและเครือข่าย มทร. 9 แห่งทั่วประเทศ จัดแสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้ ใน 4 ภูมิภาค ภายใต้ชื่องาน “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน” หรือ “Appropriate Technology Matching Day 2024” ครอบคลุมทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพื่อให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้รับชมและนำไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

       โดยกำหนดจัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับครั้งที่ 2 โซนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นที่โรงแรมดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ มุ่งเน้นการถ่ายทอดและจับคู่นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยคัดสรรมาจัดแสดงและเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกร กลุ่มอาชีพ และผู้ประกอบในพื้นที่ ได้พบปะกับนักวิจัยของ 2 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มรภ.ในภาคอีสาน ทั้ง 11 แห่ง ได้แก่  มรภ.มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร อุบลราชธานี  เลย อุดรธานี ศรีษะเกษ ร้อยเอ็ด และเครือข่าย มทร. 5 แห่ง ได้แก่        วิทยาเขต นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด

        ภายในงานมีการแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ 70 ผลงาน จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยมทร.และมรภ. ซึ่งมีการเชื่อมโยงการใช้งานจริงกับ 13 กลุ่มวิสาหกิจชุมชมและผู้ประกอบการในชุมชน ขณะที่มีผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ที่มีส่วนร่วมกันคิดค้นและประมวลองค์ความรู้ให้ตรงกับโจทย์ปัญหาและความต้องการที่เหมาะสมกับภูมิสังคมเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมจำนวนกว่า 400 คน  โดยประเภทของเทคโนโลยีพร้อมใช้ มีด้วยกันหลายประเภท อาทิ นวัตกรรมอาหารสัตว์ชุมชน จากเศษวัสดุการเกษตรที่เป็นฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ระบบการนึ่งข้าวฮางประสิทธิภาพสูงด้วยไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลเครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกคุณภาพสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหม เครื่องผลิตเส้นไหมพุ่งแบบครบวงจร ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบอัตโนมัติ ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ รวมไปถึงกระบวนการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ฯลฯ ซึ่งจะกระตุ้นและจุดประกายความคิดให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งเกิดการจับคู่นำเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 200 คู่นวัตกรรม ที่สามารถนำไปต่อยอด ตอบสนองความต้องการของชุมชน นำมาใช้จัดการปัญหาสำคัญในชุมชน หรือการสร้างโอกาสใหม่ในชุมชนหรือพื้นที่

         “งานเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน นอกเหนือจะมีขึ้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังจะมีขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 พฤษภาคม และในพื้นที่ภาคกลาง ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้” 

          ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า งานแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากภูมิปัญญาการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือ และมีกลไกกระบวนการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีแก่ประชาชน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในแต่ละพื้นที่ ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ

งานแถลงข่าวเศรษฐกิจอีสานสัญจร ณ จ.นครราชสีมา ปี 2567

      วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา จังหวัดนครราชสีมา ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) ได้จัดงานแถลงข่าวเศรษฐกิจภาคอีสาน ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 หัวข้อ เหลียวหลัง…แลหน้า…เศรษฐกิจการเงินอีสาน

โดยเป็นการแถลงข่าวสัญจรครั้งแรก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ บทบาทหน้าที่ของ ธปท. ภาคอีสาน ได้แก่

1) จับชีพจรเศรษฐกิจการเงินในพื้นที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

2) สร้างองค์ความรู้วิชาการเพื่อตอบโจทย์ในพื้นที่

3) ผลักดันนโยบาย ธปท. ให้กับพื้นที่

4) เป็นตัวกลางความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

5) สนับสนุนให้คนอีสานมีความรู้ทางด้านการเงินและเท่าทันภัยการเงิน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคอีสาน

 

1) ภาคเกษตรเป็นเส้นเลือดหลักของคนอีสาน มีแรงงานในภาคนี้ถึงร้อยละ 53 ของผู้มีงานทำในภาคอีสาน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานเพียงร้อยละ 7

