เยียวยาภัยแล้งทันใจ รมต.เทวัญลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยภัยแล้ง ในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

เยียวยาภัยแล้งทันใจ รมต.เทวัญลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยภัยแล้ง ในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

 

วันนี้ (17 มกราคม 2563) เวลา 10.00 น. ณ เทศบาลตำบลพุดซา อำเภอเมืองนครราชสีมา นายเทวัญ  ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ ประกอบไปด้วย นายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายวัชรพล โตมรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมาเขต 2, นายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน (ภาวะฝนแล้ง)​ ด้านพืช ปี 2562 โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ รองนายกเทศมนตรีตำบลพุดซา ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานสรุปในการพบปะพี่น้องประชาชน

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปีนี้อาจมีภาวะฝนทิ้งช่วงเหมือนกับปีที่แล้ว และอาจประสบปัญหาน้ำแล้งที่รุนแรงกว่า จึงอยากรณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และงดปลูกข้าวนาปรังเพื่อลดการใช้น้ำในช่วงน้ำแล้ง ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน สั่งการให้เร่งเยียวยาผู้ประสบภัยแล้งโดยด่วน และขอความร่วมมือภาคราชการและประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อที่จะฝ่าวิกฤติในปีนี้ไปให้ได้  ในส่วนของรัฐบาลได้ผลักดันงบประมาณในการแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำในปีนี้ กว่า 3,000 ล้านบาท

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้  รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณความช่วยเหลือชดเชยความเสียหาย โดยอนุมัติค่าใช้จ่ายเงินทดรองราชการในส่วนของอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้แก่ 20 ตำบล 133 หมู่บ้าน พื้นที่เสียหาย 45,387.25 ไร่ เกษตรกร 5,281 ราย วงเงินช่วยเหลือ 60,879,150.50 บาท นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มีแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้เกษตรกรพิจารณาขอรับการช่วยเหลือ  ในส่วนของอำเภอเมืองนครราชสีมา เกษตรกรได้ขอรับการช่วยเหลือ จำนวน 2 โครงการได้แก่  โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพพันธ์ข้าว จำนวน 4,627 ครอบครัว และอาชีพด้านประมงจำนวน 190 ราย

ภายหลังพิธีมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์น้ำที่บริเวณบึงพุดซา ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงในพื้นที่ อ.เมืองนครราชสีมา และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่าปริมาณน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะรวบรวมข้อมูลและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

สมัชชาสุขภาพขอนแก่น ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชน ชูภาคประชาชน เป็นผู้นำองค์กรคนใหม่

สมัชชาสุขภาพขอนแก่น ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชน ชูภาคประชาชน เป็นผู้นำองค์กรคนใหม่


คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น (คจ.สจ.) รุกทำแผนยุทธศาสตร์และแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชน 3 ประเด็นหลัก เป็นแนวทางการทำงานในปี 63 “ผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวถนน” รับเลือกเป็นประธานฯคนใหม่ แทนคนเก่าที่ครบวาระ    เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ห้องประชุม โรงแรมไอโฮเทล จ.ขอนแก่น นายวิรัช มั่นในบุญธรรม ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น (คจ.สจ.) ครั้งที่ 1/2563 โดยมี ที่ปรึกษา,คณะทำงานประเด็นหลัก และตัวแทนภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมประชุม เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น ในปีที่ผ่านมา (ปี 2562) ภาพรวมการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น ปี2562 การจัดงานสมัชชาสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น และการจัดงานสมัชชาพลเมืองจังหวัดขอนแก่น ให้คณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบและได้กำหนดแนวทางการทำงานในปี 2563 ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้จังหวัดขอนแก่น มีบรรยากาศเอื้อต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน การใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้เพื่อการออกกำลังกาย และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดการแบบบูรณาการ สร้างและให้ความรู้ รณรงค์สร้างความตระหนักตื่นตัว ส่งเสริมให้มีระบบและโครงสร้างที่ส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างจริงจัง เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่
2) ชุมชนร่วมใจ ใส่ใจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะของคนขอนแก่น มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาศักยภาพภาคพลเมืองในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเกิดการการบูรณาการแผนความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น และ 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเปราะบาง มีเป้าหมายเพื่อ “พัฒนาคุณภาพชีวิต สิทธิเท่าเทียม เปราะบางสู่สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” โดยเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้และเข้าถึงสิทธิ การเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษา และการเข้าถึงสิทธิด้านการมีงานทำ


