ม.ราชภัฏโคราช พลิกโฉมการจัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เปิดประสบการณ์ สู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต Get Ready Freshy NRRU 2023

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2566) กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการปฐมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 “Get Ready Freshy NRRU 2023” ณ หอประชุมใหม่

ณ หอประชุมใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ รักษาราชการแทนอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษารุ่นพี่ ร่วมให้การต้อนรับนักศึกษาใหม่ เข้าสู่มหาวิทยาลัยอย่างอบอุ่น พร้อมกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง สร้างบรรยากาศในการเปิดใจเข้าสู่มหาวิทยาลัย

อีกทั้งยังมีการบรรยายการ แนวทางการดำเนินกิจกรรม, สวัสดิการของนักศึกษา, การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย กิจกรรมบริจาคเลือดกับสภากาชาดไทยในรั้วมหาวิทยาลัย, จุดประกายไฟฝัน สร้าง Passion กับ Barista ระดับโลก

ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มีนักศึกษาใหม่สามารถผ่านการคัดเลือกเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ จำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นจำนวน 3,509 คน ซึ่งจะเปิดภาคเรียนที่ 1/2566 ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566

มหาวิทยาลัยจึงมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาผ่านกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

มหาวิทยาลัยจึงมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาผ่านกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เป็นการให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาใหม่ ทั้งด้านการวางแผนการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม สวัสดิการที่นักศึกษาจะได้รับ แนะนำแนวทางให้นักศึกษาเรียนอย่างไรจึงจะสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษารูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ที่ทำให้ตนเองเจริญเติบโตเป็นเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมจะโตเป็นต้นไม้ที่สูงใหญ่ดังปรัชญาที่ว่า แหล่งวิชาการ สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม นำสังคม

พิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.  ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การจัดกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 (Kick off ก้าวท้าใจ Season 4)โดย นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวเปิดพร้อมด้วยแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงาน และผู้บริหารจากองค์กรและหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพทุกท่าน หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาทุกคน

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว “ก้าวท้าใจ Season 4 หรือ การ Kick off ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป” ในวันนี้ กระผมขอขอบคุณคณะผู้จัดกิจกรรม ทีมวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้เกิดกิจกรรมดีๆเช่นนี้  และ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารจากองค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมการลงนาม เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ได้แก่

– ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

– คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

– และ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 

จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงกับการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ลดลงของคนไทย โดยกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ ผ่านโครงการก้าวท้าใจ โดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของก้าวท้าใจคือ ส่งผลออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย การส่งผลการออกกำลังกายที่หลากหลาย การออกกำลังกายทุกครั้งจะเปลี่ยนเป็นแคลอรี่ เพื่อสะสมในรูปของแต้มสุขภาพเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ กระผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก ก้าวท้าใจ Season 4 และหวังไว้อย่างยิ่งว่า หน่วยงานของเราจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้แก่บุคลากรและเครือข่าย สู่การมี สุขภาวะที่ดีต่อไป

ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่าวันนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “พิชิต 100 วัน 100 แต้มสุขภาพ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย พร้อมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการสะสมแต้มสุขภาพแลกของรางวัล จากการออกกำลังกาย และสร้างความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ก้าวท้าใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม2565 ในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว ก้าวท้าใจ Season 4 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามโครงการ “ก้าวท้าใจ Season 4 วิถีถัดไป”, การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชั่น H4U รวมถึงการออกกำลังกายในแบบวิถีถัดไป 

 พิธีเปิดตัวกิจกรรม ก้าวท้าใจ Season 4 จังหวัดนครราชสีมาในวันนี้     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยงานเครือข่าย ภายใต้แนวทาง “การสร้างเสริมสุขภาพ ในองค์กร” โดยมีเครือข่ายที่ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ดังนี้

 1.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6       

2.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน                                                 

  3.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                               

4.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล                                                    

5.โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง

พิธีเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” ในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ณ วาไรตี้ ฮอลล์ (หน้า MCC HALL) ชั้น 3 เดอะมอลล์โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อน “วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) รักเตรียมพร้อมเพื่อครอบครัวคุณภาพ ชีวิตสมดุล ครอบครัวคุณภาพ และเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก”

นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานว่า “จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2536 – 2564 มีเด็กเกิดใหม่ลดลงจาก 900,000 คนถึง 1,000,000 คน ลดลงเหลือ 544,000 คน ในปี 2564 และปี 2556-2557 หญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้มีผลต่อสุขภาพ เช่น เวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ความพิการแต่กำเนิด หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายวิวาห์สร้างชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร

นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงานว่า “
จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา การขับเคลื่อน การดำเนินงาน วิวาห์สร้างชาติ สาวไทยโคราชแก้มแดง (มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ) เพื่อส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมในการมีบุตร มีลูกคุณภาพเพื่อชาติ โดยการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่ดี และเสริมด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟลิก อันจะส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร และการเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และทารกเกิดแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลดความพิการแต่กำเนิด เด็กมีพัฒนาการสมวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และการประชุมครั้งนี้จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดนครราชสีมาจากทุกภาคส่วน ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ผมขอแสดงความชื่นชม ที่ได้เห็นทุกภาคส่วน ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานและร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดียิ่ง”

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท

การประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”

วันศุกร์ ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕  เวลา ๐๙:๐๐ – ๑๖:๓๐ น. กำหนดการประชุมเชิงวิชาการ  “โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี ๒๕๖๕”ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคาร ๓๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทปีงบประมาณ 2565ภาตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)เป้าหมาย 200 ตำบล/เมืองโดยสรุปภาพรวมการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนในปี ๒๕๖๔โดย ผศ.ดร.ทวี

วัชรเกียรติศักดิ์  เป็นประธานเปิดการอบรมพร้อมด้วย นายสมพงษ์  แสงศิริ  ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาชี้แจงวัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญและเป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  จำนวน20อำเภอนครราชสีมาที่มาร่วมฟังการนี้

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท เป็นการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รูปธรรม “ตำบล/เมือง” ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีแผนพัฒนาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ระยะ 3 ปี 5 ปี แผนพัฒนาที่จะเคลื่อนงานชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนงานของจังหวัด แผนพัฒนาเชื่อมโยงทุกประเด็นงานพัฒนาและครอบคลุมทุกมิติ และสามารถบูรณาการแผนงานและงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ตาบล/เมืองมีระบบช่วยเหลือทางสังคมในการดูแลสมาชิกในชุมชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสู่การจัดการและพึ่งพาตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ

กิจกรรมภายในงานการเสริมพลังกลุ่มคนเปราะบางสู่สังคมชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน โดย นางทัศกมณฑจ์  เกิดผล  นักพัฒนาสังคมชำนาญการสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างวิสาหกิจให้เข็มแข็ง และสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายโดย นักพัฒนาธุรกิจชุมชน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัดการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา     การทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา  ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาการทำ Workshop โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ภาคีและคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมาออกแบบจังหวะก้าวร่วมกัน และสรุปผลการทำ Workshopโดย ตัวแทนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)อีกด้วย

ศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประเทศโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

ศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต3 ได้รับ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศรางวัลระดับประเทศ ในโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี องค์ ประธานโครงการ พระราชทาน ถ้วยรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและประเภทเยาวชนดีเด่น โดย ดร.รัตนะ วรบัณฑิต ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชนเขต 3 ดำเนิน การส่งตัวแทน เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ เยาวชนห่างไกลยาเสพติด ในงานมหกรรมรวมพล To Be Number 1 ประจำปี พศ.2564 ระหว่างวันที่ 21 -23 ธันวาคม 2564 ณ.อิมแพคเมืองทองธานี

ยกมาตราฐานวิชาชีพสร้างโอกาสเยาวชน ยุคโควิด19

การปฐมนิเทศเปิดโอกาสทางการศึกษา ยกมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น

ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา

นาย อำนาจ บุตรโต ผอ.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตรสามัคคี)

และผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ กล่าวแนะนำขอขอบพระคุณ  นาย สุดชาย บุตรแสนลี ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดนคครราชสีมาให้เกียรติมาเป็นประธาน ร่วมกับ นายรัตนะ วรบัณฑิตผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 3, ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์และ คณะกรรมการภาคการศึกษาร่วมพิธี ในการปฐมนิเทศ หลักสูตร “วิชาชีพระยะสั้น” ในวันนี้ การจัดปฐมนิเทศ

หลักสูตรไฟฟ้าเบื้องตัน และ หลักสูตรบัญชีครัวเรือน นี้ ได้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบ และเด็กด้อยโอกาส ให้กลับคืนสู่ระบบการศึกษา และสร้างภาคีเครือข่าย ศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาเทศบาลนครราชสีมา ให้เป็นรูปธรรม โดยจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 75 ชั่วโมง แบ่งรูปแบบการเรียนการสอน ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ ออนไลน์ จำนวน 20 ชั่วโมง และรูปแบบออนไซต์ จำนวน 55 ชั่วโมง

จัดระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564 – 10 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 95 คน จากโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตสามัคคี)

การปฐมนิเทศครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนไฟฟ้าเบื่องต้น และบัญชี