2) ภาคเกษตรส่วนใหญ่พึ่งฟ้าพึ่งฝน และความสามารถในการทำเกษตรลดลง 

3) รายได้ไม่เพียงพอรายจ่ายในภาคครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาหนี้ จากโครงสร้างดังกล่าวจึงทำให้เศรษฐกิจภาคอีสานต่างจากประเทศ 

 

         ปี 2566 เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวจากการบริโภคและท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจภาคอีสานหดตัว ตามการบริโภคจากรายได้ที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร หมดมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ และค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง แม้การท่องเที่ยวฟื้นตัวแต่ช่วยสนับสนุนได้น้อยเพราะมีเพียงไม่เกินร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจภาคอีสาน โดยภาพรวมเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 ปี 2567 อ่อนแรงต่อเนื่องจากปี 2566 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐลดลง ค่าครองชีพในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานอ่อนแอลงจากผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรลดลง 

         นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเปราะบางต่อเนื่องจากปี 2566 และกำลังซื้อมีความเปราะบางมากขึ้น ในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถกระบะหดตัวสูง และยอดขายบ้านในระดับกลางและล่างลดลงต่อเนื่อง จากรายได้ที่ลดลง รวมทั้งความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี มีปัจจัยช่วยพยุงการบริโภคได้บ้างจากผลของราคาผลผลิตเกษตรที่ดี และการท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566

         ระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคอีสานคาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากงบประมาณภาครัฐปี 2567 ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้หลังไตรมาส 2 ทำให้ภาคการค้า การก่อสร้างตามการลงทุนของรัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 รายได้เกษตรกระจายตัวมากขึ้นจากผลดีของภัยแล้งที่คลี่คลายในช่วงหลังของปี 2567 คาดว่าจะส่งผลดีต่อผลผลิตข้าว การผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดอาหารแปรรูปและเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มฟื้นตัวดี และการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามากระจายหลายจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้เรื่องพิษภัยของกระท่อม ในเขตเทศบาลนครบครราชสีมา

พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้เรื่องพิษภัยของกระท่อมในเขตเทศบาลนครบครราชสีมา

วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรมโคราชโฮเต็ล โดย นายประเสริฐ บุญขัยสุข นายกเทศมนตรีนครบครราชสีมา 

เรียน ท่านเทวัญ ลิปดพัลลก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และผู้มีเกียรติทุกท่าน ในนามผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างการรับรู้เรื่องพิษภัยของกระท่อม ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา กระผมขอขอบพระคุณท่านที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ ในวันนี้

    จากพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ได้มีการยกเลิกการกำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่  โดยสามารถนำมาเป็นพืชเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ทำให้มีการประกอบการด้านพืชกระท่อมอย่างแพร่หลาย กอปรกับปัจจุบันการเข้าถึงกระท่อมของเด็ก เยาวชน และประชาชนมีแนโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะมีการใช้น้ำต้มใบกระท่อมที่ไม่เหมาะสม มีการผสมสารต่างๆ เข้าไป ทำให้เกิดอาการหลอนทางจิตประสาท เกิดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพ ปัญทาทางสังคม สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องพืชกระท่อม เช่น กรณีน้ำต้มใบกระท่อมสามารถต้มดื่มทานเองที่บ้านได้แค่ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกให้กับบุคคลอื่น และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หรือการใช้น้ำต้มใบกระท่อม/ใบกระท่อมที่ไม่ถูกวิธี คือ การไม่เอาก้านออกแล้วนำไปต้มในอัตราส่วนที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกิดพิษภัยจากกระท่อมตามมา

สำหรับเทศบาลนครนครราชสีมาได้ร่วมกับทีมบูรณาการของจังหวัดนครราชสีมาออกตรวจสถานประกอบจำหน่ายน้ำต้มใบกระท่อม เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และในวันนี้สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่แกนนำชุมชน และประชาชน จึงจัดการอบรมฯ ครั้งนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพได้รับรู้และเข้าใจถึง พ.ร.บ.พืซกระท่อม รวมทั้งโทษพิษภัยจากการใช้กระท่อมที่ไม่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเฝ้าระวังและจัดการสุขภาพภาคประชาชนในชุมชนต่อไป