จากนั้น เป็นการสรรหาประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น แทนชุดเดิมที่มี นายวิรัช มั่นในบุญธรรม เป็นประธาน ดร.สุพัฒน์ จำปาหวาย และนายกฤตภาส ปรุงศรีปัญญา (ผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวถนน) เป็นรองประธาน ได้ครบวาระ ซึ่งประธานและรองประธานชุดใหม่ ได้แก่ นายกฤตภาส ปรุงศรีปัญญา ผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวถนน เป็นประธาน พันโท ดร.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน และ ดร.สายัณต์ แก้วบุญเรือง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น เป็น รองประธาน

 

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ณ อำเภอโชคชัยและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ณ อำเภอโชคชัยและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้ (13 ม.ค. 63) เวลา 9.00 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ณ อำเภอโชคชัยและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรี , นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 13, นายอภิชา เลิศพชรกมล ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา เขต 9, นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา เขต 2 และ นายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมคณะติดตาม นางปียะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวต้อนรับพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการท่านนายอำเภอโชคซัย ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่อำเภอโชคชัย


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.นครราชสีมา อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมให้การช่วยเหลือประชาชนหลายด้าน อาทิ จัดหารถแรงดันน้ำ ขุดบ่อบาดาลเพิ่ม โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณกลาง จำนวน 3,000 ล้านบาท และมอบหมายให้ สทนช. ดำเนินการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนต่อไป ในส่วนของงบประมาณปกติของรัฐบาล 3.2 ล้านล้านที่เพิ่งผ่านสภา คาดว่าสามารถใช้ได้เดือน มี.ค. และอาจจะมีสนับสนุนช่วยเหลือ แก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง


นางปียะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวสรุปสถานการณ์ภัยแล้งปื 2563 นื่องจากในปี 2563 ที่ผ่นมา จังหวัดนคราชสีมา มีฝนตกในพื้นที่ รวม ๖๕๐ มิลลิมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 421มิลลิมตร (ค่าเฉลี่ย 30ปี 1,071มิลลืมตร)จึงส่งผลให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4แห่ง ได้แก่อ่างเก็บน้ำลำตะคลอง ปริมาณน้ำ คงเหลือ 48 % อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ปริมาณน้ำ คงเหลือ 14% อ่างเก็บน้ำมูลบน ปริมาณน้ำ คงเหลือ34 %และอ่างเก็บน้ำลำแชะ ปริมาณน้ำ คงเหลือ 30%ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาณใช้งานได้ 21.0ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้วางแผน การบริหารจัดการน้ำร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ แบ่งการใช้น้ำ 4กิจกรรม ได้แก่ อุปโภค บริโภคอุตสาหกรรม รักษาระบบนิเวศ และการรั่วซึม โดยวางแผนการส่งน้ำช่วงฤดูแล้งเดือนมกราคม- เมษายน 2563 ใช้น้ำ 9 ล้นลูกบาศก็มตร และแผนการส่งน้ำช่วงก่อนฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563ใช้น้ำ4 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ อ.โชคชัย จากพื้นที่ทั้งหมด 10 ตำบล ปัจจุบันเกิดปัญหาภัยแล้งใน 2 ตำบล คือ ต.พลับพลา และ ต.ท่าอ่าง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากสระน้ำที่ใช้ทำน้ำประปาหมู่บ้านเกิดความแห้งแล้ง และพบว่าบางพื้นที่การประปาส่วนภูมิภาคเข้าไม่ถึง ประชาชนใช้น้ำจากบ่อบาดาลซึ่งเป็นบ่อขนาดเล็ก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอต่อการใช้
และ อ.ปักธงชัย ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำไม่พอใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งได้รายงานต่อจังหวัด เพื่อประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 จำนวน 16 ตำบล 180 หมู่บ้าน ในขณะนี้มีหมู่บ้านที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จำนวน 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ ต.ธงชัยเหนือ ต.ตะขบ และ ต.โคกไทย
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ภัยแล้งของทั้ง 2 อำเภอ มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การเจาะบ่อบาดาล การสูบน้ำและแจกจ่ายน้ำ การรณรงค์ชาวบ้านไม่ทำข้าวนาปรัง และการใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว มีการปรับปรุงวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน การจัดหาถังน้ำกลาง และรณรงค์การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้