ครัวเรือน ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับแนวทางในการเรียนและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ในโอกาส ต่อไป

“พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเอง”


วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๑๕ น.พิธีเปิดโครงการการผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหาร โคราชบ้านเองณ ห้อง Studio ชั้น ๕ (NRRU Library) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาโดยนางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายฐิติรัตน์ พงษ์พุทธรักษ์ ประธานดำเนินการโครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและท่านวิทยากร  คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ  และผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน

โครงการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ้าและอาหารการส่งเสริมต่อยอดสร้างสรรค์ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม,พัฒนาการชุมชนจังหวัดนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา

สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม รักษา สืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด ด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป

ในส่วนการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 ได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการส่งเสริม รักษา หรือ พัฒนา ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุม เนื้อหาสาระ ของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๗ ด้าน ได้แก่ (๑) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (๒) ศิลปะการแสดง (๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (๔) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (๖) การเล่นพื้นบ้าน กีฬา พื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (7) ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงวัฒนธรรม

โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เห็นความสำคัญของการรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ได้จัดทำโครงการ การผลิตสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมผ้า และอาหารโคราชบ้านเอง ขึ้นมา จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น จะได้เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารพื้นถิ่น และผ้าพื้นเมือง ของจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  โดยจัดอบรมผู้ที่สนใจผลิตสื่อสารสนเทศ ก่อนไปจัดทำคลิปวิดีโอการประกวด และจัดให้มีการคัดเลือกผลงานที่มีความเหมาะสม  ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อไป  การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทั้งความรู้ และวัฒนธรรมด้านผ้าและอาหารของจังหวัดนครราชสีมา

การจัดทำโครงการครั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมาร่วมกับ องค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาการชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สมาคมนักข่าวจังหวัดนครราชสีมา จึงถือเป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เยาวชนและประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา

2. เพื่อฝืกอบรมผลิตสื่อสารสนทศรูปแบบออนไลน์ โดยการมีส่วนร่วมของเยาวซนและประชาชนให้สามารถผลิตสื่อด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราช อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อพิจารณาคัดเลือกสื่อสารสนทศดีเด่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชที่เยาวชนและประชาชนได้ผลิต เผยแพร่ และมอบรางวัล

การดำเนินกิจกรรมโครงการนี้แบ่ง 2 ลักษณะ

1. การอบรมสร้างเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมผ้าและอาหารโคราชบ้านเองและความรู้การเขียนเนื้อหาประกอบบทวีดีทัศน์ ระยะเวลา 1 วัน

2. จัดทำวีดีทัศน์การประกวดขนาดความยาว 3 5 นาที/เรื่อง เพื่อชิงโล่รางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้านผ้าและอาหารโคราชมีโล่และเงินรางวัลชนะเลิศจากท่านอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

นางเอมอร ศรีกงพาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ขอขอบคุณท่านวิทยากร    หัวหน้าโครงการ  หน่วยงาน  องค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหลาย และหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดี แนะนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากคณะวิทยากรผู้ทรงภูมิรู้ในแต่ละด้าน ไปผลิตสื่อดิจิตอล มาเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโคราช ตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของคนโคราช ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั่วโลกสืบไป




วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563

วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563

วันที่ 10 มีนาคม 2564 ณ วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา ได้ให้การต้อนรับคณะประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 

นำโดย นายประทีป อนิลบล ผู้อำนวยการวิทยาลัย สารพัดช่างชัยภูมิ

ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายชนะ ธรณีทอง  นายอำเภอเมือง นครราชสีมา ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา 

นายวัชรพล  โตมรศักดิ์  ประธานกรรมการสถานศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา 

นายฐิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์  นายกสมาคมนักข่าว จังหวัดนครราชสีมา

และนายวัชริน พัดเกาะ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย

ให้การกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงบทบาทการร่วมงานในฐานะภาคีเครือข่ายระหว่างองค์กร เพื่อประการการพิจารณาการประเมิน 

นอกจากนี้ วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา โดย นายสุดชาย บุตรแสนลี ผู้อำนวยการ พร้อมคณะได้ร่วมกันแสดงกิจกรรมด้านบนเวที เพื่อเป็นการต้อนรับ ร่วมกับนักศึกษา

กิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการจัดบูธเพื่อให้ความรู้ การแสดงสินค้า และผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ และได้รับเกียรติจากภาคีเครื่อข่ายต่าง ๆ มาร่วมในกิจกรรมเป็นจำนวนมากอีกด้วย

สำหรับรางวัลพระราชทานเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่าและเป็นเกียรติประวัติต่อผู้รับอย่างสูงสุด คุณความดีจะถูก ประกาศและเผยแพร่ไปยังสาธารณชนทั่วไป ฉะนั้น ในการดำเนินงานคัดเลือกนักเรียนและสถานศึกษาเพื่อรับ รางวัลพระราชทาน นักเรียนและสถานศึกษาที่ผ่านการตัดสินต้องมีสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมอย่าง โดดเด่นชัดเจน สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย/ทุกคนต้องตระหนักไว้เสมอว่าการดำเนินงานทุกด้านต้องกระทำ อย่างรอบคอบ และผู้ที่ได้รับรางวัลไปแล้วจะต้องดำรงรักษาคุณความดีนั้นให้ยาวนานสืบไป

กรมสรรพสามิตและคณะผู้ใหญ่ใจดีช่วยเหลือโรงเรียนศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา

โครงการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา

คุณอภิวัชร์ มีเสือ สรรพสามิตพื้นที่นครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานสรรพสามิตภาคที่3 และคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดนครราชสีมา จัดโครงการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน อาทิ การปรับพื้นที่เทปูน สร้างโครงหลังคาให้ครอบคลุมพื้นที่ตั้งเครื่องออกกำลังกาย, การซ่อมแซม บูรณะปรับปรุงเครื่องออกกำลังกายของนักเรียนที่ชำรุด และการจัดซื้อเครื่องกรองน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กนักเรียน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมาการพิธีส่งมอบอาคารเอนกประสงค์สนามเด็กเล่นเมื่อ


นายโกศล สมจินดา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ สาขาจังหวัด
นครราชสีมากล่าวต้อนรับคณะแขก (คณะสรรพาสามิต)
โครงการ
พิธีมอบประกาศนียบัตรของคุณผู้ร่วมบริจาค

  1. บริษัท กราน-มอนเต้ จำกัด ยอดบริจาค 50,000 บาท
  2. คุณสกุณา โลหิตนาวี ยอดบริจาค 50,000 บาท
  3. บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยอดบริจาค 30,000 บาท
  4. คุณธนวัน คิดรอบ ยอดบริจาค 20,809 บาทถ่ายภาพร่วมกัน
  5. บริษัท พรเจริญอะไหล่และบริการ จำกัด ยอดบริจาค 20,000 บาท
  6. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ยอดบริจาค 10,000 บาท
  7. บริษัท ออกานิกส์ คอสเม่ จำกัด ยอดบริจาค 10,000 บาท
  8. บริษัท สินชัยก้าวหน้า จำกัด ยอดบริจาค 10,000 บาท
  9. คุณวาสนา ประชาสมบูรณ์ ยอดบริจาค 10,000 บาท
    นายวินิจ มูลวิชา ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด
    นครราชสีมา กล่าวคำขอบคุณคณะ
    การแสดงของนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา
  1. กิจกรรมเลี้ยงอาหารนักเรียนตาบอด นครราชสีมา (ณ โรงอาหาร)
  2. ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงผู้บริหารจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา นำโดย คุณรุจิเรศ นีรปัทมะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจสัมพันธ์ และ คุณเศรษฐวุฒิ ทัตสุระ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ร่วมงาน ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา (วันนี้)

โรงเรียนศึกษาคนตาบอดจังหวัดนครราชสีมา #ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลโคราช #สรรพสามิตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

สพร.5 จัดทบทวนและทำแผนพัฒนากำลังคนระดับพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ที่ผ่านมา  ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์  พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมาได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การทบทวนและจัดทำแผนพัฒนากำลังคนระดับพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  ปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563 โดยได้รับเกียรติจาก  อ.รามณรงค์ นิลกำแหง  อ.อธิต ทิวศะศิธร์  อ.อรรถพงษ์ โภชน์เกาะ  อ.ดร.วันเกษม สัตยานุชิต  เป็นผู้ที่ให้ความรู้  ณ โรงแรมเดอะวินเทจ โฮเทล  ต.หมูสี  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา

โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนากำลังคน การพัฒนาผลิตภาพแรงงาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ Thailand 4.0 โดยจังหวัดนครราชสีมาได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการในคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) ขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนของจังหวัดผ่านกลไกของจังหวัด

ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญของจังหวัด โดยนำแผนพัฒนากำลังคนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ซึ่งได้จัดทำร่างขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาจังหวัด ตลอดจนสร้างการรับรู้ข้อมูลแรงงานด้านต่างๆ ให้กับองค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและแรงงานในพื้นที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ในรูปแบบประชารัฐ และการบูรณาการความร่วมมือสามารถพัฒนาทักษะความรู้ให้แก่กำลังคนในพื้นที่ได้ตามยุทธศาสตร์ในแต่ละระดับต่อไป