ผู้ว่าโคราช ประชุมหารือร่วมกับภาครัฐและเอกชน ถึงแนวโน้มการปลดล็อกเมืองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผู้ว่าโคราช ประชุมหารือร่วมกับภาครัฐและเอกชน ถึงแนวโน้มการปลดล็อกเมืองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

วันนี้ 21 พฤษภาคม 2563 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางปิยะฉัตร อินทร์สว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นประธานในการประชุมหารือ เตรียมความพร้อม ของแหล่งท่องเที่ยว และสถานปรกอบการด้านการท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว หลังได้รับผลกระทบการระบาดของโรคโควิด 19 ณ ห้องสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ ได้เชิญผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท ผู้นำองค์กรห้างร้าน มาหารือร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา

โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 ในจังหวัดว่า มีทิศทางที่น่าพอใจ และเห็นดีว่า ในวันที่ 1 มิถุนายน63 นี้ จังหวัดจะมีการจัดกิจกรรมปลดล็อก เพื่อให้จังหวัดนครราชสีมา กลับมาเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวอีกครั้ง

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ยังได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรม และโปรโมชั่นเพื่อเป็นของขวัญให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย และนอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ยังได้เตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่อไป และจะมีการประชุมเรื่องนี้อีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

ที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้ฤกษ์ย้ายต้นกล้ากัญชาพันธุ์ฝอยทองภูผายล สกลนคร รุ่นแรก หลังได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามแผนการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เข้าพื้นที่ภายในโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล เพื่อผลิตวัตถุดิบกัญชา การตรวจสอบคุณภาพ การใช้พื้นที่แปรรูป เพื่อใช้ผลิตยาสมุนไพรไทย 9 ตำรับเชิงพาณิชย์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เผยดำเนินการอย่างรัดกุมภายใต้ข้อกำหนดและการกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ปลูก 3,360 ต้นต่อรอบการผลิต คาดเก็บเกี่ยวรอบแรก เดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้

พายุฤดูร้อนถล่มโคราช หลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย

พายุฤดูร้อนถล่มโคราช หลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย

คืนวันที่ 13 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา เกิดพายุถล่มเมืองโคราช โดยเหตุเกิดในช่วงเย็น ในหลายพื้นที่ จากการรายงานของหน่วยงานที่ได้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน เจ้าหน้าที่จากเทศบาลนครนครราชสีมา เจ้าหน้าที่จากป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และประชาชนอาสา ต่างก็ได้ให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ ที่ได้รับความเสียหาย อาทิ ภายในซอยสวนจิต ก่อนถึงบ้านหนองโพธิ์ ได้รับความเสียหายจากต้นไม้ใหญ่ล้มขวางถนน แยกวรต้อ ต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มขวางถนน ต้องใช้เวลานานกว่าจะดำเนินดารตัดต้นไม้ออกไปได้ เช่นเดียวกันกับ วัดม่วง ที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มทับรถยนต์และสายไฟภายในวัด ซอยราชนิกูล 22 บ้านเรือนพี่น้องได้รับความเสียหาย ต้นไม้ล้มทับหลังคาบ้าน และพื้นที่ สวนหม่อน หนองบัวศาลา มีต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มขวางถนน และทับรถยนต์ประชาชนได้รับความเสียหาย บริเวณข้าง สภ.เมือง นครราชสีมา ชุมชนศาลาทอง ต้นไม้ใหญ่ล้ม ส่วนบริเวณสนามหน้าศาลากลาง ป้ายขนาดใหญ่ล้ม นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท้วงที

ขอบคุณภาพจาก มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน จังหวัดนครราชสีมา

ขอบคุณภาพจาก มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน จังหวัดนครราชสีมา

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

มทส. เริ่มแผนวิจัยผลิตกัญชาเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
ย้ายต้นกล้าพันธุ์ฝอยทองภูผายลรุ่นแรกเข้าโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล

ที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้ฤกษ์ย้ายต้นกล้ากัญชาพันธุ์ฝอยทองภูผายล สกลนคร รุ่นแรก หลังได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามแผนการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เข้าพื้นที่ภายในโรงเรือนระบบปิดตามมาตรฐานสากล เพื่อผลิตวัตถุดิบกัญชา การตรวจสอบคุณภาพ การใช้พื้นที่แปรรูป เพื่อใช้ผลิตยาสมุนไพรไทย 9 ตำรับเชิงพาณิชย์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เผยดำเนินการอย่างรัดกุมภายใต้ข้อกำหนดและการกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ปลูก 3,360 ต้นต่อรอบการผลิต คาดเก็บเกี่ยวรอบแรก เดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้


รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสเป็นประธาน“พิธีปลูกต้นกล้ากัญชา เพื่อการวิจัยการผลิตกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” พร้อมนี้ นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบใบอนุญาตในการปลูกและครอบครองกัญชา ให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ณ สวนเกษตรเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมบรมราชกุมารี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส.


รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. เปิดเผยว่า “จากการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทย ขับเคลื่อนและเตรียมความพร้อมการผลิตกัญชาแพทย์แผนไทย ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อปลูกวัตถุดิบกัญชา การตรวจสอบคุณภาพ การใช้พื้นที่แปรรูป การวิจัยยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีสำหรับทำยาสมุนไพรคุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐานสากล โครงการวิจัย “การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด เป็นนักวิจัยหลัก ได้มีการวางแผนการผลิต แผนการจําหน่าย และแผนการใช้ประโยชน์ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ กระทั่ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกใบอนุญาตการปลูกและครอบครองเมล็ดพันธุ์กัญชา ให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นที่เรียบร้อย นับจากนี้ มทส. จะเดินหน้าตามแผนงานอย่างเต็มกำลัง หลังจากเตรียมการปรับพื้นที่พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา บรมราชกุมารี ขนาด 15 ไร่ จัดสร้างโรงเพาะชำต้นกล้า จำนวน 1 โรง โรงเรือนเพื่อการปลูก ขนาด 5 x 100 เมตร จำนวน 2 โรง เป็นโรงเรือนระบบปิดวางระบบน้ำหยด พร้อมระบบระบายอากาศ เพื่อการเพาะกล้า การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิตกัญชา และการจัดทำรายงานผล ซึ่งจะดำเนินการอย่างรัดกุมภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุปลูกได้จำนวน 3,360 ต้นต่อหนึ่งรอบการผลิต “เมล็ดพันธุ์กัญชาฝอยทองภูผายล” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ซึ่งได้ทำการคัดแยกต้นกล้ากัญชารุ่นแรก และทำการย้ายปลูกในวันนี้ โดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธาณสุข หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน วิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมงาน และเมื่อต้นกล้ามีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จะทำการคัดเลือกต้นที่สมบูรณ์ไปปลูกภายในโรงเรือน ทั้ง 2 โรง แบ่งเป็นปลูกในกระถาง 1,500 กระถาง และปลูกแบบลงดิน 1,860 ต้น
รวมจำนวน 3,360 ต้นต่อรอบการผลิต สำหรับผลผลิตกัญชาสด จำนวน 2,000 กิโลกรัม จะทำการเก็บเกี่ยวรอบแรกประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม รอบที่สอง เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2563 ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องใช้ความทักษะและประสบการณ์อย่างสูง ทั้งนี้ วัตถุดิบทางการผลิตที่เหลือจะถูกเผาทำลายโดยโรงเผาขยะชีวมวล มทส. ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบฯ อย่างใกล้ชิด และก่อนเก็บเกี่ยวจะต้องประสานให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา ในวิเคราะห์สารตกค้าง 5 ส่วน คือ ราก ลําต้น ใบ ดอก และเมล็ด เพื่อให้ได้วัตถุดิบคุณภาพถูกต้องตามมาตราฐาน ก่อนส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลเครือข่ายกรมการแพทย์แผนไทย เป็นผู้ผลิตยาสมุนไพรแผนไทย จํานวน 9 ตํารับ คือ ตำรับศุขไสยาศน์ ตำรับทำลายพระสุเมรุ ตำรับยาทาริดสีดวงทวารและโรคผิวหนัง ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น ตำรับยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ตำรับยาแก้ลมเนาวนารีวาโยตำรับยาไพสาลี ตำรับยาอไภยสาลี และตำรับยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไขผอมเหลือง เป็นไปตามแผนการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ พัฒนาต่อยอดยาสมุนไพรไทยสู่เชิงพาณิชย์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน”


นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “ตามนโยบายรัฐบาล ในการสนับสนุนการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการอนุญาตให้ใช้ “กัญชาเสรีเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ภายหลังจากมีการประกาศให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 มาตรา 26/2 ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่มุ่งเน้นประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชาทุกรายมีสิทธิในการเข้าถึงกัญชาเพื่อการรักษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง และการเข้าถึงกัญชาจะต้องไม่เป็นการจำกัดรูปแบบเฉพาะผลิตภัณฑ์กัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical Grade) เท่านั้น แต่ผู้ป่วยจะต้องมีเสรีภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทุกรูปแบบ ทั้งรูปแบบยาแผนปัจจุบัน (Modern Drugs) ตำรับยาตามตำรายาแผนไทย ตำรับ Special Access Scheme (SAS) สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย และตำรับยาจากองค์ความรู้และภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน (Traditional Products) ดังนั้น การจัดพิธีปลูกต้นกล้ากัญชา เพื่อการวิจัยการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการขับเคลื่อนและกระตุ้นสังคมให้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนากัญชาในประเด็นที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เพื่อนําไปสู่การดําเนินงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวต่อไป”

กองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ปล่อยคาราวานช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

กองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ปล่อยคาราวานช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

ที่ผ่านมา    กองทัพภาคที่ 2 โดย กองพันกองพันทหารช่างที่ 201 กรมทหารช่างที่ 2 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่3 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 จำนวน 28 นาย ได้จัดชุดปฏิบัติการ “Army Delivery” ขับรถจักรยานยนต์ ออกมอบข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม ให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจ ช่วยเหลือบรรเทา คลายความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง #เราไม่ทิ้งกัน
#ช.2พัน.201
#ป.3พัน.3
#กองพลพัฒนา2
#กองทัพภาคที่2

เซ็นทรัลพัฒนา ตอกย้ำการเป็น ผู้นำ สะอาด มั่นใจ นำร่อง Touchless Innovation Experience ต้นแบบบริการใหม่ ‘ลิฟต์ไร้สัมผัส’

เซ็นทรัลพัฒนา ตอกย้ำการเป็น ผู้นำ สะอาด มั่นใจนำร่อง Touchless Innovation Experience ต้นแบบบริการใหม่ ‘ลิฟต์ไร้สัมผัส’ ณ เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์
พร้อมประกาศช่วยเหลือเศรษฐกิจชุมชนด้วยการให้พื้นที่ฟรีกับเกษตรกรและ SMEs ทั่วประเทศ

กรุงเทพฯ (12 พฤษภาคม 2563) – บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ประกาศเดินหน้าแนวปฏิบัติตามแผนแม่บท “เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ” 5 แกนหลัก มากกว่า 75 มาตรการที่ได้ประกาศไปเป็นรายแรกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พร้อมนำร่อง Touchless Innovation Experience ต้นแบบบริการใหม่ ‘ลิฟต์ไร้สัมผัส’ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เพื่อตอบโจทย์การสร้าง Touchless Experience ตาม ‘New Normal’ ของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมประกาศช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศด้วยการให้พื้นที่ศูนย์การค้าฟรี 40,000 ตร.ม. และโปรโมททางช่องทางออนไลน์ เพื่อระบายสินค้าในศูนย์การค้า 33 สาขาทั่วประเทศ

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “จากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย บริษัทฯ ขอขอบพระคุณบุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยทุกคนที่ร่วมใจกันอย่างแข็งขัน ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลงนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีวินัยในการใช้ชีวิตของคนไทยที่ตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรอบ สำหรับเซ็นทรัลพัฒนา เราคำนึงถึง 2 ส่วนหลักที่ต้อง balance ให้เกิดขึ้น คือ เรื่องสุขภาพ จะทำอย่างไรให้สถานที่มีความปลอดภัย เราจึงสร้างบรรทัดฐานที่ดี เพื่อความปลอดภัยของประชาชนทุกคนที่มาใช้บริการ โดยเราได้สื่อสารมาตรการต่างๆ ไปยังผู้เช่าร้านค้าเพื่อให้มีเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการจากภาครัฐ ร้านค้าต่างๆ และพนักงานทุกคนภายในศูนย์ฯ จะได้พร้อมให้บริการตามมาตรฐานใหม่ และลูกค้าเองก็จะได้มั่นใจในการมาใช้บริการภายในศูนย์ฯ และอีกประการหนึ่งที่เราต้องทำคือ ดูแลสนับสนุนคู่ค้าร้านค้า และเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรทั่วประเทศ สามารถเดินหน้าธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้”