สถานพินิจโคราช จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 63 เพื่อให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

สถานพินิจโคราช จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 63 เพื่อให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

             นายอภิชาติ   ติยวัฒน์   ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563  พร้อมด้วย  นายธิติรัตน์  พงษ์พุทธรักษ์   นายกสมาคมนักข่าว  จังหวัดนครราชสีมา   และคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา  โดยมีนายคมกฤษณ์  แสงจันทร์  ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาได้กล่าวรายงานต่อท่านประธาน

เด็กถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นวัยที่มีการพัฒนาการเรียนรู้ควบคู่กับการศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  ก่อนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต  การพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตต่างๆ  ควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่  เพื่อนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง  ผู้อื่น  สังคมและประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง  ไม่เป็นปัญหาให้กับสังคมในภายภาคหน้า  ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงให้ความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนจึงได้กำหนดให้วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม  ของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีหน้าที่ บำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดให้สามารถปรับตัวเป็นเด็กและเยาวชนที่ดีมีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ  เพื่อการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลจึงได้ดำเนินการจัดโครงการวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนอบรมให้เด็กและเยาวชนให้ยึดมั่นในสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  รู้หน้าที่ของตนเองและอยู่ในระเบียบวินัยที่ดี  มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นการส่งเสริมความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม  และเพื่อให้เยาวชนได้ผ่อนคลายความเครียดกับทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนตลอดจนเป็นกำลังใจให้เด็กและเยาวชนผู้ต้องหาว่าประพันธ์เพชรได้ปรับตัวเป็นคนดีต่อไป  โดยคำขวัญประจำวันเด็กจากนายกรัฐมนตรี  มีดังนี้ “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”

แม่ทัพภาคที่2  เชิญชวนระดมทุนของมูลนิธิโรงพยาบาลค่ายสุรนารีจัด คอนเสิร์ตการกุศล โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 8 ชั้น

แม่ทัพภาคที่2  เชิญชวนระดมทุนของมูลนิธิโรงพยาบาลค่ายสุรนารีจัด คอนเสิร์ตการกุศล โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 8 ชั้น

วันที่ 9 ม.ค. 63 ณ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ห้องราชาวดี ชั้น 9  อาคาร.เฉลิมพระเกียรติฯ แถลงข่าวการจัดจัดงาน Open house โดย ท่าน  พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่2  นายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา , นาง ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา พลตรี สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุรนารี ร่วมแถลงข่าว

พลตรี สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุรนารี กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน  การจัดงาน Open house ในวันนี้ เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีเกียรติได้รับทราบถึงศักยภาพของโรงพยาบาลค่ายสุรนารีในการดูแลรักษาท่านและครอบครัว และเพื่อขอโอกาสให้ท่านได้สนับสนุนการให้บริการด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลค่ายสุรนารี ได้แก่ การสนับสนุนเงินบริจาคเข้ามูลนิธิโรงพยาบาลค่ายสุรนารี เพื่อใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้มีความทันสมัยและเพียงพอต่อการขยายบริการเฉพาะทางแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาได้อย่างต่อเนื่อง กระผมและโรงพยาบาลค่ายสุรนารีขอเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของท่านผู้มีเกียรติ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาในการบริจาคเพื่อต่อยอดการบริการทางการแพทย์ เพื่อประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืน

ท่านแม่ทัพกล่าวโรงพยาบาลค่ายสุรนารีเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ฝากการบังคับบัญชาไว้กับกองทัพภาคที่2 โดยมีภารกิจสนับสนุนบริการทางการแพทย์แก่กำลังพล , ครอบครัวและประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ตลอดถึงจังหวัดใกล้เคียง  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงพยาบาลค่ายสุรนารีเปิดให้บริการทางการแพทย์ทั้งในส่วนกำลังพล ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลค่ายสุรนารี คิดเป็นสัดส่วนแล้วเป็นประชาชนมากกว่ากำลังพลทหารและครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นโรงพยาบาลกองทัพบกที่มีผู้ป่วยศรัทธาและไว้วางใจมารับบริการด้านการแพทย์เป็นจำนวนมาก  ดังนั้นทางโรงพยาบาลค่ายสุรนารีจึงได้มีแผนในการสร้างอาคารตึกใหม่ เพื่อเปิดให้บริการผู้ป่วยอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องมีควบคู่กับอาคาร ก็คือเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้การดูแลรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยเหตุนี้จึงได้เชิญชวนภาคเอกชน คหบดี และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้พิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินงานโรงพยาบาลค่ายสุรนารี ท่านอาจบริจาคเป็นเงินหรือบริจาคในรูปแบบเครื่องมือแพทย์ให้กับทางโรงพยาบาลค่ายสุรนารี เพื่อให้มีไว้ใช้บริการให้กับประชาชนที่เจ็บป่วยในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  กล่าว กระผมจึงขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนและแขกผู้มีเกียรติ และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้เห็นถึงความจำเป็นในการสนับสนุน ระดมทุนของมูลนิธิโรงพยาบาลค่ายสุรนารีในครั้งนี้ การบริจาคของท่านจะช่วยให้โรงพยาบาลค่ายสุรนารี มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ครบครันและเป็นโรงพยาบาลในพื้นที่ ที่สามารถให้การดูแลสุขภาพของท่านและครอบครัวได้ดี โดยที่ไม่ต้องออกไปรับบริการที่โรงพยาบาลนอกพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนในจังหวัดนครราชสีมาจะให้ความร่วมมือประสานงานและบูรณาการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาของพวกท่านตลอดไป

นายกเหล่ากาชาด กล่าวจังหวัดนครราชสีมาในนาม นายกเหล่ากาชาด จังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลค่ายสุรนารีได้ให้ความร่วมมือในกิจกรรมของกาชาดจังหวัดนครราชสีมาด้วยดีมาตลอด ได้แก่การออกรับบริจาคโลหิตช่วยเหล่ากาชาดนครราชสีมาโรงพยาบาลได้สนับสนุนบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์รับบริจาคโลหิตและงานด้านสาธารณะสุข อื่นๆของเหล่ากาชาดเพื่อให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา มีสุขภาพ ที่ดี มีโลหิต ที่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย ในกรณีฉุกเฉินโรงพยาบาลค่ายสุรนารีจึงเป็นสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาที่มีความพร้อมในการให้บริการประชาชน ดิฉันขอเป็นส่วนหนึ่งในการขอความร่วมมือ จากท่านผู้มีเกียรติในที่นี้ ในการสนับสนุนการบริจาคเข้ามูลนิธิ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี  เพื่อนำไปจัดหาสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการบริการประชาชนของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบากิจกรรมของเหล่ากาชาดอีกทางหนึ่ง     ต่อจากนั้นท่านแม่ทัพภาคที่2ได้เยี่ยมชมตึกอาคารผู้ป่วยชั้น8โดยได้เดินทางไปห้องพิเศษอีกด้วยแล้วจีงเดินทางกลับ

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา จัดฝึกอาชีพ “ผู้สูงอายุโคราชขึงขังฝึกอาชีพถักพรมป้อนตลาดชุมชน”

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา จัดฝึกอาชีพ “ผู้สูงอายุโคราชขึงขังฝึกอาชีพถักพรมป้อนตลาดชุมชน”

วันที่ 8 มกราคม 2563 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา จัดฝึกอาชีพ “การถักพรมเช็ดเท้า” ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าอ่าง ระหว่างวันที่ 8 -10 มกราคม 2563 ณ ที่ทำการกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุบ้านท่าอ่าง หมู่ที่ 4 ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ. นครราชสีมา

โดยได้รับเกียรติ จากนางฝน คงศักดิ์ตระกูล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลด่านเกวียน เป็นประธานเปิดฝึกอบรม และกล่าวว่าเทศบาล ยินดีสนับสนุนงบประมาณเพื่อต่อยอดการประกอบอาชีพของกลุ่มผู้สูงอายุ พร้อมทั้งจัดให้มีสถานที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในศูนย์เรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาของเทศบาลฯ และในงามมหกรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ นี้

 

ว่าที่ร้อยตรีสมศักดิ์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา กล่าวว่า “การดำเนินการฝึกอาขีพดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ที่ได้มอบนโยบายแก่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน ให้ทำงานสนองตอบความต้องการประชาชน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์รัฐบาล “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ขอเชิญร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิต ณ วัดลองตอง ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในวันที่ 28 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2563

ขอเชิญพุทธศานิกชนทุกท่าน ร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดผ้าป่าสามัคคี งานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ณ วัดลองตอง  ต.บ้านโพธิ์  อ.เมือง จังหวัดนครราชสีมา