เปิดตัวศูนย์พัฒนาเยาวชนสโมสรราชประชาประจำจังหวัดนครราชสีมา&พิธีเปิด-ปิดแข่งขันฟุตบอลมิตรภาพวิทยา FA Cup ครั้งที่ 1

เปิดตัวโครงการนำร่องโรงเรียนมิตรภาพ #เปิดศูนย์พัฒนาเยาวชนสโมสรราชประชาประจำจังหวัดนครราชสีมา&พิธีเปิด-ปิดแข่งขันฟุตบอลมิตรภาพวิทยา FA Cup ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพลเอกหม่อมหลวงสุปรีดี ประวิตรประธานสโมสรกีฬาราชประชา

ระหว่างวันที่ 12-14 สิงหาคม 2565 ณ สนามโรงเรียนมิตรภาพวิทยาตำบลดอนยาวใหญ่อำเภอโนนแดงจังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 14 สิงหาคม 2565 นายมนชัย เยื่องกลาง ผู้อำนวยการโรงเรียนมิตรภาพวิทยาพร้อมอ.เจริญ พงษ์โพธิ์ ผอ.ศูนย์พัฒนาเยาวชนสโมสรราชประชา และนายวีระ เมืองกลางผู้ประสานงานทีมพร้อมคณะผู้ผู้สนับสนุน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการเปิดตัวนำร่องศูนย์ฝึกนักกีฬาเยาวชนสโมสรราชประชาประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นแห่งแรกที่เปิดในจังหวัดนครราชสีมาภายใต้ความร่วมมือกับสโมสรราชประชา ในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนสู่โครงการต้นกล้านักฟุตบอล สานฝันปั้นเยาวชนสู่มืออาชีพพร้อมครั้งนี้ทางคณะผู้ดำเนินการโรงเรียนได้จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในระดับเยาวชนและประชาชนอาวุโสการแข่งขันฟุตบอลมิตรภาพ FA Cup ครั้งที่ 1 เพื่อเปิดตัว โครงการนำร่องพัฒนาศักยภาพนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน โดยการแข่งขันครั้งนี้มีทีมที่ร่วมแข่งขันอยู่ 2 ประเภทประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี มีทีมร่วมแข่งขันรวมทั้งสิ้น 10 ทีม ได้ทีมชนะเลิศ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

ทีมชนะเลิศทีม ผ่องใส อาคาเดมี่ จากอ.หนองสองห้อง ขอนแก่น
ทีมรองชนะเลิศ ทีม รร.เทศบาล 2 อ.บัวใหญ่
ทีมรองชนะเลิศอับดับ2 ทีม อ.หนองบุญมาก
รองชนะเลิศอันดับ3 ทีมนพคุณ อ.โนนแดง
และทีมอาวุโส ได้ทีมชนะเลิศตามลำดับดังต่อไปนี้

ทีมชนะเลิศได้แก่ทีมอาวุโสบัวใหญ่VIP ทีม เทศบาลรังหาใหญ่พิมาย
รองชนะเลิศอันดับ1ทีม สีดา
รองชนะเลิศอันดับ2ทีม ประทาย
รองชนะเลิศอันดับ3ทีมบัวใหญ่ จากการจัดกิจกรรมทางผู้อำนวยการดำเนินโครงการได้ขอเชิญชวน พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานสนใจส่งเสริมด้านทักษะกีฬาฟุตบอลสามารถทำบุญหลายท่านมาร่วมโครงการได้ที่โรงเรียนมิตรภาพ โดยนักเรียนที่เข้าโครงการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพตลอดการศึกษาตั้งแต่ม 1 ถึงม. 6 ติดต่อ อ.เบ็ญกาย 0800122095หรือ Facebook ศูนย์พัฒนาเยาวชนสโมสรกีฬาราชประชาประจำจังหวัดนครราชสีมา