นางสาววัลยากล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการพัฒนามาตรการต่างๆ สำหรับลูกค้าและร้านค้าอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยล่าสุด ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ได้นำร่องนวัตกรรมต้นแบบลิฟต์ไร้การสัมผัส (Touchless Lift) ซึ่งกำลังทดสอบและพัฒนาต่อไป โดยมีวิธีการใช้ง่ายๆ เพียงลูกค้าใช้นิ้วผ่านเหนือปุ่มเซ็นเซอร์เพื่อไปยังชั้นที่ต้องการ ระบบก็จะทำงานทันทีโดยอัตโนมัติ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องสัมผัสปุ่มกดใดๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการใช้ชีวิต ‘New Normal’ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 แกนหลักของมาตรการเซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ ได้แก่ (1) การคัดกรองอย่างเข้มงวด (Extra Screening), (2) มาตรฐาน Social Distancing ทุกจุด, (3) การติดตามเพื่อความปลอดภัย (Safety Tracking), (4) การใส่ใจในความสะอาดทุกจุดสัมผัส (Deep Cleaning) และ (5) แนวทางลดการสัมผัส (Touchless Experience) นอกจากนี้ ถึงแม้ในช่วงระหว่างที่มีการปิดศูนย์การค้าบางส่วน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลได้มีการบำรุงรักษาระบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ มีการเปิดระบบปรับอากาศบางส่วนทุกวัน ซึ่งทำให้มีการหมุนเวียนของอากาศในพื้นที่ และมีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พร้อมกลับมาให้บริการ

นางสาววัลยา กล่าวเสริมว่า “เพื่อเป็นการช่วยผลักดัน ‘เศรษฐกิจชุมชน’ และสร้างรายได้ให้เกษตรกร และธุรกิจ SMEs รวมถึงพนักงานต่างๆ เซ็นทรัลพัฒนาจะเปิดพื้นที่ให้กับเกษตกร หรือ ธุรกิจ SMEs นำสินค้ามาค้าขายได้ฟรี โดยมีพื้นที่ 30,000-40,000 ตร.ม. ในศูนย์การค้าทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ ในระยะเวลา 3-6 เดือน และช่วยเหลือในการโปรโมทจำหน่ายสินค้าทาง online platform ต่างๆ และพร้อมทั้งมีมาตรการสำหรับคู่ค้าร้านค้าที่เรามีกว่า 15,000 ราย และมีการจ้างงานกว่า 100,000 คนโดยเราก็พยายามช่วยธุรกิจต่างๆ อย่างเต็มที่ ด้วยการขยายโอกาสในการขายช่องทางต่างๆ และช่วยยกเว้นหรือลดค่าเช่ามาตลอดตั้งแต่เกิดวิกฤตมาในเดือนกุมภาพันธ์ และจะให้ส่วนลดต่อเนื่องหลังจากศูนย์ฯ เปิดให้บริการใหม่ไปอีกประมาณ 3-6 เดือน โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสมเพื่อช่วยเหลือให้ฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปได้อีกด้วย”

ที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนาได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐเต็มที่และต่อเนื่องในการปฎิบัติตามมาตรการต่างๆ รณรงค์การทำ Social Distancing ที่ชัดเจนและเคร่งครัดจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชน ‘อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ’ แต่หากต้องมาใช้บริการที่จำเป็น เราได้ดำเนินมาตรการความสะอาดและความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจมาโดยตลอด โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นการดำเนินการของภาครัฐด้านสาธารณสุขของไทยที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก และในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ การเปิดให้บริการศูนย์การค้าของซีพีเอ็นจะขึ้นอยู่กับคำสั่งของภาครัฐเท่านั้น”

โดยในระหว่างนี้และอนาคต ศูนย์การค้าจะยังคงจัดบริการอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนดำเนินชีวิตได้สะดวกขึ้น ด้วย 4 บริการยกระดับ ตอบโจทย์ New Normal Lifestyle ของลูกค้าในสภาวการณ์เช่นนี้ ได้แก่ บริการ One Call, One Click โทร 02-021-9999 หรือ LINE Official Account : @CentralLife, บริการ Drive Thru, บริการ Central Eats ร่วมกับ Grab Food และบริการ Food Delivery & Food Pick Up Counter และล่าสุด บริการ CentralLife: Chat & Shop เหมือนช้อปด้วยตัวเองจากเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัล วิลเลจ โดยทุกบริการปฏิบัติภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย ‘เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ’ ที่ป้องกันอย่างรัดกุมเพื่อความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องทุกคน

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นำคณะมอบถึงยังชีพ ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุง

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว นำคณะมอบถึงยังชีพ ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุง

 