ระหว่างวันที่  28  ธันวาคม 2562  ถึงวันที่ 6 มกราคม 2563  9 วัน  9 คืน

            

มทส. ร่วมกับ กระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ปี 63 ชูแนวคิด“นวัตกรรมเกษตรไทยยิ่งใหญ่ ด้วยศาสตร์พระราชา” พบความก้าวหน้าทางการเกษตร เพื่อสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

มทส. ร่วมกับ กระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ปี 63 ชูแนวคิด“นวัตกรรมเกษตรไทยยิ่งใหญ่ ด้วยศาสตร์พระราชา”พบความก้าวหน้าทางการเกษตร เพื่อสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2563 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรไทย ยิ่งใหญ่ด้วยศาสตร์พระราชา (Sustainable Thai Agriculture Innovation under The King’s Philosophy)” วันที่ 10-19 มกราคม 2563 ณ เทคโนธานี มทส. ระดมภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การถ่ายทอดศาสตร์แห่งพระราชา การประกวดพืชและสัตว์ การอบรมอาชีพ พร้อมเผยแพร่ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบหวังต่อยอดการสร้างวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

วันนี้ (26 ธันวาคม 2562) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. นางศศิธร กาหลง ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดนครราชสีมา ร่วมแถลงข่าวการจัด “งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจําปี 2563” ณ อาคารเกษตรภิวัฒน์ มทส.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. กล่าวว่า “งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2563 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรไทย ยิ่งใหญ่ด้วยศาสตร์พระราชา (Sustainable Thai Agriculture Innovation under The King’s Philosophy)” ระหว่างวันที่ 10 – 19 มกราคม 2563 ณ เทคโนธานี ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ พันธมิตรด้านการเกษตรภาคเอกชน ได้ร่วมจัดงานแสดงเทคโนโลยีทางการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งมีรากฐานความมั่นคงด้านเกษตรมาช้านาน การจัดงานครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี ให้เป็นที่ประจักษ์ รวมถึงการแสดงศักยภาพของเกษตรกรไทยที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรของ มทส. ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นปีที่ตรงกับวาระแห่งการเฉลิมฉลองการสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 30 ปี ที่จะถึงนี้ จึงถือเป็นกิจกรรมใหญ่ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวมหาวิทยาลัย และจังหวัดนครราชสีมาอีกวาระหนึ่ง
มทส. มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่ชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการด้านการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเสมอมา โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมานั้นถือว่า มีพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ ทั้งการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง ข้าว และอ้อย รวมถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ ตั้งแต่ระดับเกษตรกรรายย่อยจนถึงระดับสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ดังนั้น ในการจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการเผยแพร่ความรู้และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรด้านการเกษตรของภาครัฐและภาคเอกชน ในรูปแบบบูรณาการทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง คุณภาพดิน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนการประกวดพืช สัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร และการจำหน่ายปัจจัยการผลิตและผลิตผลทางการเกษตร จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสจัดงานมหกรรมใหญ่ทั้งระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัย มทส. พร้อมต้อนรับผู้เข้าร่วมชมงานจากทั่วทุกภูมิภาค
นอกจากนี้การจัดงานดังกล่าวยังตรงกับช่วงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติด้วย ซึ่ง มทส. จัดขึ้นภายใต้แนวคิด เส้นทางแห่งการเรียนรู้…สู่อนาคตของชาติ : STEM Career in Life Science” ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 เวลา 08.30 น. ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 ซึ่งผู้มาเที่ยวชมงานก็จะได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ชมชิมช้อปสินค้าทางการเกษตร บุตรหลานได้ร่วมกิจกรรมสนุกสนานแฝงสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียกได้ว่ามาที่เดียวเที่ยวได้ทั้งครอบครัว”
ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. เปิดเผยว่า “งานวันเกษตรแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 10 – 19 มกราคม 2563 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรใช้พื้นที่บริเวณเทคโนธานี กว่า 600 ไร่ เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการภายในและภายนอกอาคาร อาทิ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ นิทรรศการ Highlight ผลงานวิจัยและนวัตกรรรมเด่นของมหาวิทยาลัย ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น ระบบน้ำอัจฉริยะ ไก่โคราช เครื่องกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับเกษตรแม่นยำผ่านระบบไร้สาย ผลิตภัณฑ์ข้าวขึ้นรูปเสริมโภคชนาการ เทคโนโลยีในการแยกเพศอสุจิโคนม เครื่องกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับเกษตรแม่นยำผ่านระบบสื่อสารไร้สาย เป็นต้น รวมถึงการผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีผลิตพืช สัตว์ และเทคโนโลยีอาหารของมหาวิทยาลัย
การประกวดและแข่งขัน อาทิ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอาชีวศึกษา การจัดประกวดแข่งขัน ทั้งด้านพืชและสัตว์ เช่น ประกวดต้นชวนชม กล้วยไม้ ประกวดโค ไก่แจ้สวยงาม เป็นต้น การอบรมทางด้านการเกษตร ที่สร้างอาชีพ เสริมรายได้ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่น่าสนใจหลายหัวข้อ อาทิ การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อประโยชน์เชิงการแพทย์และเชิงธุรกิจ การแสดงบันเทิงบนเวทีกลาง ลานพลาซ่า มีศิลปิน นักร้อง วงดนตรี การแสดงพื้นถิ่นที่มีชื่อเสียงร่วมให้ความบันเทิงตลอดงาน อาทิ เบิ้ล ปทุมราช เอิร์น เดอะสตาร์ หรือ เอิร์น สุรัตน์ติกานต์ และวงดนตรีพื้นบ้านระเบียบวาทะศิลป์ และอื่นๆ อีกมากมาย
พร้อมนี้ มหาวิทยาลัยได้เปิดฟาร์ม ให้เข้าชมโดยรถราง พร้อมสนุกฝึกปฏิบัติตามฐานต่างๆ ที่ให้ความรู้ พร้อมความสนุกสนาน และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพจากฟาร์มมหาวิทยาลัย ชม ชิม ช้อป ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร สินค่าอุปโภคบาริโภคหลากหลาย
นางศศิธร กาหลง ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “ในปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชูนิทรรศการศาสตร์แห่งพระราชาซึ่งถือเป็นไฮไลท์ โดยแบ่งเป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 นําเสนอนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย” และ “พระบิดาแห่งฝนหลวง” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ได้ทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา อันเป็นการสานต่อพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