สนว.อีสาน ประกาศเกียรติคุณคนทำสื่อคุณภาพ มอบโล่ “สื่อคุณธรรม” การันตรีมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนภาคอีสาน

สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน งานเสวนาเรื่อง “ทำข่าวอย่างไรไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” และ รมว. ดีอีเอส มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สื่อคุณธรรม ให้ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชนภาคอีสาน ที่มีคุณธรรม และจริยธรรม ตระหนักในความสำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ และเป็นแบบอย่างในการใช้สื่อออนไลน์ในการทำประโยชน์ให้กับสังคม

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องกรรณิการ์บอลรูม โรงแรมพิมานการ์เด้น บูติคโฮเต็ล อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาเรื่อง “ทำข่าวอย่างไรไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สื่อคุณธรรม และมอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือสื่อมวลชนที่พิการทางสายตา โดยมี พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ,คณะกรรมการบริหารสมาคม, สื่อมวลชนภาคอีสาน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน

พันโท พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทของสื่อมวลชนทุกแขนง ทั้ง วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวของสังคมไทยในมิติต่างๆ ด้วยความตั้งมั่นและซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตนเองมาโดยตลอด รวมไปถึงยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมในหลายๆเหตุการณ์ ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งของสื่อมวลชนนั่นเอง

กระทั่งในยุคปัจจุบันที่โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ยุคที่ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมไปถึงข่าวสารจากทั่วโลกเราสามารถรับรู้ได้ เกือบจะเวลาเดียวกันกับสถานที่ที่เหตุการณ์ในอีกซีกโลก สื่อมวลชนเองก็จะต้องปรับตัวในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เช่นกัน และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ภาค
อีสาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อท้องถิ่น ในประเด็น “ทำข่าวอย่างไร ไม่ให้โดนฟ้อง … PDPA รู้ไว้ก่อนจะปลอดภัย” เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความ สำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน บรรยายเรื่อง “ทำข่าวอย่างไร ภายใต้ PDPA ห่างไกลคุก” โดยท่านวิทยากรจาก ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ PDPA Thailand และเลขาธิการ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ,นายฐิติชัย อัฏฏะวัชระ ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายธาราวุฒิ สืบเชื้อ รองนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกฎหมาย ดำเนินรายการโดย ดร.อิสเรศณุชิตภ์ จันทร์ศรี ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาศักยภาพมนุษย์ อาเซียน AIHD และการบรรยายพิเศษ “PDPA กับสื่อสังคมออนไลน์” โดย นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นอกจากนี้คณะกรรมการสมาคมฯ ได้พิจารณาคัดเลือกองค์กร และบุคคล เข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “สื่อคุณธรรม” จำนวน 25 คน โดยเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม และจริยธรรม ตระหนักในความสำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ ส่งเสริมจริยธรรม มาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และเป็นแบบอย่างในการใช้สื่อออนไลน์ในการทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบโล่ดังกล่าวให้

อาจารย์เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่รับการคัดเลือกเข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “สื่อคุณธรรม” ซึ่งเป็นการประกาศยกย่อง ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมและสู่สายตาสาธารณชน ในการเป็นแบบอย่างที่ดีในมิติด้านคุณธรรม และเป็นผู้มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมควรค่าแก่การยกย่อง ในการทำหน้าที่สื่อมวลชน ในการเผยแพร่ข้อมูลสิ่งดีงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมไทย

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Personal Data Protection Act หรือ PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การควบคุมไม่ให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ด้วยความที่ในปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การครอบครองเบอร์โทรศัพท์โดยการซื้อฐานข้อมูลมาจากที่อื่นและโทรไปหาโดยที่ไม่มีการรับรู้จากเจ้าของเบอร์โทรศัพท์นั้น หรือการที่เราได้รับโฆษณาบน Social Media จากข้อมูลการใช้งานของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือไม่ได้ยินยอมให้องค์กรเก็บข้อมูล เป็นต้น

กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ บันทึกเสียง เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ซึ่งรายละเอียดจะได้พูดถึงในการบรรยายพิเศษ และเวทีเสวนาในวันนี้ เพื่อคลายความวิตกกังวลของพี่น้องสื่อมวลชน และทุกท่าน

โคราชเปิดตัวเศรษฐกิจเวลเนสภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โคราชเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวโคราช ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (Korat Wellness Corridor) ทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นรูปธรรม


เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 โรงแรมเดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมาพลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี มาเป็นประธานเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา โดยมีประธานกฎบัตรสุขภาพ, เลขานุการกฎบัตรไทยและนายกสมาคมการผังเมืองไทย ตลอดจน ภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา อาทิ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดฯ, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฯ, ททท.สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจน ส่วนราชการ, ภาคการศึกษา, 10 องค์กรภาคเอกชน เข้าร่วมในงาน


นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า Wellness หรือที่เรียกทั่วไปว่า Anti-Aging เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแขนงหนึ่งของการแพทย์คู่กับการรักษาพยาบาล ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเจ็บป่วยที่ต้นเหตุ ซึ่งในปัจจุบัน การแพทย์มีวิวัฒนาการเจริญก้าวหน้าขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเริ่มหันมาดูแลรักษาสุขภาพร่างกายในขณะที่ยังไม่เจ็บป่วยมากขึ้นด้วย มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพมาใช้มากขึ้น และเทรนด์ในอนาคต จะมีเรื่อง Wellness รวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นสังคมที่ประชาชนมีสุขภาพดี ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีความพร้อมทั้งด้านภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ ด้านอาหาร และภาคส่วนต่าง ๆ ก็มีศักยภาพและมีความพร้อมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (Korat Wellness Corridor) ทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งด้าน Holistic Wellness, ด้าน Functional and personalized Healthcare ,ด้าน Real estate and Workplace Wellness, ด้าน Aesthetic and Anti-Aging และด้าน Digital Wellness and Innovation จึงได้จัดงานเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาขึ้น

ด้าน ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ. นครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมา ได้ประสานกับหลายๆ องค์กรจากทุกภาคส่วน ร่วมกันทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ค้นหาเอกลักษณ์-อัตลักษณ์ของแต่ละอำเภอ ยกขึ้นมาเป็นจุดเด่น พัฒนาให้เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม โดยมี สสปน.สำนักงาน ส่งเสริม การ จัด ประชุม และ นิทรรศการ (องค์การ มหาชน) เข้ามาดูแลจัดประกวดเพื่อยกระดับสินค้า และมี ททท.เข้ามาช่วยส่งเสริมด้านการตลาด นำเอเจนซี่เข้ามา เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ ส่วนเรื่องการดูแลสุขภาพ ก็เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในช่วงโควิดระบาด ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีความพร้อมที่จะเปิดตัวเป็น “เมืองสุขภาพ” และทุกภาคส่วนในจังหวัด ก็พร้อมเข้ามามีส่วนร่วมเดินหน้ากันอย่างเต็มที่

ชาวเชียงใหม่ร่วมใจดูแลช้างหลังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ

ประเทศไทย – ชาวเชียงใหม่ร่วมใจดูแลช้างหลังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ

จากการสำรวจของสหพันธ์ช้างไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีช้างเลี้ยงอยู่ราว 3,700 – 3,800 เชือก ซึ่งส่วนมากเป็นช้างที่ถูกใช้งานในแวดวงการท่องเที่ยว เกือบทั้งหมดได้กลายสภาพเป็นช้างตกงานจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูช้างตามมา เนื่องจากช้างแต่ละเชือกจะต้องกินอาหารให้ได้วันละ 10% ของน้ำหนักตัว ขณะที่ช้างแต่ละเชือกมีน้ำหนักตั้งแต่ 2,000 – 5,000 กิโลกรัม เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้เป็นผู้ริเริ่มไอเดียในการบริจาคที่ดินเปล่าในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ชาวบ้านในพื้นที่และควาญช้างได้มาช่วยกันปลูกหญ้าเนเปียเพื่อนำไปเป็นอาหารช้าง จนทำให้ปัจจุบันมีหน่วยงานราชการและเอกชนอีกหลายรายที่ได้บริจาคที่ดินเปล่า หรือบริจาคอาหารให้กับช้างตามปางต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ภายในพื้นที่ และการบริจาคจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังไม่มีนโยบายความช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐ ขณะที่สมาคมสหพันธ์ข้างไทย วอนให้รัฐบาลไทยมองว่าช้างเป็นประชากรอีกส่วนหนึ่งของประเทศด้วย