มูลนิธิพรหมธรรมสถานสงเคราะห์ อ.สีคิ้ว, นำโดยนายสิทธิศักดิ์ จันทรรวงทอง ประธานมูลนิธิฯ และคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยวชุดที่ 6 มูลนิธิกู้ภัยพรหมธรรมสถานสงเคราะห์อ.สีคิ้วเป็นตัวแทน นำถุงยังชีพไปมอบให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

ในตำบลกุดน้อย รวม 8 หมู่บ้าน จำนวน 80 ถุงใน โครงการ ชาวสีคิ้วร่วมใจต้านภัยโควิด-19 อำเภอสีคิ้ว โดยมุ่งหวังให้พี่น้องในเขตอ.สีคิ้วได้มีกำลังใจต่อสู้ในภาวะวิกฤตนี้ไปด้วยกัน และขอเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวอ.สีคิ้ว ต่อไป

 สภาวัฒนธรรม ปันน้ำใจ ไม่ทิ้งกัน สู้โควิด 19

วันที่ 8 พค. 2563  เวลา 7.00 น.  นางเอมอร ศรีกงพาน  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา นางสมใจ อินทรทรัพย์  รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  พ.อ.นเรศ พิลาวรรณ คณะกรรมการสภาวธ  ได้ร่วมกับ อสม.ชุมชนมหาชัยอุดมพร  เพื่อทำการแจกข้าวสาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค  หน้ากากอนามัย ข้าวกล่อง ให้แก่พี่น้องที่เดือดร้อนจากการหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19

เพื่อเป็นการ แบ่งปันน้ำใจ ต้านภัยโควิด  คนไทยเราไม่ทอดทิ้งกัน   ซึ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีพี่น้องมาร่วมรับถุงยังชีพ  จำนวน 150 คน  ณ ชุมชนมหาชัยอุดมพร


ทั้งนี้  สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  ยังได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายเทศกิจ เทศบาลนครนครราชสีมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ที่มาจัดระเบียบ และอำนวยความสะดวกในการเข้ารับสิ่งของ  วัดไข้ และอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของจังหวัดนครราชสีมา

สุดเจ๋ง!!!พัฒนาฝีมือแรงงาน 5 โคราช พลิกวิกฤตโควิต 19 เปิดหลักสูตรออนไลน์

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ลุยฝึกครูออนไลน์ต้นแบบ พัฒนาแรงงานยุค Covid – 19

ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา  ได้จัดให้มีโครงการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน (Hybrid Training) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่  27 – 30 เมษายน 2563

โดย ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์  พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา และคณะวิทยากร  เตรียมแผนการฝึกอบรมในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Training) ซึ่งสามารถดำเนินการบน Digital Platform โดยใช้แอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องสร้างกระบวนการฝึกอบรมแบบเสมือนจริง ไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับการฝึกอบรมที่สถาบัน เพียงมีคอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็สามารถดำเนินการฝึกอบรมได้ เพื่อเป็นการเตรียมการดำเนินการดังกล่าวให้การกระบวนการฝึกอบรมเป็นไปตามหลักประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับประโยชน์สูงสุด จึงจัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน (Hybrid Training)  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมในรูปแบบห้องอบรมออนไลน์

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน เล็งเห็นอุปสรรคและโอกาสในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งกำลังเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เป็นดิจิทัล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อ้างถึงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ODECD ปี ๒๐๑๘ และ ILO ปี ๒๐๑๖ ยืนยันว่าแรงงานมนุษย์จะได้รับผลกระทบจากการใช้ AI แน่นอน ทั้งนี้มีทั้งเสริมกันและหักล้างกัน ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ประกอบกับสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในฐานะหน่วยงานที่ยังคงมีภารกิจให้บริการประชาชน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การรับรองความรู้ความสามารถ การขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่ายให้แก่สถานประกอบกิจการที่ฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานให้กับพนักงานของตนเอง รวมถึงการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เป็นต้น จึงได้เตรียมช่องทาง การให้บริการประชาชนและสถานประกอบกิจการผ่านระบบออนไลน์ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดป้องกันการแพร่เชื้อตามมาตรการของรัฐบาลโดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 28 คน

 

 

นายกเทศบาล ต.โคกสูง โคราช พร้อมคณะ มอบยารักษาโรคปอด (โบราณ) เพื่อให้สาธารณสุขนำไปศึกษาใช้กับ โรคโควิด19

นายกเทศบาล ต.โคกสูง โคราช พร้อมคณะ มอบยารักษาโรคปอด (โบราณ) เพื่อให้สาธารณสุขนำไปศึกษาใช้กับ โรคโควิด19

ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติเทศบาลตำบลโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา นำโดยนายกแหลมทอง วัฒนา นายกเทศบาลตำบลโคกสูง จังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วย นายประเดิม ส่างเสน เลขานุการหมอชนเผ่า 7 จังหวัดภาคเหนือร่วมด้วยนายไฟรัตน์ สำเภาทอง ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการมูลนิธิ ร.9นายสกล ไชยฉิมพลี MR.LOR HARLEY เซียนมวย แจกยา รักษาปอด โรคป่วงลงปอดให้ ชาวบ้านตำบลโคกสูง ประมาณกว่า50คนที่มาร่วมประชุมและได้แนะนำตัวชาวคณะของหมอให้ชาวบ้านรู้จักจากนั้นก้อได้อธิบายตัวยาสมุนไพรแต่ละตัวมีสรรพคุณอะไรบ้าง

กลุ่มหมอยาพื้นบ้าน 8 จังหวัดภาคเหนือ เตรียมนำเสนอยาสมุนไพรไทย “จันทรลีลา” ให้ทางสาธารณสุขเอาไปทดลองกับผู้ป่วยเป็นโควิด-19 เพราะเชื้อว่า สามารถต้านและทำลายเซลล์ไวรัสโควิด-19 ได้ เผยยาสมุนไพรนี้ตกทอดมากว่า 11 ชั่วอายุคน ในสมัยโบราณใช้รักษาโรคห่า โรคปวงปอด อย่างได้ผล และเชื่อว่าโรคซ่า โรคเมอร์ส และโรคโควิด-19 ก็น่าจะเอาสมุนไพรตัวนี้รักษาได้ เพราะมีเซียนมวยเคยทดลองใช้มาแล้วได้ผลดีควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถเอยได้ เพราะเกรงว่าแพทย์สมัยใหม่จะไม่ยอมรับ

ประเดิม ส่างเสน หมอพื้นบ้านไทยใหญ่ ศูนย์การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชนเผ่าสมุนไพรนวลจันทร์เชียงใหม่ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตัวยาตัวนี้ผลิตจากสมุนไพรทั้งหมด ประกอบด้วย โกศสอ โกศเขมา โกศจุฬาลัมพา แก่นจันทร์ขาว แก่นจันทร์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก และพิมเสน จะช่วยในเรื่องการแก้ไข ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก้ร่างกาย ยาตัวนี้มีมานานแล้ว แต่ยังไม่มีใครออกมาพูดบอกกล่าวให้ประชาชนเข้าใจ กินไปแล้วจะช่วยให้หายใจโล่งขึ้น ไข้ลดลง ขับพิษออกจากทวาร เราไม่ได้ออกมาบอกว่า เป็นยารักษาโควิด-19 แต่อยากให้รัฐบาลเอายาตัวนี้ออกมาวิจัยจริงๆ เพราะเราเชื่อว่า “จันทรลีลา” สามารถช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยเราได้

“จึงอยากฝากถึงกระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาล ผมเป็นหมอแพทย์แผนไทยตัวเล็กๆ แต่อยากจะช่วยพี่น้องชาวไทย จึงอยากฝากให้ท่านช่วยเอา “จันทรลีลา” ออกไปวิจัยแบบจริงจัง จะได้ไข้ของสงสัยกันไปเลย”

“จันทรลีลา” เป็นยาสมุนไพรทั้งหมด บดเป็นผงละเอียดบรรจุแคปซูล จะมีสรรพคุณ ช่วยลดไข้ ลดความร้อน ช่วยลดอาการข้างเคียง เช่น ช่วยลดน้ำมูก ลดเสมหะ บรรเทาอาการไอจาม หืดหอบ แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ช่วยให้เจริญอาหารและจิตใจชุ่มชื่นแจ่มใส

ต่อมาได้นำชาวคณะ หมอประเดิม ส่างเสนแลขานุการหมอชนเผ่า 7 จังหวัดภาคเหนือพร้อมด้วยนายสกล ไชยฉิมพลี MR.LOR HARLEY เซียนมวยได้เดินทางไปพบนายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ห้องประชุมนางสางบุญเหลือ เพื่อนำยา รักษาปอด โรคป่วงลงปอด ไปมอบให้ แก่หัวหน้าส่วนราชการในสำนักงานนอกจากนั้นนายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมายังได้มอบพระพุทธรูปหลวงพ่อทวดเป็นที่ระลึกชาวคณะ หมอประเดิม ส่างเสน เลขานุการหมอชนเผ่า 7 จังหวัดภาคเหนืออีกด้วย