สำหรับนิทรรศการภาควิชาการ นําเสนอความสําเร็จของกลุ่มเกษตรกร เช่น กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ที่ชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศ รายการแข่งขันเกมเกษตรกร รวมถึงการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคเกษตร เช่น โดรนพ่นสารชีวภัณฑ์ โดรนสํารวจเพื่อทําแผนที่การบริหารจัดการน้ำ การทําอาชีพเสริมต่าง ๆ อาทิ การเพาะเลี้ยงปลานิลครบวงจร การเลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน และกบในนาข้าว การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม นําไปสู่การแสดงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถ นํามาปรับใช้ในจังหวัดนครราชสีมา และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น กิจกรรมสาธิตและฝึกอบรม ให้ความรู้ควบคู่การปฏิบัติจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และซุ้มจําหน่ายสินค้าของเกษตรและผลิตภัณฑ์จากภาคต่างๆ อีกมากมาย”
นายกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวทิ้งท้าย “ถือเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 12.8 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 8.9ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.53 ของพื้นที่จังหวัด ประชากรประกอบอาชีพทางการเกษตร 3 แสนกว่าครัวเรือน ผลิตภัณฑ์มวลรวมทางด้านการเกษตร กว่า 270 ล้านบาทต่อปี การจัดงานเกษตรแห่งชาติ ในปี 2563 ที่จะถึงนี้ ไม่เพียงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเกษตรของพี่น้องเกษตรกรและประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น ยังเป็นโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร่วมงาน ได้มีโอกาสแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลักๆ วิสาหกิจชุมชน เข้ารับการอบรม เพื่อนำไปเสริมทักษะพัฒนาสายอาชีพให้ยั่งยืน ชมความก้าวหน้าทางการเกษตรที่รุดหน้า คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดในช่วงต้นปีได้อย่างดี ทั้งยังเป็นการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นวัตกรรม และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรครบวงจร

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโคราช  เปิดบ้านโชว์แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง

 

https://www.youtube.com/watch?v=UYMUdbCAC28&feature=youtu.be

 

 

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโคราช  เปิดบ้านโชว์แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง

โครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโรงไฟฟ้า เครื่องที่ 3-4 โรงไฟฟ้าใต้ดินที่มีระบบกักเก็บพลังงานแบบ pump storage ที่ไม่เหมือนใครของ กฟผ. เตรียมจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2562 เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานของประชาชนในภาคอีสาน
นอกจากภารกิจในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนแล้ว กฟผ.ยังเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ โดยจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานนอกห้องเรียนและแหล่งท่องเที่ยวให้กับประชาชนใน จ.นครราชสีมา และพื้นที่ใกล้เคียง

1.โรงไฟฟ้าลำตะคองฯ เครื่องที่ 1-2 (ตัวเดิมที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี กฟผ. จึงพิจารณานำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองฯ แบบสูบกลับ สร้างอยู่ใกล้กับเขื่อนลำตะคอง ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ 70 กิโลเมตร ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองของกรมชลประทานไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม
ตัวอาคารโรงไฟฟ้า ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร เพื่อเพิ่มระยะทางจากอ่างเก็บน้ำบนเขาถึงอาคารโรงไฟฟ้าให้น้ำที่ไหลลงมามีกำลังแรงขึ้น ทำให้โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ. 2547

2.โครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 (เตรียมเข้าระบบ) เน้นหัวข้อนี้***

ที่ตั้งโครงการ ณ บริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอสีคิ้วและอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เป็นโรงไฟฟ้าประเภทสูบกลับ โดยมีกำลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ กำลังผลิตรวม 1,000 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บริเวณเส้นแบ่งเขตระหว่าง อ.สีคิ้ว และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

โรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนามีส่วนช่วยเสริมกำลังผลิตในระบบไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง เพราะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อพ้นหลังเที่ยงคืนไปแล้วความต้องการใช้ไฟฟ้าจะลดต่ำลง จึงสามารถนำไฟฟ้าที่เหลือในระบบใช้สูบน้ำไปเก็บกักสำรองไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง และจะทำการปล่อยน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิมเมื่อมีความต้องการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ ทำให้ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสถียรและมั่นคงมากขึ้น
นับเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินที่มีระบบกักเก็บพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า เนื่องจากมีการหมุนเวียนของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และอ่างพักน้ำตอนบนโดยไม่สูญหายไปไหน
เพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณใกล้เคียงอันเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานหมุนเวียนสะอาด

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 เตรียมพร้อมส่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนธันวาคม 2562
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2951&Itemid=244

3.ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง

กฟผ.นอกจากจะมีภารกิจหลักในการผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าซึ่งอยู่ใกล้ตัวประชาชนทุกคน
โดยสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานนอกห้องเรียน และแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จุดเด่นคือ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนที่ได้นำไฟฟ้าจากกังหันลมมาใช้ในศูนย์แห่งนี้

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง (EGAT Learning Center, Lam Takong)

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง ครบเครื่องที่สุดในภาคอีสาน

https://th-th.facebook.com/pages/category/Performance—Event-Venue/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%87-241238739792029/

https://www.youtube.com/watch?v=UYMUdbCAC28&feature=youtu.be

โคราช จัด เดิน -วิ่ง มินิฮาล์ฟมาราธอน เฉลิมพระเกียรติฯ

โคราช จัด เดิน -วิ่ง มินิฮาล์ฟมาราธอน เฉลิมพระเกียรติฯ

วันที่ 14 ธันวาคม 2562 เวลา  05.30 น. ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา พร้อม  ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายก อบจ.นครราชสีมา และผู้แทนภาครัฐ เอกชน ร่วมทำพิธีเปิดโครงการสานพลังท้องถิ่นไทยถวายพ่อของแผ่นดิน “เดิน-วิ่ง มินิ ฮาล์ฟมาราธอน เฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยมีนักวิ่งกว่า 1 หมื่นคน เข้าร่วมเดิน –วิ่ง FUN RUN ระยะทาง 5 กม. และ Mini Marathon ระยะทาง 10.5 กม. ผู้ที่วิ่งเข้าเส้นชัยได้รับเหรียญที่ระลึกด้านหน้าประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้านหลังประดับตราประจำจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำรายได้จากค่าสมัครโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ไปจัดตั้งกองทุนการศึกษาบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 ในมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนสนใจการออกกำลังกายและมีสุขภาพที่ดี  โดยได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนชาวโคราชนับหมื่นคนร่วมกิจกรรม