ปรีทอง สิงขรพิทักษ์ – คนงานปลูกหญ้าเนเปีย บอกว่า “ดูแลหญ้า แล้วก็ปลูกหญ้าครับให้ช้างครับ ยกขึ้นรถครับ ยกขึ้นรถไปส่งปางช้างต่างๆ นะครับ ไปส่งแม่แตงบ้าง แม่วางบ้าง แม่ริมบ้าง แล้วก็พัทร เอ้ย หางดงบ้างนะครับ”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย
บอกว่า “ช้างในประเทศไทยเนี่ยกว่า 3,800 เชือกเนี่ย ส่วนมากแล้วได้รับการเลี้ยงดูหรือดูแลในสารบบของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นตั้งแต่เราปิดประเทศมาเนี่ย จนถึงวันนี้แล้วก็ครบรอบ 2 ปีแล้ว ก็เป็นที่แน่ชัดว่าคนเลี้ยงช้างไม่มีรายได้ แทบจะทุกวันหรือวันเว้นวันเนี่ย เราต้องประสบปัญหาได้รับการรายงานถึงช้างที่ล้มป่วยและตายลงนะครับ”

กันทอง เลิศวงษ์รัตนกุล – ควาญช้าง บอกนักข่าว “ที่แม่ขนิลนี่มี 10 กว่าเชือกครับ ดูแลตอนนี้ 2 แม่ลูกครับ ทุกวันนี้ก็หาตัดหญ้าที่ปลูกไว้ให้นะครับ เพราะว่าตอนนี้จะเข้าหน้าแล้งแล้ว หญ้าไม่ค่อยเพียงพอแล้วครับ”

เพิ่มพงษ์ สาวิกันย์ – ผู้จัดการโครงการปางช้างภัทร บอกว่า “ก็ช่วยกันกับควาญช้าง ก็ดูแลสถานที่ ดูช้างช่วยกัน ไปดูสถานที่ที่ออกไปไกลจากนี่ฮะ เข้าไปในป่า ไปดูว่ามีอาหารช้างมั้ย ถ้ามีก็มาบอกกัน ก็คืออยากให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเราก็จะมีรายได้สำหรับที่จะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับควาญช้าง”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย บอกว่า “สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของโครงการนำร่องที่เริ่มต้นด้วยบริษัท แสนสิริ จำกัดนะครับ กลายเป็นว่า หน่วยงานอื่นที่เห็นแนวทางก็เข้ามาสนับสนุนโครงการของสมาคมด้วย ล่าสุดก็เป็นความร่วมมือของภาคทหารนะครับ กองพันสัตว์ต่างร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นะครับ ร่วมกันให้เราใช้พื้นที่กว่าร้อยไร่ในการปลูกหญ้านะครับ ซึ่งก็เป็นเฟสที่ 2 รวมถึงเอกชนรายต่างๆ ที่มีการติดต่อเข้ามา สิ่งที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการหางบประมาณในการจ้างควาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนคงต้องช่วยกันคิดต่อไปว่าทำยังไงถึงจะรักษาควาญช้าง 3-4,000 คนเนี่ย เพื่อให้เขาช่วยเลี้ยงดูช้างของประเทศไทยให้ได้”

ธีรภัทร ตรังปราการ – นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพิ่มว่า “เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศเราเป็นประเทศที่มีช้างนะครับ เพราะฉะนั้นนอกจากมีประชากร 70 กว่าล้านคนที่จะต้องดูแลแล้ว ข้อนึงที่รัฐบาลจะลืมไม่ได้ มองข้ามไม่ได้เลยก็คือยังมีประชากรช้างกว่า 3,800 เชือก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยครับ”

ที่มา A24 News Agency

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประชุมที่ปรึกษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม จ.นครราชสีมาและเครือข่าย…..

วันที่ ๑๑ กุมกาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓ 00-๑๕.00 น.ณ ห้องประชุม สนง.การท่องเทียวและกีฬาจังหวัดนครราชสิมา โดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมงาน ก่อนหน้านั้นนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เดินทางมาถึง และในการต้อนรับโดย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ได้ทำการมอบดอกกุหลาบสีแดง ให้คนละ 1ดอก เนื่องจากที่อีกไม่กี่วันจะถึง14กุมภาวาเลนไทน์
ต่อจากนั้นด้านนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา มอบประกาศยกย่องเชิดซูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบเข็มเชิญซูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศและกล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมชุดใหม่ มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับนายวิเชียร จันทรโณทัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในการเปิดประชุมวาระ1/2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ


๑.๑ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวิเชียรจันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๒ ชมวีดีทัศน์ สรุปผลการดาเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘
๑.๓ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม และเรียนเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
มอบเข็มเชิญชูเกียรติแก่ผู้มีผลงานดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆในระดับประเทศ
กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม แก่คณะกรรมการสภา
วัฒนธรรมชุดใหม่
มอบของที่ระลึก และบันทึกภาพกิจกรรมร่วมกันกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อทราบ
๓.๑ ด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้อนุมัติโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จานวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเอง จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
โครงการเล่าขายประวัติศาสตร์นครราชสีมา ผ่านนามสกุลคนโคราชจำนวนเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
โครงการหมู่บ้านพืชผักสวนครัวเกษตรอินทรีย์ ๕ ดี วิถีคนโคราชจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งสภาวัฒนธรรมได้ดาเนินการไปแล้วทั้ง ๓ โครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดาเนินงานโครงการไปยังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง ๓ โครงการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กรมส่งเสริมได้อนุมัติโครงการให้สภาวัฒนธรรม
ดำเนินโครงการ ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการ จัดทาชุดองค์ความรู้วิถีคนโคราช “กิ๋นเป็นยา” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (นำเสนอโดยเลขาสภาวัฒนธรรม)
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘
๔.๒ การแต่งตั้งประธานกลุ่มอาเภอ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
แบ่งเป็น ๖ กลุ่มอาเภอ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑. ๖ อาเภอ ได้แก่ เมืองนครราชสีมา, สีคิ้ว,สูงเนิน,ปากช่อง,เฉลิมพระเกียรติ,ขามทะเลสอ
กลุ่มที่ ๒. ๕ อาเภอ ได้แก่ โชคชัย,ปักธงชัย,วังน้าเขียว,ครบุรี,เสิงสาง
กลุ่มที่ ๓. ๖ อาเภอ ได้แก่ พิมาย,ชุมพวง,โนนแดง,ประทาย,ลาทะเมนชัย,เมืองยาง
กลุ่มที่ ๔. ๕ อาเภอ ได้แก่ โนนสูง,จักราช,ห้วยแถลง,หนองบุญมาก,โนนไทย
กลุ่มที่ ๕. ๔ อาเภอ ได้แก่ ด่านขุนทด,เทพารักษ์,พระทองคา,ขามสะแกแสง
กลุ่มที่ ๖. ๖ อาเภอ ได้แก่ บัวใหญ่,บัวลาย,สีดา,แก้งสนามนาง,คง,บ้านเหลื่อม
๔.๓ การมอบหมายคณะทางานตามโครงสร้างสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕
๔.๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาตามบทบาท
หน้าที่และภาระงานของสภาวัฒนธรรม
๔.๕ พิจารณาข้อบังคับของสภาวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